ดอยอ่างขางเป็นแหล่งท่องเทียวที่โดดเด่นของเชียงใหม่ และกำลังอยู่ในช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ ดอยอ่างขางตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงติดกับสันเขาพรมแดนประเทศพม่า จุดเด่นที่นักทองเที่ยวไปเยือนดอยอ่างขางคือการไปเทียวชมดอกไม้เมืองหนาว ภายในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
สถานีเกษตรอ่างขางได้รับการจัดตั้งเมือปีพ.ศ.2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่นเปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาว แนวคิดที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อนและหยุดการทำลายป่า
คำว่า “อ่างขาง” ภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง ในอดีตนั้นสวยมากด้วยดอกฝิ่นและภูมิประเทศ เป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อม รอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อย ๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
ดอยอ่างขางมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบในหุบเขาลักษณะเหมือนอ่างอยู่ที่ระดับความสูง 1,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล ภายในโครงการมีสิ่งที่น่าสนใจเช่นแปลงปลูกไม้ดอกไม้เมืองหนาว แปลงปลูกไม้ในร่ม โรงเรือนกุหลาบ แปลงปลูกผัก สวนท้อ สวนบ๊วย สวนบอนไซ ฯลฯ
ดอยอ่างขางมีอากาศที่หนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะฤดูหนาว บนดอยมีอากาศหนาวจัดช่วงนี้จะเนืองแน่นเต็มไปด้วยนักทองเที่ยวจากทั่วประเทศ ต่างเดินทางกันมาเพียงเพื่อต้องการสัมผัสอากาศที่หนาวเย็นสุดขั้ว โดยต่างก็ลุ้นให้เกิดปรากฏการณ์เหมยขาบหรือแม่คะนิ้งในช่วงเช้า หากต้องการหลีกหนีความแออัดเกินไปในฤดูหนาวสามารถมาเที่ยวกันได้ในทุกช่วงเวลาของปี แม้หน้าร้อนที่นี้ก็มีอากาศเย็นกำลังดีลองมานอนค้างคืนสักทีจะติดใจครับ
[box type=”note” align=”” class=”” width=””]ค่าเข้าชมคนละ 40 บาท ยานพาหนะคันละ 50 บาท ภายในสถานีเกษตรมีลานจอดหลายจุด เส้นทางวิ่งรถทางเดียว[/box]
รองเท้านารีเหลืองกระบี่ ภาพขวา
กิจกรรมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง ได้แก่…
• ชมแปลงสาธิต ผัก ผลไม้ และไม้ดอกเมืองหนาวภายในศูนย์ฯ สามารถขับรถวนเป็นวงกลม ค่าเข้าชมคนละ 30 บาท ยานพาหนะคันละ 50 บาท
• ชมสวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันก็มีสวนสมุนไพรด้วยฤดูท่องเที่ยวอยู่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
• เยี่ยมหมู่บ้านหลวง สัมผัสชีวิตชาวจีนฮ่อ ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีน ยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่• เยี่ยมหมู่บ้านนอแล สัมผัสวิถีชีวิตชาวปะหล่อง อดีตชนเผ่าดั้งเดิมของพม่า มีผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของกลุ่มแม่บ้าน จำหน่ายและเยี่ยมฐานปฏิบัติการนอแล ชมชายแดนไทย-พม่า ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย – พม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมาที่นี่ได้ประมาณ 15 ปี คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติ บริเวณพรมแดนไทย-พม่า
• เที่ยวบ้านขอบด้ง สัมผัสวิถีชีวิตชาวเขาเผ่ามูเซอ มีมัคคุเทศก์น้อยพาเยี่ยมชมภายในหมู่บ้าน เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่า มูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตร และด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของ ชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้ง ช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้าน โดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อย ที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้ง เพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ด้วย
• เที่ยวหมู่บ้านคุ้ม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็ก ๆ ประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว
• เดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะสั้น ประมาณ 2 กิโลเมตร จะได้ชมความงามธรรมชาติของผืนป่าปลูกทดแทน น้ำตกเล็กๆ และกุหลาบพันปี
• ขี่จักรยานเสือภูเขาชมธรรมชาติ จากบ้านคุ้มไปยังบ้านนอแล และจากบ้านหลวงไปยังบ้านผาแดง
• กิจกรรมดูนก ที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกหายากต่างถิ่นให้ศึกษาหลากสายพันธุ์ มากกว่า 1,000 สายพันธุ์ จุดที่เหมาะคือสถานีป่าแม่เผอะและบริเวณรอบๆ รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง
• ขี่ฬ่อล่องไพร ชมความงดงามของธรรมชาติ ในบรรยากาศเย็นสบายรอบ ๆ ดอยอ่างขาง ด้วยการนั่งบนหลังฬ่อ (การนั่งบนหลังฬ่อต้องนั่งหันข้าง เนื่องจากอานกว้างไม่สามารถนั่งคร่อมอย่างการขี่ม้าได้) หากสนใจกิจกรรมนี้ต้องติดต่อกับรีสอร์ทล่วงหน้าอย่าน้อย 1 วัน เพราะปกติชาวบ้านจะนำฬ่อไปเป็นพาหนะขนผลิตผลทางการเกษตรด้วย
• จุดชมวิว-จุดกิ่วลม เป็นลานชมพระอาทิตย์ขึ้น-ตกดิน และสัมผัสทัศนียภาพของถนนทางขึ้น ดอยอ่างขาง อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยก ซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมวิวได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก หรือทะเลหมอก มองเห็นทิวเขารอบด้าน และหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย
สโมสรอ่างขาง มีอาหารเครื่องดื่มบริการ ติดกับสวน 80
บ้านพักสถานีเกษตรหลวงอ่างขางและราคา
หมายเลขโทรศัพท์สำรองที่พัก สถานีฯ อ่างขาง 053-969-476-78 ต่อ 114
[tabs type=”horizontal”]
[tabs_head]
[tab_title] บ้านคำดอย1-3 [/tab_title]
[tab_title] บ้านซากุระ1-6 [/tab_title]
[tab_title] บ้าน AK 1-20 [/tab_title]
[tab_title] บ้านริมดอย 1-6 [/tab_title]
[tab_title] บ้าน AK ใหญ่ [/tab_title]
[/tabs_head]
[tab] เดือนตุลาคม, พฤศจิกายน, มีนาคม ราคาหลังละ 5,620 บาท/คืน
>>รวมอาหารเช้า
>>เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ราคา 430 บาท + อาหารเช้า
เดือนธันวาคม, มกราคม, กุมภาพันธ์ ราคาหลังละ 6,820 บาท/คืน
>>อาหารเย็น + อาหารเช้า
>>เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ราคา 730 บาท + อาหารเย็น + อาหารเช้า
เดือนเมษายน – กันยายน ราคาหลังละ 3,500 บาท/คืน
>>ไม่รวมอาหารเช้า
>>เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ 280 บาท / ไม่รวมอาหารเช้า
** พักได้ 4 คน / 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ
** บ้านทุกหลังมีโทรทัศน์และเครื่องอาบน้ำอุ่น
** บ้านทุกแบบให้เข้าพักตามจำนวนคนที่ระบุให้เท่านั้น [/tab]
[tab] เดือนตุลาคม, พฤศจิกายน, มีนาคม ราคาหลังละ 2,060 บาท/คืน
>>รวมอาหารเช้า
>>เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ราคา 430 บาท + อาหารเช้า
เดือนธันวาคม, มกราคม, กุมภาพันธ์ ราคาหลังละ 2,660 บาท/คืน
>>อาหารเย็น + อาหารเช้า
>>เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ราคา 730 บาท + อาหารเย็น + อาหารเช้า
เดือนเมษายน – กันยายน ราคาหลังละ 900 บาท/คืน
ไม่รวมอาหารเช้า
เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ 280 บาท / ไม่รวมอาหารเช้า
** พักได้ 2 คน
** บ้านทุกหลังมีโทรทัศน์และเครื่องอาบน้ำอุ่น
** บ้านทุกแบบให้เข้าพักตามจำนวนคนที่ระบุให้เท่านั้น [/tab]
[tab] เดือนตุลาคม, พฤศจิกายน, มีนาคม ราคาหลังละ 1,560 บาท/คืน
>>รวมอาหารเช้า
>>เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ราคา 430 บาท + อาหารเช้า
เดือนธันวาคม, มกราคม, กุมภาพันธ์ ราคาหลังละ 2,160 บาท/คืน
>>อาหารเย็น + อาหารเช้า
>>เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ราคา 730 บาท + อาหารเย็น + อาหารเช้า
เดือนเมษายน – กันยายน ราคาหลังละ 650 บาท/คืน
>>ไม่รวมอาหารเช้า
>>เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ 280 บาท / ไม่รวมอาหารเช้า
** พักได้ 2 คน
** บ้านทุกหลังมีโทรทัศน์และเครื่องอาบน้ำอุ่น
** บ้านทุกแบบให้เข้าพักตามจำนวนคนที่ระบุให้เท่านั้น [/tab]
[tab] เดือนตุลาคม, พฤศจิกายน, มีนาคม ราคาหลังละ 2,650 บาท/คืน
>>รวมอาหารเช้า
>>เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ราคา 430 บาท + อาหารเช้า
เดือนธันวาคม, มกราคม, กุมภาพันธ์ ราคาหลังละ 4,150 บาท/คืน
>>อาหารเย็น + อาหารเช้า
>>เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ราคา 730 บาท + อาหารเย็น + อาหารเช้า
เดือนเมษายน – กันยายน ราคาหลังละ 1,000 บาท/คืน
>>ไม่รวมอาหารเช้า
>>เสริมที่นอนได้ห้องละ 1 ที่ 280 บาท / ไม่รวมอาหารเช้า
** พักได้ 5 คน
** บ้านทุกหลังมีโทรทัศน์และเครื่องอาบน้ำอุ่น
** บ้านทุกแบบให้เข้าพักตามจำนวนคนที่ระบุให้เท่านั้น [/tab]
[tab] เดือนตุลาคม, พฤศจิกายน, มีนาคม ราคา 430 บาท/คน/คืน
>>รวมอาหารเช้า
เดือนธันวาคม, มกราคม, กุมภาพันธ์ ราคา 730 บาท/คน/คืน
>>อาหารเย็น + อาหารเช้า
เดือนเมษายน – กันยายน ราคา 150 บาท/คน/คืน
>>ไม่รวมอาหารเช้า
** พักได้ 47 คน / รับตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป
** บ้านทุกหลังมีโทรทัศน์และเครื่องอาบน้ำอุ่น
** บ้านทุกแบบให้เข้าพักตามจำนวนคนที่ระบุให้เท่านั้น [/tab]
[/tabs]
การเดินทางสู่ดอยอ่างขางสามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง
รถส่วนตัว :
เส้นที่1 สามารถเดินทางได้ด้วยรถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง (ทางหลวงหมายเลข 107) เดินทางเรื่อยมาจนถึงอำเภอเชียงดาวบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 79 จะพบทางแยก(เส้นทางหมายเลข 1ในแผนที่) ถ้าเลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกจะผ่าน ต.เมืองงาย บ้านอรุโณทัย บ้านหลวง เส้นทางจะค่อนข้างแคบแต่จะไม่ค่อยลาดชันเท่าใดนัก และเนื่องจากถนนเกือบตลอดทั้งสายจะไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ดังนั้นช่วงเวลาที่จะสัญจรโดยถนนสายนี้ควรจะเป็นช่วงเช้าหรือกลางวันน่าจะดีกว่าช่วงบ่ายไปแล้ว เพราะถ้าเกิดรถเสียหรือมีปัญหาขึ้นมาจะติดต่อขอความช่วยเหลือค่อนข้างลำบาก
เส้นที่2 หากยังไม่เลี้ยวซ้ายที่ทางแยกหมายเลข 1 ก็ขับรถตามถนนเรื่อยมาจนถึงหลักกิโลเมตรที่ 137 จะถึงเส้นทางหมายเลข 2 ตามที่แสดงในแผนที่ ซึ่งเส้นทางนี้จะเป็นสายหลักที่ใช้กันเป็นประจำ เมื่อมาถึงปากทางขึ้นดอยอ่างขางจะมีป้ายบอกด้านซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายแล้วขับรถตามถนนขึ้นมาเลย ทางเส้นนี้จะค่อนข้างลาดชันมาก จึงมีบริการเช่าเหมารถคิวสองแถวหน้าปากทางให้ขึ้นมาส่งได้ แต่หากตัดสินใจจะนำรถขึ้นมาเองก็ควรขับด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
รถโดยสารประจำทาง :
ในกรณีที่เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ให้ขึ้นรถสาย เชียงใหม่-ฝางที่ คิวรถช้างเผือกในตัวเมืองเชียงใหม่ มีทั้งรถตู้ และรถบัสคันใหญ่ และมาลงที่หน้าวัดหาญสำราญ(ตรงหลักกิโลเมตรที่ 137) มีบริการ รับ-ส่ง คิวรถสองแถว ซึ่งสามารถเหมารถต่อเพื่อขึ้นมาถึงดอยอ่างขางได้
หมายเหตุ : ใช้รถยนต์ได้ทุกประเภท (ควรเช็กสภาพเครื่องยนต์ก่อนขึ้นเขา และผู้ขับขี่ควรมีประสบการณ์ เพราะเส้นทางมีความชันมาก) หรือใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จุดจอด ณ ปากทางขึ้นดอยอ่างขาง
สถานที่ติดต่อ
• สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง บ้านคุ้ม หมู่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 50320 โทร. 0-5345-0107-9
ขอบคุณข้อมูล www.angkhangstation.com