ทางเข้าพิพิํธภัณฑ์ผ้าป้าดา บ้านไร่ไผ่งาม
ท็อปเชียงใหม่พาไปชมสถานที่ผลิตผ้าฝ้ายทอมือ แบบโบราณที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มแม่บ้านได้รับการถ่ายทอดความรู้ กับการสานต่อเจตนารมณ์ ในการผลิตผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติจากคุณป้าแสงดา บันสิทธิ์ ศิลปินแห่งชาติ ผู้มีจิตวิญญานนักสู้เพื่อสังคม
ผ้าฝ้ายทอมือจอมทอง เป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสีย
กว่าจะมาเป็นสถานที่ผลิตผ้าทอมือมีชื่อเสียงแบบนี้ได้นั้น ไม่ง่ายเลยผ่านอะไรมามามากมาย ซึ่งจะขอกล่าวต่อไป ป้าแสงดา บันสิทธิ์” กับชีวิตหญิงทอผ้า อ.จอมทอง ณ “บ้านไร่ไผ่งาม” และ “พิพิธภัณฑ์บ้านป้าดา” ตัวบ้านไม้สักสีน้ำตาลเข้มต
ต้นไผ่เรียงราย ทางเข้าบ้านป้าแสงดา บันสิทธิ์ ศิลปินแห่งชาติสาขา ทัศนศิลป์ ประจำปี 2551
ภายในพิพิธภันฑ์ แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนใต้ถุนเรือนใช้เป็นที่ตั้งหูกทอผ้า ส่วนหนึ่งเป็นหูกเดิมที่ป้าแสงดา บันสิทธิ์เคยใช้ ปัจจุบันใช้เป็นส่วนปฏิบัติงานทอผ้าของกลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านไร่ไผ่งาม ส่วนอาคารจัดแสดงอุปกรณ์ การทอ ย้อมผ้า เป็นอาคาร 2 หลัง ที่สร้างแยกออกมา ลักษณะเป็นอาคารเปิดโล่งจัดวางอุปกรณ์ปั่นฝ้าย ย้อมผ้า ตัวอย่างบ่อบรรจุพืชที่ใช้ย้อมผ้า เป็นต้น ปัจจุบันยังใช้เป็นที่ย้อมเส้นใยฝ้าย หรือ ปั่นฝ้ายตามลักษณะเดิม
อาคารส่วนบริการ ตั้งอยู่ด้านข้างใกล้ทางขึ้นอาคารจัดแสดงเป็นอาคารที่อยู่อาศัยที่แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นมุมขายหนังสือ และของที่ระลึกตั้งแผ่นพับภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่นเพื่อแจกแก่ผู้เข้าชม อาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบ้านไร่ไผ่งาม ตั้งอยู่ตอนหลังของพื้นที่เป็นส่วนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายและของที่ระลึกจากบ้านไร่ไผ่งาม
ประวัติป้าแสงดา บันสิทธิ์ ในด้านการทอฝ้า
ป้าแสงดา บันสิทธิ์ เจ้าของบ้านไร่ไผ่งาม เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2462 ในหมู่บ้านที่มีกี่ทอผ้าอยู ่ในบ้านทุกหลังคาเรือน ได้เห็นกระบวนการทอผ้ามาแต่ เยาว์วัย จับกี่หัดลองทอครั้งแรกตอน 5 ขวบ และได้ศึกษาวิธีการทอจากครู ผู้ชำนาญที่สุดในหมู่บ้านทั ้งด้านการปั่นด้ายและ การทอผ้า ทำให้ป้าแสงดาทั้งรักและชำน าญในการทอผ้าฝ้ายเป็นอย่างม าก จนอายุ 17 ปี ป้าแสงดาสมรสกับนายดาบมาลัย บันสิทธิ์ นายตำรวจจาก จ.ราชบุรี นายดาบมาลัยไม่ใคร่เห็นด้วย กับการทอผ้าของภรรยานัก เพราะเห็นว่าเสียเวลา ผืนหนึ่งต้องใช้เวลานานกว่า จะออกมาเป็นผ้า แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ส องระเบิดขึ้น ผ้ากลายเป็นสินค้าขาดตลาด ป้าแสงดาแก้ปัญหาโดยลงมือทอ ผ้าเปลือกไม้ และนำไปตัดเป็นชุดให้สามีไป ทำงาน ปรากฏว่าได้รับความสนใจเป็น อย่างมาก กระทั่งนายดาบมาลัยถึงแก่กร รม ป้าแสงดาจึงได้นำเงินที่มีอยู่ ไปซื้อกี่ทอผ้า และชักชวนแม่บ้านจากบ้านใกล ้เรือนเคียงมาร่วมกันทอผ้า ในช่วงต้นป้าดาจำเป็นต้องต่ อสู้ทางการตลาดค่อนข้างหนัก กว่าจะทำให้ผ้าฝีมือแม่บ้าน ในกลุ่มเป็นที่รู้จักและมีค นต้องการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความพยายา มศึกษาพัฒนาสีที่ใช้ย้อมให้ สวยงามแปลกตาคงทน รวมทั้งประดิษฐ์ลวดลายให้แป ลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ปลายทางแห่งความพยายามของป้ าดา ก็สามารถทำให้ผ้าของบ้านไร่ ไผ่งามติดตลาดได้สำเร็จ มีแม่บ้านมาร่วมเป็นสมาชิกร ่วมทอผ้ากับบ้านไร่ไผ่งามถึ ง 42 คน โดยใช้ใต้ถุนบ้านป้าเป็นโรง ทอ จนกระทั่งป้าแสงดาได้รับการ ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติใ ห้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (การทอผ้า) ในปี พ.ศ.2529 ด้วยฝีมือการทอผ้าฝ้ายทอมือ ที่แสนละเอียดและพิถีพิถันท ุกขั้นตอน ตั้งแต่การแกะฝ้ายออกจากฝัก ดีดฝ้ายให้เป็นปุย หีบฝ้าย แยกเมล็ดฝ้าย ปั่นให้ออกมาเป็นเส้น เอาเส้นฝ้ายที่ได้มาไปย้อม จนมาขึ้นกี่ แล้วถึงจะลงมือทอออกมาเป็นผ ืนผ้า
ตลอดชีวิตของ “ป้าดา” นั้น คนใกล้ชิดได้เปิดเผยว่า คล้ายกับว่าป้าแต่งงานกับงา นทอ กับผืนผ้า เพราะป้าจะทำงานทุกวัน ไม่มีวันหยุด ไม่มีวันพัก ป้าไม่เคยเจ็บป่วย ไม่เคยเห็นป้าทำตัวหม่นหมอง ไม่เคยนอนกลางวัน เมื่อตื่นเช้ามา ป้าก็จะทำงานทั้งวัน เรื่อยไปจนตะวันตกดิน เป็นเช่นนี้ทุกวันตลอดชั่วช ีวิต 73 ปีของป้า
จุดเด่นของผ้าฝ้ายทอมือฝีมือป้าแสงดาอยู่ที่ลายทอละเอียด และสีย้อมที่ได้มาจากสมุนไพรชนิดต่างๆ สีย้อมผ้าของป้าดาไม่มีสูตรตายตัว ไม่มีการช่างตวงวัดว่าส่วนผสมกี่กรัมถึงจะออกมาเป็นสีใดๆ ป้าจะใช้สายตาและความรู้สึกว่าดีไหม สวยไหม พอหรือยัง และในทุกๆ วัน ป้าจะจับโน่นผสมนี่ รวมทั้งหาพืชใหม่ๆ มาทดลองย้อมเพื่อจะได้สีใหม่ๆ ดังนั้น การพัฒนาของผ้าใน “บ้านไรไผ่งาม” จึงไม่เคยหยุดอยู่กับที่ …แต่แล้ววันที่สมาชิกบ้าน “บันสิทธิ์” ทุกคนต้องสูญเสียเสาหลักก็มาถึง…11 มกราคม พ.ศ.2536 ป้าแสงดาจากไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยโรคมะเร็งลำไส้
ข้าว ของ เครื่องใช้ ทุกอย่างล้วนเป็นความรู้แก่คนรุ่นใหม่
การเดินทาง
มาตามถนนหลวงหมายเลข 108 (ถ.เชียงใหม่-ฮอด) จากตัวเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าสูอำเภอจอมทอง ต.สบเตี๊ยะ ผ่านวัดพระธาตุศรีจอมทอง ไปอีก 11 กิโลเมตร ตรงกิโลเมตรที่ 68-69 เลี้ยวซ้ายเข้าไปเลยครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. (053) 361-231 โทรสาร (053) 361-230 สถานที่ติดต่อในเมืองเชียงใหม่ โทร. (053) 273-625