นับเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ ที่พญามังรายดำริให้จัดสร้างขึ้น จากนั้นจึงมีการน้ำพระเสตังคมณีหรือพระแก้วขาว และพระพุทธรูปปางปราบช้างนาฬาคีรีมาประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้ ที่สำคัญคือจดีย์นี้มีความแตกต่างจากเจดีย์ที่วัดอื่นๆ อย่างมากเพราะเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลียมและมีปูนปั้นเป็นข้าง 16 เชือกล้อมรอบ
วัดเชียงมั่น เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่ มีมาตั้งแต่สมัยแรกสร้างเมือง เมื่อ พ.ศ. 1839 พญามังราย ได้ทรงยกพระตำหนักเชียงมั่น ถวายเป็นพระอารามให้ชื่อว่า วัดเชียงมั่น และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ช้างล้อม บริเวณพื้นที่หอประทับของพระองค์พระวิหารของวัดเชียงมั่นมี 2วิหาร คือ
วิหารใหญ่ที่สร้างในสมัยปัจจุบัน ระหว่างช่องหน้าต่างของวิหารหลังนี้มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนสีทองบนพื้นแดงงามวิจิตร บอกเล่าเรื่องราวการสร้างเมืองและวัดของพญามังราย ทั้งเวียงกุมกาม และเมืองเชียงใหม่
วิหารเล็ก หรือ วิหารจตุรมุข เป็นวิหารเดิมของวัด ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว และพระศิลา ปางทรมานช้างนาฬาคีรี โดยพระแก้วขาวนั้น เป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ของพระนางจามเทวี แห่งแคว้นหริภุญชัย และเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่ ส่วนพระอุโบสถมีความสำคัญต่อชาวเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่งเพราะในโถงด้านหน้ามีศิลาจารึกวัดเชียงมั่น บันทึกเรื่องราวการสร้างเมืองเชียงใหม่และประวัติของวัดแห่งนี้ ตลอดจนการทำนุบำรุงวัดโดยพระราชวงศ์
สิ่งที่น่าสนใจในวัดวัดเชียงมั่น
1.วิหารหลวง
ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดถัดจากหอไตรรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนาด้านหน้าอุโบสถประดิษฐานศิลาจารึก หลักที่76 จารึกเมื่อปี พ.ศ. 2124 อุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นพร้อมกับวิหารและหอไตร กรมศิลปากรประกาศขึ้น ทะเบียนพร้อมกันกับเจดีย์ วิหาร และหอไตร
2. เจดีย์ช้างล้อม
เป็นเจดีย์รูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนาฐานช้างล้อม องค์เจดีย์ผสมสี่เหลี่ยมและทรงกลมเปิดทองจังโก สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1840ครั้งพญามังรายสถาปนาวัดเชียงมั่น และได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากผู้ครองนคเชียงใหม่สืบมา กรมศลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วเมื่อ พ.ศ. 2478
3.พระแก้วขาว
พระแก้วขาว หรือ พระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปที่นับถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองป้องกัน อันตรายและอำนวยความ สุขสวัสดิ์มงคลแก่ผู้ที่เคารพสักการะ
ภายในวิหารจตุรมุข พระแก้วขาวและพระศิลาอยู่หลังลูกกรง
5. ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น
ตั้งอยู่ที่โถงด้านหน้าของอุโบสถวัดเชียงมั่น เชียงใหม่ จารึกถึง พระนามของกษัตริย์สามพระองค์ คือ พญามังราย พญางำเมือง และพญาร่วง ( พ่อขุนรามคำแหง ) ว่าทั้งสามพระองค์ทรง ร่วมกันสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นการจารึก เกี่ยว กับการสร้างเมืองเชียงใหม่ และการสร้างวัดเชียงมั่น ตลอดจนการทำนุบำรุงวัดนี้จากกษัตริย์และพระราชวงศ์ นับเป็นหลักฐาน ทางประวัติศสาตร์ที่ทรงคุณค่า
ภายในวิหารจตุรมุข พระแก้วขาวและพระศิลาอยู่หลังลูกกรง
6.หอครูบาศีวิชัย วัดเชียงมั่น
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2505 ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบล้านนา เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่ง ล้านนาไทย
การเดินทางไปวัดเชียงมั่น
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
วัดเชียงมั่น อยู่บริเวณโซนประตูช้างเผือก ตั้งอยู่บริเวณถนนราชภาคินัย อำเภอเมือง หากมาจากประตูท่าแพคูเมืองด้านใน ขับเลยแจ่งศรีภูมิมาเจอแยกซ้ายใหญ่ ก่อนถึงประตูช้างเผือก ให้เลี้ยวซ้ายนิดเดียว วัดอยู่ขวามือติดถนน
2.โดยรถสาธารณะ
สามารถโบกรถสี่ล้อแดงที่ให้บริการรอบเมืองค่าโดยสารแล้วแต่ระยะทาง
เปิดเวลา 06.00-18.00 นม
สอบถามข้อมูล โทร.053-213170, 053-418225
ประวัติความเป็นมาของวัดเชียงมั่น
ที่ปรากฎในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และพงศาวดารโยนก คือ หลังจากที่พญางำเมือง พญาร่วง และพญามังราย ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่สำเร็จในปี พ.ศ.1839 แล้ว ทั้งสามพระองค์ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นตรงที่หอนอน บ้านเชียงมั่นซึ่งพญามังรายทรงสร้างเป็นที่ประทับชั่วคราว ในระหว่างที่ควบคุมการสร้างเมือง ใหม่โดยให้ชื่อที่ ประทับแห่งนั้นว่า “เวียงเล็ก” หรือ “เวียงเหล็ก” หมายถึง “ความมั่นคงแข็งแรง” ต่อมาเมื่อพญามังรายเสด็จแปร พระราชฐานไปยังพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานแห่งใหม่ซึ่งเรียกว่า “เวียงแก้ว” ซึ่งปัจจุบันคือเรือน จำกลาง เชียงใหม่ ทรงอุทิศตำหนักคุ้มหลวงเวียงเหล็ก ถวายแด่พระศาสนา โดยตั้งเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกและ พระราชทานนามอันเป็นมงคลว่า “วัด เชียงมั่น” อันหมายถึงบ้านเมืองที่มีความมั่นคง ทั้งนี้ ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น พุทธศักราช 1819 ได้จารึกไว้ว่า
(เสียงก้อง) “ศักราช 658 ปีรวายสัน เดือนวิสาขาออก 8 ค่ำ ขึ้น5 ไทยเมืองเปล้า ยามแตรรุ่งแล้ว สองลูก นาฑี ปลายสองบาทน้ำ ลัคคนาเสวยนวางค์ประหัส ในมีนยะราศี พญามังรายเจ้า พญางำเมือง พญาร่วง ทั้งสามพระองค์ ตั้งหอนอนในที่ไชยภูมิ ราชมณเฑียร ขุดคือก่อตรีบูรทั้งสี่ด้านและก่อเจติยะทัดที่นอนบ้านเชียงมั่น ในขณะยาม เดียวนั้น ที่นั้นลวดสร้างเป็นวัด หื้อทานแก่แก้วทั้งสามใส่ชื่อว่าวัดเชียงหมั้น ต่อบัดนี้ …”
จึงนับได้ว่า วัดเชียงมั่น เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ คือสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1839 จาก นั้นคาดว่าเจดีย์นี้ได้พังลงมาในสมัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ราชวงค์มังราย ลำดับที่ 10 ครองราชย์ ในปี พ.ศ.1985 – 2031 พระองค์จึงโปรดให้สร้างขึ้นใหม่ด้วยศิลาแลงในปี พ.ศ.2014
ต่อมาในปี พ.ศ.2094 เชียงใหม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า วัดเชียงมั่นจึงถูกทอดทิ้งให้ เป็นวัดร้าง ครั้นถึง พ.ศ.2101เจ้าฟ้ามังทรา หรือสมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช แห่งพม่า ทรงมีพระราชศรัทธาในพุทธศาสนา โปรดให้พระยาแสนหลวงสร้างเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมเสนาสนะกำแพง และประตูโขงขึ้น ที่วัดเชียงมั่น โดยมีพระมหาหินทาทิจจวังสะ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อถึงสมัยพระยา กาวิละครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.2324 – 2358 ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเชียงมั่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากที่วัดนี้ได้ตกอยู่ในสภาพวัดร้างในสมัยที่ทำสงครามกอบกู้เอกราช คืนมาจากพม่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2319 ต่อมาในสมัยของเจ้าอินทวโรรส พ.ศ.2440 – พ.ศ.2452พระพุทธศาสนาแบบธรรมยุกนิกายได้เข้ามา เผยแผ่ ในอาณาจักรล้านนา เจ้าอินทวโรสจึงได้นิมนต์พระธรรมยุตมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเชียงหมั้นเป็น ครั้งแรก และ ภายหลังได้ย้ายไปอยู่วัดหอธรรมและวัดเจดีย์หลวงตามลำดับ