ที่มาของนามแห่งวัดพันเตานันเพี้ยนมาจาก คำว่า พันเต้า ในภาษาล้านนา ซึ่งในภาคกลางคือคำว่า พันเท่า อันเป็นชื่อวัดที่เป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง เพราะมีความหมายคือการเพิ่มทวีคูณเป็นพันเท่า
จึงเป็นวัดที่ทั้งผู้คนต่างถิ่นและผู้คนในเชียงใหม่เองมักจะมา ทำบุญเอาเคล็ด เพื่อให้บุญนั้นทบทวีคูณเป็นพันเท่า ไม่ต่างจากการไปทำบุญที่วัดชัยมงคล หรือวัดอู่ทรายคำ
กระนั้นวัดแห่งนี้ยังมีสิ่งสำคัญอย่างมาก นั่นก็คือ หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศ ตัวเรือนทำด้วยไม้สักทั้งหลัง ที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์อุทิศถวายให้สร้างเป็นวิหาร
วัดพันเตาอยู่ติดกับวัดเจดีย์หลวงวิหาร เดิมเป็นหอคำหรือท้องพระโรงของพระเจ้ามโหตรประเทศ เป็นอาคารเครื่องไม้แบบพื้นเมือง ซุ้มประตูประดับไม้แกะสลักรูปนกยูงอันเป็นสัญลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือดูวิจิตรสง่างาม ในอดีตบริวณนี้ได้ใช้เป็นที่ตั้งเตาหลอมในการหล่อพระอัฏฐารส (เตาหลอมพระพุทธรูปยืน) ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารวัดเจดีย์หลวง เนื่องจากองค์พระขนาดใหญ่ และต้องหลอมพร้อมกันให้เสร็จจึงได้ใช้เตาเป็นจำนวนนับพัน เป็นที่มาของชื่อ วัดพันเตา ปัจจุบันวัดพันเตามีความสำคัญมากจนได้เป็นหัวหน้าหมวด อุโบสถแม้แต่วัดเจดีย์หลวงซึ่งเป็นวัดใหญ่ก็ยังขึ้นกับอุโบสถวัดพันเตาด้วย จุดเด่นยังอยู่ที่รั้วประตูขนาดเล็ก ขนาดเพียงหนึ่งคนเดินเท่านั้น แต่กลับมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มาถ่ายรูป ณ ซุ้มประตูแห่งนี้
ที่ตั้งวัดพันเตา
ถนนพระปกเกล้า ต.พระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในบริเวณถนนคนเดินวันอาทิตย์ด้วยครับ
เปิดทุกวัน เวลา 06.00-18.00น.
สอบถามข้อมูล โทร.053-814689