จุดชมทะเลหมอกดอยกิ่วลม คือไฮไลต์ของอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง แห่งนี้ เพราะนี้คือทะเลหมอก ที่การันตีได้ว่าสวยที่สุดแห่งหนึ่งของประทศไทยและสามารถชมได้ตลอดฤดูหนาวแบบไม่มีคำว่าผิดหวัง ต้องยอมรับว่าความสวยงามของทะเลหมอก ณ จุดชมวิวดอยกิ่วลมได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ
จากเส้นทางสายท่องเที่ยวเมืองปาย เมืองท่องเที่ยวยอดนิยมจนทำให้ใครหลายๆ คนเข้าใจผิดคิดว่าห้วยน้ำดังคือหนึ่งในสถานที่ท่องเทียวของปาย ไปซะงั้น แท้จริงอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง อยูในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นเขตแนวรอยต่อของ 2 จังหวัด เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ทำให้ห้วยน้ำดังเปรียบเสมือนประตูสู่ปายสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องตื่นแต่เช้าออกจากเมืองปายเพื่อมาชมทะเลหมอก ขอบอกว่าต้องออกตั้งแต่ตีห้าเดี๋ยวจะไม่ทันจองทำเลเหมาะเพราะที่นี้ช่วงฤดูหนวคนเยอะมากๆ
อลังการทะเลหมอกอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมียอดดอยที่มีธรรมชาติงดงามอีกหลายแห่ง เช่น ดอยช้าง ดอยสามหมื่น รวมทั้งมีโป่งเดือดซึ่งเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติ ส่วนการล่องแพในลำน้ำแม่แต่งก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ประจำกรมป่าไม้ ครั้งที่ 9/2530 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำ และกองอุทยานแห่งชาติประสานงานกัน จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อเสนอแนะของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2530 กรมป่าไม้ให้ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่แจ่มหลวง) และหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) ซึ่งได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ทป)/86 ลงวันที่ 3 เมษายน 2531 แต่เนื่องจากยังขาดรายละเอียดต่างๆ และขอบเขตพื้นที่ที่เหมาะสมในการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับวนอุทยานโป่งเดือด จังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/10 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 แจ้งว่า เนื้อที่ใกล้เคียงวนอุทยานมีความเหมาะสมที่จะรวมกับพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำ ที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/950 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานโป่งเดือดไปสำรวจเบื้องต้นบริเวณดังกล่าว ได้รับรายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/74 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2531 ว่า ได้ทำการสำรวจร่วมกับ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
|
กอง อุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/206 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2532 เสนอกรมป่าไม้ขอความเห็นชอบ เพื่อนำเรื่องการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะ กรรมการอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบกำหนดบริเวณพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่จอกหลวง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) บางส่วน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ ตำบลแม่อี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ประมาณ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 782,575 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อไป ต่อมาได้มีวิทยุกองอุทยานแห่งชาติที่ กษ 0712 ทับ 97 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2534 ให้อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ประสานงานกับหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และให้สำรวจพื้นที่บางส่วนของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และพื้นที่วนอุทยานโป่งเดือด ในท้องที่ตำบลเมืองคอน อำเภอเชียงดาว และตำบลป่าแป๋ ตำบลเมืองกาย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมประมาณ 118,906.25 ไร่ หรือ 190.25 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพสูงมาก มีจุดเด่นที่สวยงาม เช่น โป่งเดือด น้ำตก ลุ่มน้ำแม่แตง รวมทั้งความหลากหลายของพืชพรรณ และสัตว์ป่าที่ชุกชม มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติโดย ด่วน อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่ง ชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว และป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลกืดช้าง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนในท้องที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 33ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 80 ของประเทศ |
ลักษณะภูมิประเทศ |
สภาพ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและหุบเขาสลับกัน เป็นแนวยาวขนานกันในแนวเหนือ-ใต้ของเทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาผีปันน้ำ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่มีการแทรกดันของหินหนืด และแรงบีบอัดในแนวตะวันออก-ตะวันตก ทำให้พื้นผิวโก่งงอกลายเป็นภูเขาและเทือกเขา และมีหุบเขาที่เกิดจากรอยเลื่อนที่ทรุดต่ำลง รวมทั้งได้มีการสึกกร่อนที่เกิดจากกระบวนการทางฟิสิกส์และทางเคมี ตลอดจนการทับถมของตะกอนน้ำพาทำให้เกิดเป็นที่ราบแคบๆ ระหว่างภูเขาทั้งสองฝั่งของลำน้ำ มีความสูงตั้งแต่ 400-1,962 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำน้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำแตงและแม่น้ำปาย จัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำตั้งแต่ชั้น A ถึงชั้น 1A มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย ได้แก่ ห้วยเหี้ยะ ห้วยแม่ยะ ห้วยฮ่อม ห้วยน้ำดัง ห้วยแม่สลาหลวง ห้วยโป่ง น้ำงุม ห้วยแม่แพลม ห้วยงู ห้วยแม่เย็นหลวง ห้วยน้อย ห้วยฮ่อม ห้วยหก ห้วยแม่ฮี้ ห้วยขาน ห้วยแม่ปิง ห้วยแม่จอกหลวง เป็นต้น |
ลักษณะภูมิอากาศ |
สภาพ อากาศโดยทั่วไปเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส อากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 8 องศาเซลเซียส ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังคาบเกี่ยวพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ป่าอยู่ในเขตมรสุม กล่าวคือ พื้นที่นี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมสะวันตกเฉียง เหนือนอกจากนั้นยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมพายุไซโคลน ด้วยจึงทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมี 3 ฤดูดังนี้ ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 20 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 2 องศาเซลเซียส ทิศทางลมมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 12 องศาเซลเซียส ทิศทางลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ |
พรรณไม้และสัตว์ป่า |
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังสภาพทางธรรมชาติยังคงความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดสังคมพืชหลากหลายชนิด ประกอบด้วย ป่าดิบเขา พบในพื้นที่ทีเป็นหุบเขาและพื้นที่ลาดชันที่สภาพอากาศมีความชื้นค่อนข้างสูง ตลอดปี ในระดับความสูง 1,650-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อกระดุม ก่อแดง สนสามใบ เม็ดชุนตัวผู้ ช้าส้าน มะมือ ก่วม เต้าหลวง จำปีหลวง มณฑาป่า เหมือดดง เดื่อปล้องหิน ตะไคร้ต้น สารภีป่า กำลังเสือโคร่ง กะทัง ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่าง ได้แก่ กล้วย ต่างไก่ป่า พลูช้าง พญาดง หญ้าคมบาง ตองกง พริกไทย ดาดตะกั่ว และกาหลา เป็นต้น ป่าเบญจพรรณ พบกระจายตัวเป็นพื้นที่กว้างที่ระดับความสูงต่ำกว่า 900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ กาสามปีก กุ๊ก แคหัวหมู แดง ตะคร้ำ ประดู่ มะเกลือ มะกอก ตังหน ชิงชัน โมก ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างได้แก่ คนทา คัดเค้าเครือ เฒ่าหลังลาย เต่าร้าง ผักแว่น สะบ้าลิง สาบเสือ บุก ลิเภา ชายผ้าสีดา เกล็ดปลา หญ้าขัด และพ่อค้าตีเมีย เป็นต้น ป่าเต็งรัง พบโดยทั่วไปในพื้นที่ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง เหียง พลวง รัง รกฟ้า พะยอม ตีนนก ติ้วขน สมอไทย ส้านใหญ่ มะขามป้อม ยอป่า แสลงใจ เค็ด ฯลฯ ไม้พุ่มและไม้พื้นล่าง ได้แก่ กะตังใบ โสมชบา กระมอบ หนาดคำ ตาฉี่เคย ข้าวสารป่า และยาบขี่ไก่ เป็นต้น ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า กวางป่า หมีควาย เก้ง กระจงเล็ก เลียงผา หมูป่า แมวดาว ชะมดเช็ด ลิงวอก ชะนีมือขาว พังพอน เม่นใหญ่ ไก่ป่า ไก่ฟ้าสีเงิน นกเขาเปล้า นกขุนทอง นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกปรอดคอลาย เหยี่ยวต่างสี กะท่าง เต่าปูลู เต่าใบไม้ ก้งก่าแก้ว แย้ ตะกวด งูเหลือม งูเขียวดอกหมาก งูเห่า กบทูด ปาด เขียดป่าไผ่ และอึ่งลาย เป็นต้น ในบริเวณแม่น้ำและลำห้วยต่างๆ พบปลาจาด ปลามอน ปลาเลียหิน ปลาเวียน ปลาค้อ ปลาค้างคาว ปลาติดหิน และปลาก้าง เป็นต้น |
ที่ตั้งและการเดินทาง |
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง หมู่ที่ 5 ต.กึ๊ดช้าง อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ 50150 โทรศัพท์ : 0 5324 8491, 0 5326 3910, 08 4908 1531 (มือถือ) โทรสาร : 0 5324 8491 ผู้บริหาร : สุวิทย์ แก้วปิยรัตน์ ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ |
รถยนต์ |
โดย เดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 107 และเข้าทางแยกซ้ายมือที่ตลาดแม่มาลัย อำเภอแม่แตง ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1095 สายแม่มาลัย – ปาย ท่านสามารถเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และใช้บริการต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้โดยสะดวก ดังนี้ ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 65-66 มีทางแยกขวามือ จะพบป้อมยามตั้งอยู่ทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เดินทางต่อไปอีก ระยะประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงจุดชมดอยกิ่วลม บริเวณนี้มีบ้านพัก สถานที่กางเต็นท์ ห้องน้ำ ห้องสุขา และร้านอาหาร ให้บริการนักท่องเที่ยว ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 87-88 ถึงบ้านแม่ปิง มีทางแยกขวามือ จะพบป้ายบอกทางเข้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ นด.2 (โป่งน้ำร้อนท่าปาย) ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงโป่งน้ำร้อนท่าปายอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่ง บริเวณนี้มีสถานที่กางเต็นท์ ห้องน้ำ ห้องสุขา และร้านอาหาร ให้บริการนักท่องเที่ยว สำหรับการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ท่านสามารถหาข้อมูลได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง หรือโทรสอบถามได้โดยตรงกับอุทยานแห่งชาติ |
บ้านพัก และค่ายพักแรม |
ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่ |
โซน | ชื่อที่พัก-บริหาร | ห้องนอน | ห้องน้ำ | คน/หลัง | ราคา/คืน | สิ่งอำนวยความสะดวก |
---|---|---|---|---|---|---|
โซนที่ 1 | 1. ห้วยน้ำดัง 102 (ชมหมอก) | 3 | 2 | 6 | 1,800 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, กระติกน้ำร้อน, ผ้าเช็ดตัว, สบู่ |
โซนที่ 1 | 2. ห้วยน้ำดัง 103 (หมอกฟ้า 1) | 3 | 2 | 6 | 1,800 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, กระติกน้ำร้อน, ผ้าเช็ดตัว, สบู่ |
โซนที่ 1 | 3. ห้วยน้ำดัง 104 (หมอกฟ้า 2) | 3 | 2 | 6 | 1,800 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, กระติกน้ำร้อน, ผ้าเช็ดตัว, สบู่ |
โซนที่ 1 | 4. ห้วยน้ำดัง 105 (หมอกฟ้า 3) | 3 | 2 | 6 | 1,800 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, กระติกน้ำร้อน, ผ้าเช็ดตัว, สบู่ |
โซนที่ 2 | 5. ห้วยน้ำดัง 203 (โป่งเดือด 3) | 1 | 1 | 4 | 3,000 | เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 2 | 6. ห้วยน้ำดัง 204 (โป่งเดือด 4) | 1 | 1 | 4 | 3,000 | เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 2 | 7. ห้วยน้ำดัง 205 (โป่งเดือด 5) | 1 | 1 | 4 | 3,000 | เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 2 | 8. ห้วยน้ำดัง 206 (โป่งเดือด 6) | 1 | 1 | 4 | 3,000 | เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 2 | 9. ห้วยน้ำดัง 207 (โป่งเดือด 7) | 1 | 1 | 4 | 3,000 | เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 2 | 10. ห้วยน้ำดัง 208 (โป่งเดือด 8) | 1 | 1 | 4 | 3,000 | เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว |
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้ |
โซน | โซนที่พัก-บริการ | คำอธิบาย |
---|---|---|
โซนที่ 1 | ห้วยน้ำดัง 101-102 | บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณจุดชมทิวทัศน์ดอยกิ่วลม |
โซนที่ 1 | ห้วยน้ำดัง 103-105 | บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณจุดชมทิวทัศน์ดอยกิ่วลม |
โซนที่ 2 | ห้วยน้ำดัง 201-204 | บ้าน พักเดี่ยว โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ นด.1 บริเวณบ่อน้ำร้อนโป่งเดือด ห่างจากจุดชมทิวทัศน์ดอยกิ่วลม ประมาณ 35 กิโลเมตร ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 0 5331 5209 |
โซนที่ 2 | ห้วยน้ำดัง 205-208 | บ้าน พักเดี่ยว โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ นด.1 บริเวณบ่อน้ำร้อนโป่งเดือด ห่างจากจุดชมทิวทัศน์ดอยกิ่วลม ประมาณ 35 กิโลเมตร ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 0 5331 5209 |
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่ จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต คลิกที่นี่ |
ห้องประชุม |
โซน | โซนห้องประชุม | คำอธิบาย |
---|---|---|
โซนที่ 1 | ห้วยน้ำดัง 011-012 – ห้องประชุม 1-2 | ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ |
โซน | ชื่อห้องประชุม | รองรับ ได้ (คน) |
ราคา (บาท) | สิ่งอำนวยความสะดวก |
---|---|---|---|---|
โซนที่ 1 | 1. ห้วยน้ำดัง 011 – ห้องประชุม 1 (09.00 – 12.00 น.) | 30 | 300 | ห้องพัดลม ไม่เกิน 30 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้ |
โซนที่ 1 | 2. ห้วยน้ำดัง 011 – ห้องประชุม 1 (13.00 – 16.00 น.) | 30 | 300 | ห้องพัดลม ไม่เกิน 30 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้ |
โซนที่ 1 | 3. ห้วยน้ำดัง 011 – ห้องประชุม 1 (18.00 – 21.00 น.) | 30 | 300 | ห้องพัดลม ไม่เกิน 30 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้ |
โซนที่ 1 | 4. ห้วยน้ำดัง 012 – ห้องประชุม 2 – เอื้องเงิน (09.00 – 12.00 น.) | 100 | 800 | ห้องพัดลม ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้ |
โซนที่ 1 | 5. ห้วยน้ำดัง 012 – ห้องประชุม 2 – เอื้องเงิน (13.00 – 18.00 น.) | 100 | 800 | ห้องพัดลม ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้ |
โซนที่ 1 | 6. ห้วยน้ำดัง 012 – ห้องประชุม 2 – เอื้องเงิน (18.00 – 21.00 น.) | 100 | 800 | ห้องพัดลม ไม่เกิน 100 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้ |
แหล่งท่องเที่ยว |
อุทยาน แห่งชาติห้วยน้ำดัง มีกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยวได้ศึกษาหาความรู้หลายรูปแบบ เช่น การเดินป่าระยะไกล การเดินศึกษาธรรมชาติ และการขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ การเดินป่าระยะไกล เป็นกิจกรรมเดินป่าที่จะได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ด้วยเส้นทางเดินเท้าที่ตัดผ่านป่าที่มีทัศนียภาพที่สวยงามตามธรรมชาติ มีโอกาสที่จะได้เรียนรู้วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของชาวเขาในเส้นทางที่ผ่าน ทางอุทยานแห่งชาติจัดให้มีกิจกรรมการเดินป่า 8 เส้นทาง ใช้เวลาในการพักแรม 1 คืน ได้แก่ เส้นทางโป่งเดือด-บ้านสบก๋าย มี 3 เส้นทาง เส้นทางบ้านแม่แสะ-บ้านสบก๋าย มี 2 เส้นทาง เส้นทางถนนทางเข้าอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง กิโลเมตรที่ 5 – บ้านสบก๋าย เส้นทางปากทางแม่จอก-บ้านสบก๋าย และเส้นทางดอยช้าง-บ้านสบก๋าย รวมทั้งในบางช่วงของการเดินทางเป็น การขี่ช้างศึกษาธรรมชาติ และ การล่องแพ ที่ได้สัมผัสเกาะแก่งที่สวยงาม ตื่นเต้น และเร้าใจการเดินศึกษาธรรมชาติ เป็นการเดินศึกษาธรรมชาติ ตามเส้นทางที่อุทยานแห่งชาติจัดทำไว้ ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง เป็นการเข้าไปสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด พร้อมกับได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติโดยผ่าโปรแกรมสื่อความหมายธรรมชาติ ในรูปแบบต่างๆการขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ เป็นขี่จักรยานไปตามเส้นทางที่ทอดลัดเลาะไปในพื้นที่ป่าที่สมบูรณ์ไปด้วย พรรณไม้นานาชนิดทั้งสองฟากทาง ผ่านจุดที่น่าสนใจและโดดเด่นทางธรรมชาติ จุดที่ตื่นเต้นและท้าทาย ภายใต้บรรยากาศที่หนาวเย็นหากนักท่องเที่ยวมีความสนใจกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ ขอให้ติดต่อสอบถามรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติโดยตรง และนอกจากกิจกรรมแล้ว อุทยานแห่งชาติยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ดังนี้ |
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
จุดชมวิวดอยกิ่วลม เป็น ที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติส่วนกลาง (เอื้องเงิน) เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามมากที่สุดและมีชื่อเสียงมากในด้านการท่องเที่ยว ที่จะชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่ และเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อคอยชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกอันกว้างใหญ่ไพศาลในช่วงฤดูหนาว ในยามท้องฟ้าเปิดและแจ่มใสจะมีทัศนียภาพที่สวยงามและหลากจินตนาการของทิวเขา ที่สลับซับซ้อนของยอดดอยเชียงดาวที่มีความสูงประมาณ 2,175 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพธรรมชาติอันสวยงามของจุดชมทิวทัศน์นี้ เมื่อยืนอยู่ที่บ้านพักของห้วยน้ำดังแล้วมองไปทางทิศตะวันออก ทำให้มองเห็นสภาพธรรมชาติที่สวยงาม ทิวทัศน์ของทิวเขาอันสลับซับซ้อนซึ่งมีดอยหลวงเชียงดาว ที่สูงที่สุดอยู่ใจกลาง และในช่วงเช้าตรู่ของฤดูหนาวจะเกิดทัศนียภาพของทะเลหมอกที่สวยงาม ทางเข้าแยกจากถนนสายแม่มาลัย-ปาย หลักกิโลเมตรที่ 65-66 เป็นทางเข้าไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร นอกจากนี้ บริเวณดอยกิ่วลมยังเป็นที่ตั้งของพระตำหนักเอื้องเงิน ซึ่งเป็นอาคารทรงชาเลย์ที่กรมป่าไม้สร้างถวายสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้า กัลยานิวัฒนาฯ ภายในบริเวณโดยรอบพระตำหนักมีการออกแบบภูมิทัศน์ที่ประกอบด้วยพืชประจำถิ่น เช่น กล้วยไม้ “เอื้องเงินหลวง” ที่ออกดอกสะพรั่งในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม |
กิจกรรม : ชมทิวทัศน์ |
จุดชมวิวดอยช้าง อยู่ บนดอยช้างขึ้นไปทางเหนือของห้วยน้ำดัง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 20 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,962 เมตร สามารถมองเห็นทะเลหมอกในตอนเช้าตรู่ได้ชัดเจน และสภาพธรรมชาติของทิวเขาอันสลับซับซ้อนของดอยสามหมื่นและดอยสันห้วยรูทาง ทิศเหนือ ดอยหลวงเชียงดาวและดอยขุนแม่แมะทางทิศตะวันออก ดอยแม่ยะและดอยม่อนอังเกตุทางทิศใต้ ดอยแม่ยานและเมืองปายทางทิศตะวันตก ดอยช้างปกคลุมด้วยป่าดิบเขาอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของนกบนที่สูงนานาชนิด เช่น นกเดินดง นกจับแมลง นกเขน นกปรอด ฯลฯ |
กิจกรรม : ชมทิวทัศน์ ดูนก |
น้ำตกแม่ปิง ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของลำน้ำแม่ปิงน้อย เป็นน้ำตกที่มี 4 ชั้น ความสูงประมาณ 50 เมตร พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าดิบชื้น |
กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก |
น้ำตกแม่เย็น เป็น น้ำตกที่เกิดจากลำห้วยแม่เย็นหลวง ซึ่งจะไหลลงมาสู่แม่น้ำปายต่อไป สภาพน้ำตกเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มี 2 ชั้น ความสูงประมาณ 40 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี จัดเป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นและโขดหินสวยงาม |
กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก |
น้ำตกแม่ลาด ความ สูงประมาณ 40-50 เมตร มี 5 ชั้น ตั้งอยู่ในตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นและโขดหินสวยงาม |
กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก |
น้ำตกแม่หาด เป็น น้ำตกที่มีความสูงประมาณ 40-50 เมตร มี 4 ชั้น ตั้งอยู่ในตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าดิบชื้น |
กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก |
น้ำตกห้วยน้ำดัง เป็น น้ำตกที่เกิดจากลำห้วยน้ำดัง มีโขดหินมากมาย ความสูงประมาณ 50 เมตร กว้าง 10 เมตร มี 4 ชั้น เป็นน้ำตกที่สวยงามมาก และสภาพโดยทั่วๆ ไปชุ่มชื้นไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้นและโขดหินที่สวยงาม ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านห้วยน้ำดัง |
กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก |
พระตำหนักเอื้องเงิน เป็น อาคารทรงชาเลย์ที่กรมป่าไม้ได้สร้างถวายสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิ วัฒนาฯ และทรงพระราชทานนามว่า “พระตำหนักเอื้องเงิน” ใช้เป็นที่ประทับของพระองค์ ตั้งอยู่บริเวณดอยกิ่วลมที่มีทัศนียภาพโดยรอบสวยงาม ภายในบริเวณโดยรอบพระตำหนักมีการออกแบบภูมิทัศน์ที่ประกอบด้วยพันธุ์พืช ประจำถิ่นกล้วยไม้ “เอื้องเงินหลวง” ที่ออกดอกสะพรั่งในช่วงเดือนมกราคม ตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับที่เป็นพืชเมืองหนาวที่หลากหลายพันธุ์และหลาก สีสัน |
กิจกรรม : ชมพรรณไม้ ชมทิวทัศน์ |
ห้วยน้ำรูและดอยสามหมื่น อยู่ ห่างจากดอยช้างประมาณ 10 กิโลเมตร ห้วยน้ำรูมีลักษณะเป็นตาน้ำเล็กๆ ที่สร้างความชุ่มชื้นให้แก่ผืนป่าของดอยสามหมื่น และเป็นต้นน้ำของลำน้ำแม่แตงที่ไหลลงสู่ลำน้ำแม่ปิง ส่วนดอยสามหมื่นเป็นที่ตั้งของหน่วยจัดการต้นน้ำ ซึ่งมีจุดชมทิวทัศน์อยู่บนยอดดอย วันที่มีอากาศแจ่มใสสามารถมองเห็นดอยหลวงเชียงดาวสูงตระหง่านเด่นชัด |
กิจกรรม : ชมทิวทัศน์ |
ด้านท่องเที่ยวผจญภัย |
ล่องแพลำน้ำแม่แตง สอง ฝั่งของลำน้ำแม่แตงยังคงอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และนกนานาชนิด จัดว่าเป็นสายน้ำที่มีบรรยากาศของการท่องเที่ยวที่ตื่นเต้นเร้าใจ เต็มไปด้วยเกาะแก่งและโขดหิน ลำน้ำไหลคดเคี้ยวไปตามหุบเขาด้วยกระแสน้ำที่ไม่เชี่ยวจนเกินไป การเดินทางเริ่มต้นที่น้ำพุร้อนโป่งเดือด โดยเดินป่าไปพักค้างแรมที่บ้านปางป่าคา (7 กิโลเมตร) หรือบ้านป่าข้าวหลาม (9 กิโลเมตร) จากนั้นจึงลงแพล่องลำน้ำแม่แตง ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง จะถึงบ้านสบก๋ายซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการล่องแพ ช่วงเวลาที่เหมาะสมอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว |
กิจกรรม : ล่องแพ/ล่องเรือ เดินป่าระยะไกล ดูนก |
ลำน้ำแม่ปาย เป็น ลำน้ำสายสำคัญอีกสายหนึ่งที่มีต้นกำเนิดในพื้นที่ตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติ ห้วยน้ำดัง ที่มีน้ำไหลตลอดปีในสายน้ำที่คดเคี้ยว สองฝั่งลำน้ำส่วนใหญ่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ของสภาพธรรมชาติ ของพรรณไม้นานาชนิด และสัตว์ป่าจำพวกนก ในบางช่วงของลำน้ำมีการตั้งถิ่นฐานของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมดั้งเดิมทั้งการแต่งกายและภาษาพูด |
กิจกรรม : ล่องแพ/ล่องเรือ ชมทิวทัศน์ ชมวัฒนธรรมและประเพณี ดูนก |
ด้านท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ |
โป่งน้ำร้อนท่าปาย เป็น บ่อน้ำร้อนที่เปรียบเสมือนน้ำกำลังเดือดขึ้นเป็นพรายฟอง อุณหภูมิน้ำผิวดินประมาณ 80 องศาเซสเซียล น้ำร้อนจะไหลรวมกันเป็นธารน้ำร้อนขยายเป็นบริเวณกว้าง มีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 30 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ อาบน้ำแร่ |
โป่งน้ำร้อนโป่งเดือด โป่ง น้ำร้อนโป่งเดือด น้ำพุร้อนขนาดใหญ่ สูง 2-3 เมตร จำนวน 3-4 บ่อ และยังมีบ่อเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป อุณหภูมิน้ำผิวดินประมาณ 90-99 องศาเซสเซียล น้ำพุร้อนจะพุ่งจากใต้ดินตลอดเวลา บางครั้งพุ่งสูงถึง 2 เมตร มีกลิ่นกำมะถันอ่อนๆ บริเวณนี้ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งเดือด ระยะทาง 1,550 เมตร บริการอาบน้ำแร่เพื่อสุขภาพ และโป่งเดือดยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะไกล ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างยิ่ง นอกจากนี้ บริเวณโป่งเดือดยังมีศุนย์บริการนักท่องเที่ยว สะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติ ห้องอาบน้ำแร่ ร้านอาหาร บ้านพักนักท่องเที่ยวและสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติ่ม โทร 0 5331 5209 |
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ อาบน้ำแร่ แค้มป์ปิ้ง เดินป่าระยะไกล |
ด้านศึกษาธรรมชาติ |
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ อุทยาน แห่งชาติห้วยน้ำดังได้จัดเตรียมทางเดินศึกษาธรรมชาติเพื่อให้ผู้มาเยือนได้ เข้าไปสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด พร้อมกับได้รับความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติโดยผ่าโปรแกรมสื่อความหมายธรรมชาติ ในรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วยเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ดังนี้ • เส้นทางศึกษาธรรมชาติเอื้องเงิน มีความยาวประมาณ 1,470 เมตร ความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติประมาณ 1 ชั่วโมง มีจุดศึกษาธรรมชาติ 13 จุด• เส้นทางศึกษาธรรมชาติห้วยน้ำดัง มีความยาวประมาณ 1,470 เมตร ความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติประมาณ 1 ชั่วโมง มีจุดศึกษาธรรมชาติ 13 จุด• เส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งเดือด มีความยาวประมาณ 1,550 เมตร ความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติประมาณ 1 ชั่วโมง มีจุดศึกษาธรรมชาติ 11 จุด• เส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งน้ำร้อน มีความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการศึกษาธรรมชาติประมาณ 1 ชั่วโมง มีจุดศึกษาธรรมชาติ 17 จุด |
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ |
สิ่งอำนวยความสะดวก |
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย มีห้องสุขาชายไว้บริการ |
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ |
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เป็นบ้านพักเดี่ยว โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ นด.1 (โป่งเดือด) บริเวณบ่อน้ำร้อนโป่งเดือด โซนนี้อยู่ห่างจากจุดชมทิวทัศน์ดอยกิ่วลม ประมาณ 35 กิโลเมตร ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 0 5322 9636 |
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บริเวณใกล้เคียงจุดชมทิวทัศน์ดอยกิ่วลม |
ลานกางเต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จำนวน 6 ลาน ดังนี้ – ลานกางเต็นท์ 1 (ลานม่านสน) สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 300 คน – ลานกางเต็นท์ 2 (ลานสายหมอก) สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 50 คน – ลานกางเต็นท์ 3 (ลานลมหนาว) สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 200 คน – ลานกางเต็นท์ 4 (ลานลมดอย) สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 120 คน – ลานกางเต็นท์ 5 (ลานกิ่วลม) สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 350 คน – ลานกางเต็นท์ 6 (ลานที่ทำการ) สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 300 คนการใช้บริการสถานที่กางเต็นท์ ให้สิทธิ์กับนักท่องเที่ยวที่ไปถึงก่อนสามารถเลือกสถานที่กางเต็นท์ได้ก่อน ยกเว้นในวันที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ดูผังบริเวณที่ตั้งลานกางเต็นท์ คลิกที่นี่ |
ลานกางเต็นท์ อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ นด.1 (โป่งเดือด) |
ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว |
บริการอาหาร มี ร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ นด.1 (โป่งเดือด) ใกล้บ่อน้ำร้อนโป่งเดือด เปิดให้บริการระหว่าง 08.30 – 19.00 น. |
บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เปิดให้บริการระหว่าง 07.00 – 20.00 น. |
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 – 16.30 น. |
ห้องอาบน้ำแร่ มีห้องสำหรับอาบน้ำแร่ไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทั้งแบบห้องอาบน้ำเดี่ยว บ่อรวมขนาดเล็ก บ่อรวมขนาดใหญ่ และบ่อแยกชาย-หญิง |
เต็นท์ มีเต็นท์ไว้ให้บริการ บริเวณโซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ดังนี้ – เต็นท์ ขนาด 2-3 คน จำนวน 50 เต็นท์ – เต็นท์ ขนาด 4-6 คน จำนวน 20 เต็นท์ – เต็นท์ ขนาด 8-10 คน จำนวน 40 เต็นท์ การ ใช้บริการเต็นท์ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ในวันที่จะไปใช้บริการ ไม่รับสำรองที่พักเต็นท์ล่วงหน้า เนื่องจากที่ผ่านมานักท่องเที่ยวติดต่อสำรองที่พักเต็นท์ล่วงหน้าแล้ว ไม่เข้าใช้บริการตามที่สำรองไว้ เป็นเหตุให้อุทยานแห่งชาติไม่สามารถให้บริการเต็นท์ต่อคณะอื่นได้ ทำให้ทางราชการเสียหาย และนักท่องเที่ยวที่มาถึงอุทยานแห่งชาติแล้วไม่สามารถใช้บริการได้ |
เต็นท์ มีเต็นท์ไว้ให้บริการ บริเวณโซนหน่วยพิทักษ์รอุทยานแห่งชาติ ที่ นด.1 (โป่งเดือด) ดังนี้ – เต็นท์ ขนาด 2-3 คน จำนวน 15 เต็นท์ – เต็นท์ ขนาด 4-6 คน จำนวน 8 เต็นท์ การใช้บริการเต็นท์ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ในวันที่จะไปใช้บริการ ไม่รับสำรองที่พักเต็นท์ล่วงหน้า เนื่องจากที่ผ่านมานักท่องเที่ยวติดต่อสำรองที่พักเต็นท์ล่วงหน้าแล้ว ไม่เข้าใช้บริการตามที่สำรองไว้ เป็นเหตุให้อุทยานแห่งชาติไม่สามารถให้บริการเต็นท์ต่อคณะอื่นได้ ทำให้ทางราชการเสียหาย และนักท่องเที่ยวที่มาถึงอุทยานแห่งชาติแล้วไม่สามารถใช้บริการได้ |
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง หมู่ที่ 5 ต.กึ๊ดช้าง อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ 50150 โทรศัพท์ 0 5324 8491, 0 5326 3910, 08 4908 1531 (มือถือ) โทรสาร 0 5324 8491 อีเมล h.namdang_np@hotmail.com |
ข้อมูลจาก เว็บไซต์ของอุทยานแห่งชาติ