หน้าแรกที่เที่ยววัดพระบาทปางแฟน (ครูบาโต)

วัดพระบาทปางแฟน (ครูบาโต)

วัดปางแฟน (5)

วัดพระบาทปางแฟน ชื่อนี้ผมได้ยินมานาน ได้แต่ขับรถผ่านไปมาเพราะอยู่ระหว่างเส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย วันนี้จึงตั้งใจเข้าไปเยี่ยมชม และสักการะครูบาโตที่มีชื่อเสียง ให้จิตใจเบิกบานสักครั้งครับ พอขับรถเข้ามาในวัด ก็พบตัวมอมคู่ ตะหง่านรอรับตรงบันไดทางขึ้นเลยครับ พ้นบันไดมาก็จะพบกับลานกว้างขวามือก็จะเป็นเจดีย์พุทธคยาจำลอง ภายในมีรอยพระพุทธบาท ตรงกลางลานก็จะมีต้นโพธิ์ รอบๆ เป็นสิ่งก่อสร้างภายในวัดทั่วไป มีวิหาร โรงทาน และหากเดินผ่านลานกว้างนี้ไปยังด้านหลังลงบันไดไปอีกนิดก็จะเป็นกุฎิของครูบาโตนั่นเองครับ

วัดปางแฟน (2)ัวมอมสีสวยสง่าตรงบันไดขึ้นวัด

วัดปางแฟน (3) ลานกว้างตรงกลางมีต้นโพธิ์ ด้านขวาสีเหลืองๆ เป็นรอยพระพุทธบาท

วัดปางแฟน (27) วัดปางแฟน (12)

พอเดินดูรอบๆ ก็ได้พบกับป้ายขนาดใหญ่มีรูปดารา และบุคคลสำคัญของประเทศ มากมายที่เคยได้ร่วมทำบุญกับครูบาโต ซึ่งผมก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าท่านจะมีชื่อเสียงมากขนาดนี้ รู้สึกปลื้มที่ได้มาครับ 

วัดปางแฟน (17) วัดปางแฟน (16) วัดปางแฟน (14)วัดปางแฟน (15)

ที่ชื่อวัดพระบาทปางแฟนนั้น มีความเกี่ยวข้องกับรอยพระบาทอย่างไร?  แม่อุ้ยผู้สูงวัยได้เล่าว่า สมัยก่อนมักจะเห็นดวงไฟประหลาดเป็นแสงสีเขียว สีขาว ลอยมาจากดอยม่อนธาตุ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดพระบาทปางแฟนเท่าใด ดวงไฟมักลอยมาหาย ณ บริเวณอารามแห่งนี้ ขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดล่วงรู้ว่ามีสิ่งสำคัญประดิษฐ์อยู่ ชาวบ้าน จะเคยเห็นคุ้นเคยแต่เพียงว่าอารามแห่งนี้มีก้อนหินก้อนหนึ่งใหญ่มาก มีรอยเท้าติดอยู่บนแท่นหินขนาดเท่าร้อยเท้าคนหนึ่งคู่ แต่ไม่ลึกมาก กระทั่งปี พ.ศ. 2529 พระครูมงคลศีลวงศ์ เจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ดในขณะนั้น ได้มาสำรวจสถานที่ เมื่อพระครูมงคลได้มาตรวจสอบรอยเท้าที่ปรากฏอยู่นั้น จึงทราบความจริงว่าเป็นรอยพระพุทธบาทอย่างแน่นอน ท่านเกรงว่ารอยพระบาทจะถูกเหยียบย่ำ และทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงได้นำคณะร่างทรงในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมกับพระครูมงคลสร้างเจดีย์ครอบรอยพระบาทแห่งนี้ไว้ เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา โดยได้จำลองแบบ มาจากเจดีย์พุทธคยา จากประเทศอินเดีย ส่วนรอยพระบาทนั้น เพื่อเบนความสนใจของผู้ที่ประสงค์ร้ายจะมาทำลายรอยพระบาท จึงได้ทำใหม่ขึ้นมาอีก 4 รอย ตามที่ได้เห็นปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

เจดีย์พุทธคยา ภายในมีพระพุทธบาทจำลอง

วัดปางแฟน (7) วัดปางแฟน (9) วัดปางแฟน (13)วัดปางแฟน (11)

วัดพระบาทปางแฟน เริ่มแรกเดิมทีได้ก่อตั้งขึ้นให้เป็นที่พักสงฆ์ พร้อมๆ กับการกำเนิดของหมู่บ้านปางแฟนเมื่อปี พ.ศ. 2442 สำหรับบริเวณพื้นที่แห่งนี้แต่เดิมเข้าใจว่าเป็นเมืองโบราณ เนื่องจากได้มีการค้นพบซากอิฐเจดีย์และของใช้โบราณต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการกล่าวขานเรื่องราวในอดีตเมื่อกว่า 700 ปีก่อนว่า เมื่อครั้งพญามังรายมหาราชได้เสด็จมาเพื่อรวบรวมแว่นแคว้นน้อยใหญ่ให้เป็นปึกแผ่น ขณะพระองค์เสด็จมาถึงสถานที่แห่งนี้ได้หยุดพักตั้งค่ายหลวง พระองค์ได้ทอดพระเนตรพบกับรอยพระพุทธบาท เข้าใจว่าเป็นรอยพระบาทพระพุทธเจ้า พระองค์ก็เกิดศรัทธา จึงได้นำสมบัติส่วนพระองค์ฝังบูชารอยพระบาทที่ปรากฏอยู่ โดยบรรจุสมบัติไว้ใต้รอยพระบาท ซึ่งเป็นอุโมงค์แล้วปิดอุโมงค์ด้วยก้อนหิน จากนั้นจึงโปรดให้สร้างอาราม ให้พระเณรจำพรรษา และโปรดให้พระสนมฝาแฝดพระนามว่า “สร้อยสุนีย์-ศรีสุคณฑา” ธิดาเจ้าเมืองเชลียง เป็นผู้บำรุงและดูแลพระอารามแห่งนี้สืบไป ฉะนั้นจึงเป็นที่สังเกตเห็นได้ว่าบริเวณประตูทางขึ้นวัดพระบาทปางแฟน ชาวบ้านได้สร้างศาลเอาไว้เรียก “ศาลพระแม่สองนาง” เชื่อกันว่าพระนางทั้งสอง จะปกป้องรักษาสมบัติของพญามังรายมหาราชและวัดแห่งนี้

จากเรื่องราวคำบอกเล่าดังกล่าว ทำให้คาดคะเนได้ว่าวัดพระบาทปางแฟนแห่งนี้เดิมทีสร้างขึ้นในสมัยพญามังรายมหาราช แต่ต่อมากาลเวลาผ่านทำให้วัดได้ร้างลงด้วย และขาดผู้อุปถัมภ์เนื่องมาจากวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างไกลจากความเจริญ การคมนาคมในสมัยก่อนเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนกระทั้งวัดพระบาทปางแฟนได้ถูกบูรณะขึ้นมาใหม่ในสมัยของครูบาศิริชัย มหาเถร (ไม่ใช่ครูบาศรีวิชัย) โดยแม่ชีสองท่านซึ่งบวชเป็นชีมาตั้งแต่อายุ 12 ปี มีความเคร่งครัดในพระศาสนา ได้เดินทางมาถึงบ้านปางแฟน แม่ชีทั้งสองคือ แม่ชีเกณฑ์ และมีชีน้อย ได้มาฝึกสอนวิชาชีพให้ชาวบ้าน และร่วมกับชาวบ้านสร้างวิหารหลังแรก โดยแม่ชีมักจะบอกกับชาวบ้านว่า สถานที่แห่งนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก เพราะมักจะได้ยินเสียงปี่พาทย์มโหรีดังในวันพระเสมอ

วัดปางแฟน (1) วัดปางแฟน (18)

เมื่อแม่ชีน้อย แม่ชีเกณฑ์ ได้ร่วมบูรณะวัดพระบาทปางแฟนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้ลากลับภูมิลำเนาเดิม ส่วนชาวบ้านได้เสาะหา พระผู้ปฏิบัติดี ประพฤติชอบ เพื่อจะได้มาจำพรรษา ขณะนั้นชื่อเสียงของพระอาจารย์ สำเร็จ คุตตาโภ จากจังหวัดลำปาง เป็นที่กล่าวขาน ของประชาชนในเขตภาคเหนือ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ให้มาจำพรรษาปกครองวัดแห่งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จนถึงปี พ.ศ.2538 ท่านก็ลาสิกขา จากนั้นได้พระอาจารย์ตี๋ สิริปุญโญ มาครองวัดตั้งแต่ ปี พ.ศ.2538 แต่ก็ครองวัดได้ไม่นานก็ถึงแก่มรณภาพในปี พ.ศ. 2546เมื่อทางวัดพระบาทปางแฟนขาดพระภิกษุไปอีกครั้ง ทำให้ชาวบ้านรู้สึกหวั่นใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากวัดแห่งนี้เชื่อกันว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เร้นลับ หากพระสงฆ์บารมีไม่มากพอ ก็ไม่อาจปกครองวัดแห่งนี้ได้นาน กระทั้งได้ท่านพระครูปลัดกฤต ฐิตวิริโย หรือครูบาโต จากเมืองแพร่ มาปกครองและพัฒนาวัดพระบาทปางแฟน ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2546 จนถึงปัจจุบัน

จากบันทึกของวัดทำให้ทราบว่ามีพระสงฆ์ปกครองวัดดังนี้

  • ครูบาศิริชัย มหาเถร ปกครองวัดระหว่างปี พ.ศ. 2442 – พ.ศ. 2445
  • ครูบาสิทธิเถร ปกครองวัดระหว่างปี พ.ศ. 2445 – พ.ศ. 2447
  • ครูบาพรหมทอง ปกครองวัดระหว่างปี พ.ศ. 2447 – พ.ศ. 2500
  • พระอาจารย์ สำเร็จ คุตตาโภ ปกครองวัดระหว่างปี พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2538
  • พระอาจารย์ ตี๋ สิริปุญโญ ปกครองวัดระหว่างปี พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2542
  • ท่านพระครูปลัดกฤต ฐิตวิริโย ปกครองวัดระหว่างปี พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน

วัดปางแฟน (20) วัดปางแฟน (21) วัดปางแฟน (24) วัดปางแฟน (25) วัดปางแฟน (26)

ที่ตั้งและการเดินทาง

วัดพระพุทธบาทปางแฟน ม.5 ต.ป่าเมี่ยง  อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

วัดพระพุทธบาทปางแฟน อยู่ริมถนนเส้น 118 ใกล้กับดอยนางแก้ว  อีกประมาณ33 กิโลเมตร ก่อนจะเข้าอำเภอเวียงป่าเป้า หากขับมาจากเชียงใหม่ เลยอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ มาได้พักนึง จะเริ่มเห็นป้ายขาหมูภูเก็ต (อยู่ใกล้กับวัด) ไปอีกนิดทางเข้าวัดพระบาทปางแฟนจะอยู่ซ้ายมือ ก่อนเข้าโค้งอันตราย

วัดปางแฟน (28) วัดปางแฟน (29)
ถนนเข้าวัดพระบาทปางแฟน     ป้ายทางเข้าวัด

ขอบคุณข้อมูล Traveller Freedom


ติดต่อเช่ารถพร้อมคนขับ/ซื้อสินค้า/โฆษณาข่าวสาร
Add friend ที่ @topcm
เพิ่มเพื่อน
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisment -