หน้าแรกที่เที่ยวพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา เล่าขานอดีตถึงปัจจุบันเมืองเชียงใหม่

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา เล่าขานอดีตถึงปัจจุบันเมืองเชียงใหม่

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (1)

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ตึกสีขาวตั้งตะหง่านตรงข้ามกับอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  ใจกลางเมืองเชียงใหม่  ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นคุ้มกลางเวียงเก่า และเปลี่ยนสภาพมาเป็นศาลจังหวัดเชียงใหม่ จนปัจจุบันนี้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ด้านในมีทั้งหมด 18 ห้อง จัดแสดงเรื่องราวของการดำเนินชีวิต พุทธประวัติ พุทธศิลป์ เครื่องใช้ สำหรับพิธีกรรมต่างๆ สถาปัตยกรรม และ งานศิลปกรรม ต่างๆ มากมายของชาวล้านนา จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

เมืองเชียงใหม่ล้านนามีศิลปวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปฏิบัติสืบเนื่องมายาวนาน  มีรูปแบบที่หลากหลายโดดเด่นและงดงามสะท้อนความหมาย ที่แฝงเร้นมากับคติความเชื่อของบรรพชน ผูกพันกับศรัทธาในพุทธศาสนา และกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต  ศิลป  วัฒนธรรมประเพณี  และงานหัตถศิลป์ของล้านนา  สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งรืองของดินแดนแหงนี้มาแต่อดีตจนปัจจุบัน  พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (Lanna Folklife Museum) จึงได้จัดแสดงนิทรรศการ เกียวกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในล้านนา และลักษณะที่ปรากฎในงานพุทธศิลป์  ทั้งเครื่องใช้ทางพิธีกรรม  สถาปัตยกรรม  ประเพณี  งานจิตรกรรมและงานหัตถศิลป์ของล้านนาที่มีอยู่อย่างหลากหลาย  เพื่อสืบสาน  และเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้คนทั่วไป 

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (5)พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (6) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (13) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (35) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (51)พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (70)

แต่ละห้องมีการจัดส่วนไว้ดังนี้ครับ

  1. ข่วงแก้วล้านนา : Temple court yard for special ceremories
  2. ภายในวิหาร : Inside A Buddha Image Hall
  3. เครื่องสักการะล้านนา : Lanna Worship Offering
  4. ประติมากรรมล้านนา : Lanna Sculpture
  5. แห่ครัวทาน : Hae Khrua Than
  6. จิตรกรรมล้านนา : 1 Lanna Mural Painting
  7. จิตรกรรมล้ำนนา : 2 Lanna Painting
  8. เครื่องปั้น เครื่องเขิน : Ceramics and Lacquerware
  9. จักสาน ทำมาหากิน : Woven Basketry Making a Living
  10. ดนตรีกับวิถีชีวิต : Music and Lifestyle
  11. ผ้าล้านนา : Lanna Textile
  12. ประวัติอาคาร : History of Lama Floklife Museum Building
  13. มหรรฆภัณฑ์ล้านนา : Lanna Mahakhaphan

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

จากยุคอดีตสู่ยุคปัจจุบันเมืองเชียงใหม่ถือเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือตอนบน เป็นเมืองล้านนาที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานกว่า 700 ปีและมีศิลปวัฒนธรรมมากมายที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อสืบทอดไปสู่คนรุ่นหลัง พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ข่วงแก้วที่นำเสนอความคิดเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมล้านนา อันโดดเด่นด้านความงดงามและมีรูปแบบที่หลากหลาย สะท้อนซึ่งภูมิปัญญาและความหมายที่แฝงเร้นมากับคติความเชื่อของบรรพชนล้านนา

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธานในพิธีเปิด เพื่อสนับสนุนพื้นที่กลางเวียงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ รวบรวมทั้งสาระความรู้และศิลปวัฒนธรรมของชาวล้านนาในอดีตมานำเสนอสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาพักอาศัยอยู่ใน จ.เชียงใหม่ นานขึ้นกว่าปกติ รวมทั้งให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทางด้านศิลปะและภูมิปัญญาล้านนาที่เป็นรากฐานของเมืองเชียงใหม่ให้เข้าใจในคุณค่าของเมืองเชียงใหม่เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (2)

“ทัศนัย บูรณุปกรณ์” นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เล่าว่า เมื่อหลายปีก่อนเทศบาลนครเชียงใหม่ได้วางแนวทางการพัฒนาพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ให้กลายสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งรวบรวมเรื่องราวอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวล้านนามาไว้ในพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนานี้ ก็เพื่อจะบูรณาการให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและส่งเสริมความรู้ เชิดชูศิลปวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของชาวเชียงใหม่ให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก อีกทั้งยังอนุรักษ์เรื่องราวของประวัติศาสตร์ด้านศิลปะของอาณาจักรล้านนา ภูมิปัญญาทางศิลปะของผู้คนในอาณาจักรล้านนาจากยุคอดีตจนถึงยุคปัจจุบัน

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (12)

ทั้งนี้ ต้องการให้เป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่งานวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ ภูมิปัญญางานศิลป์ของล้านนา ช่วยกระตุ้นให้คนในท้องถิ่นมีความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอน เกิดจิตสำนึกในการดูแลรักษาบ้านเมืองในระยะยาวเพราะอีกไม่นานเราจะละเมืองนี้ให้แก่ลูกหลานสืบไป เชื่อมโยงผสมผสานความงามต่างๆ ของล้านนาให้เข้ากับหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่และหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ อีกทั้งยังพยายามพัฒนาควบคู่ไปการกับโน้มนำนักธุรกิจของภาคเอกชนในพื้นที่เขตเมืองช่วยกันอนุรักษ์ให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำกิจการให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์เมืองล้านนาไว้ รวมทั้งพัฒนาบริเวณใจกลางเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่ให้เกิดคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์เมืองล้านนาในระยะยาว

“ทัศนัย” อธิบายเพิ่มเติมว่า ที่ตั้งของอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของคุ้มกลางเวียงเชื่อกันว่าเป็นส่วนที่ตั้งของ “วังหน้า” เพราะเป็นมรดกของเจ้าอุปราชสุริยะ เดิมเจ้าอุปราชสุริยะเตรียมถวายให้ใช้เป็นที่ทำการเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ ร.ศ.118 (พ.ศ.2442) แต่เนื่องจากเจ้าจอมมารดา ดารารัศมีได้มีพระประสงค์ทูลเกล้าฯ ถวายคุ้มกลางเวียงบางส่วนที่เป็นมรดกของพระองค์ให้รัฐบาล เพื่อจัดสร้างศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ (ปัจจุบันเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่) ดังนั้นคุ้มส่วนนี้จึงตกทอดเป็นมรดกแก่เจ้าน้อยเลาแก้ว (เจ้าราชบุตร)

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (14) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (16) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (21) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (22) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (23) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (24)

ต่อมาทางราชการขอซื้อเพื่อก่อสร้างที่ทำการศาลแขวง จังหวัดเชียงใหม่ แทนหลังเดิมซึ่งตั้งอยู่ที่เชิงสะพานนวรัฐ โดยพื้นที่ในส่วนนี้มีเนื้อที่ทั้งหมด 6 ไร่ 2 ตารางวา ซึ่งรวมทั้งหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่และพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ทั้งนี้ เป็นกิจกรรมที่หนุนเสริมกันและมีพื้นที่ต่อเนื่องกัน โดยโน้มนำการอนุรักษ์พัฒนาพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ให้มีทิศทางที่เหมาะสมและเป็นการสร้างสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีคุณภาพเพื่อเป็นการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ไปสู่การเป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป ด้วยงบประมาณจากส่วนกลางราว 70 ล้านบาท

“จุฑาพร อินทวงส์” หัวหน้างานประชาสัมพันธ์และกิจกรรม ผู้มีหน้าดูแลพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา แนะนำว่า ภายในพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาจะนำเสนอข่วงแก้วล้านนาที่เป็นต้นความคิดของพุทธสถาปัตยกรรมล้านนา แนวคิดดั้งเดิมในเรื่องการปกป้องคุ้มครองโดยผี เทวดาอารักษ์ต่างๆ ผสมผสานกับพิธีกรรมที่เกิดขึ้น โดยแสดงให้เห็นถึงศิลปะของชาวล้านนาที่เกิดภายใต้ความศรัทธาทางพุทธศาสนา สถาปัตยกรรมของวิหารล้านนา การสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์อันมีที่มาจากความศรัทธาของชาวล้านนาต่อพุทธศาสนา รวมถึงรูปแบบการตกแต่งเครื่องสักการะอันงดงามแอบแฝงคามหมายทางพุทธิปัญญาของชาวล้านนาอยู่ด้วย

ภายในแต่ละห้องจะมีการจัดแสดงแตกต่างกันออกไป เช่น เครื่องสักการะล้านนาที่ประดิษฐ์ด้วยฝีมือมีลวดลายต่างๆ ที่นำมาจากคติความเชื่ออันสัมพันธ์กับเรื่องราวทางศาสนาและความเป็นสิริมงคล จิตรกรรมล้านนาฝาผนังของสกุลช่างเชียงใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อิทธิพลทางศิลปะจากอาณาจักรข้างเคียง รวมไปถึงงานจิตรกรรมบนวัสดุต่างๆ โดยเฉพาะ การเขียนจิตรกรรมบนกระจกและการเขียนใบลาน การบันทึกองค์ความรู้แขนงต่างๆ ในอดีต เช่น จักวาลวิทยาการเมืองการปกครอง โหราศาสตร์ วรรณกรรม ตำรายา การสักยันต์ เมื่อได้สัมผัสถึงบรรยากาศในอาคารจะคล้ายว่าหลุดเข้าไปในยุคอดีตล้านนา มีการจำลองบรรยากาศจริงของประเพณีแห่ครัวทาน การขับซอ ประเพณี แอ่วสาวและเรื่องราวของดนตรีที่มีส่วนสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของล้านนา จนกระทั่งสัมผัสถึงอาหารการกินของชาวล้านนา ผ้าตีนจกแบบล้านนา เครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์และสิ่งมีค่าอีกมากมายนานาชนิดที่ได้รวบรวมไว้ในที่แห่งนี้ด้วย

 พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (28) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (31)
พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (33) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (35) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (39) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (45) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (46) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (48) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (51) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (56) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (58) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (62) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (63)
พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (66) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (67) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (29)
พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (71)
 พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (73) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (74) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (72)พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (78) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (80)
ผ้าซิ่นตีนจก

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (82) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (85) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (87)พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (86) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (96) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (103)ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา เป็นที่ตั้งหอศิลปฯ และอนุสาวรีย์สามกษัตริย์

 พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (114)

วันเวลาเปิดทำการ
เวลา 8.30-17.00 น.
วันอังคาร – วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
(ปิดทำการวันจันทร์และวันหยุดเทศกาลสงกรานต์)

อัตราค่าเข้าชม
คนไทยผู้ใหญ่ 20 บาท เด็กไทย 10 บาท
คนต่างชาติผู้ใหญ่ 90 บาท และเด็กต่างชาติ 40 บาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 053-217793

การเดินทาง

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ตั้งอยู่บนถนนพระปกเกล้า ตรงข้าวกับอนุสาวรีย์สาวกษัตริย์ กลางเมืองเชียงใหม่ครับ


ติดต่อเช่ารถพร้อมคนขับ/ซื้อสินค้า/โฆษณาข่าวสาร
Add friend ที่ @topcm
เพิ่มเพื่อน
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisment -