คำขวัญอำเภอเวียงแหง พระธาตุแสนไหเป็นศรี ประเพณีหลายเผ่า ชมทิวเขาสุดสยาม งามล้ำค่าฟ้าเวียงแหง
วิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวบ้านในเวียงแหง เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยว ไปใช้ชีวิตที่นั้น เพราะว่าหาที่แบบนี้ได้อยากในเมืองไทย ที่อำเภอเวียงแหงส่วนมากจะเป็นคนไทใหญ่ มีลีซอบ้างบางส่วน เวียงแหงทางเหนือติดรัฐฉานของพม่า ทางใต้ติดอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเส้นทางที่นักท่องเที่ยวแนวชอบขับ 4WD จากเวียงแหงมาปายด้วย แต่ต้องมาหน้าแล้งเท่านั้น
อำเภอเวียงแหงมีชื่อเดิมว่า “เมืองแหง” มีความสำคัญในฐานะเมืองหน้าด่านตามเส้นทาง
[tie_list type=”starlist”]
- เป็นเส้นทางเดินทัพของพระเจ้าบุเรงนองที่ทรงกรีธาทัพทหาร 90,000 นาย มายึดเมืองเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2101
- จากตำนานสมเด็จพระนเรศวร ช่วงสุดท้ายของท่านที่วัดพระธาตุดอยเวา แม่สาย ว่าพระองค์ท่านเดินทัพผ่านเมืองแหงเพื่อจะไปตีกรุงอังวะที่ประเทศพม่าแต่เกิดทรงประชวรก่อนและสิ้นพระชนม์ที่เมืองหาง (ปัจจุบันอยู่ในรัฐฉานประเทศพม่า) บางตำนานก็ว่าสิ้นประชนม์ที่เมืองแหง
- เป็นเส้นทางเดินทัพของ 19 เจ้าฟ้าไทใหญ่ ทหาร 60,000 นาย ที่พระเจ้าบุเรงนองส่งมาช่วยเมืองพิษณุโลกตามคำขอของขุนพิเรนทรเทพ เนื่องจากทางล้านช้างยกทัพมาประชิดเมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ. 2108
- เป็นเส้นทางเดินทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงยกทัพทหาร 100,000 นาย มุ่งไปยึดเมืองนายกลับคืน และตรงไปทำลายพระเจ้ากรุงอังวะในปี พ.ศ. 2148
- เป็นเส้นทางหลบหนีของเนเมียวสีหบดี ขุนศึกพม่าผู้พิชิต 3 อาณาจักร คือ ล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา หลังจากถูกกองทัพพระเจ้าตากขับไล่ออกจากเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2317
- เป็นเส้นทางรับเจ้าพม่ามายังเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ปี พ.ศ. 2408
[/tie_list]
อ.เวียงแหง เดิมเป็นตำบลขึ้นอยู่กับ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ สภาพท้องที่กันดาร และติดกับชายแดนประเทศพม่า มีสภาพเป็นเมืองปิด การคมนาคม ยากลำบากทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการปกครอง พัฒนา และการป้องกันรักษาความสงบ จึงได้ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเวียงแหง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2524 ประกอบด้วย 3 ตำบล 12 หมู่บ้าน จนกระทั่งได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งเป็นอำเภอเวียงแหง เมื่อวันที่ 4 พ.ย.2536“เวียงแหง” เป็นเมือง ๆ หนึ่งในอดีต มีตำนานเกี่ยวกันกับลำน้ำแม่แตงโดยกล่าวกันว่าในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์องค์อุปัฎฐากเสด็จจาริกและสั่งสอนโปรดสรรพสัตว์ จนบรรลุถึงเมืองเมืองหนึ่ง พระองค์ได้ประทับแรม ณ ยอดเขาเตี้ย ๆ ลูกหนึ่ง พอรุ่งขึ้นวันใหม่ มีพวกชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง (ยาง) บ้านแม่ยางกุ่ม ได้นำข้าวน้ำโภชนาอาหาร พร้อมกับแตงลูกหนึ่งถวายพระพุทธองค์ พระอานนท์ก็นำแตงลูกนั้นไปปอกเปลือกและผ่าเป็นซึก ๆ แล้วทิ้งเปลือกแตงโมลงในลำธาร ซึ่งต่อมาลำธารแห่งนี้ก็ปรากฏชื่อว่า “ลำน้ำแม่แตง” ขณะที่พระพุทธองค์ได้เสวยแตงที่พระอานนท์น้ำไปถวายนั้น พระทนต์ (ฟัน) ก็กระเทาะออกมา (คำว่ากระเทาะนี้ภาษาท้องถิ่นใช้คำว่าแหง) ด้วยเหตุนี้เมืองแห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า “เมืองแหง” เป็นเมืองหน้าด่านของเมือง เชียงใหม่ พ่อเหงซาววา เป็นพ่อเมืองคนสุดท้าย มีอายุอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2472 ปัจจุบันยังปรากฏคูเมืองเก่ารูปเมล็ดถั่ว ยาวกว่า 2 กิโลเมตรเศษ
ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ | หมู่ 3 ถนนร่วมใจ ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ |
รหัสไปรษณีย์ | 50350 |
หมายเลขโทรศัพท์ | 053-477061 |
หมายเลขโทรสาร | 053-477061 |
เว็บไซต์อำเภอ | www.wianghaeng.com |
โรงพยาบาลเวียงแหง | 053-477011-2 |
สภ.อ.เวียงแหง | 053-477066 |
ตำบลในอำเภอเวียงแหง
สถานที่สำคัญในอำเภอเวียงแหง
- ถ้ำโบราณ
- บ้านเปียงหลวง
- พระบรมธาตุแสนไห
- ไร่ช้างขาว
- วัดฟ้าเวียงอินทร์
- โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยคำ
วัดในอำเภอเวียงแหง
ตำบลเปียงหลวง
- วัดเปียงหลวง
- วัดฟ้าเวียงอินทร์
- วัดมกายอน
- วัดม่วงเครือ
- วัดห้วยไคร้
- วัดอุทัยธาราม
ตำบลเมืองแหง
- วัดกองลม
- วัดกำแพงใหม่
- วัดแม่หาด
- วัดเวียงแหง
- วัดห้วยหก
ตำบลแสนไห
- วัดพระธาตุแสนไห
- วัดม่วงป๊อก
- วัดสามภู
โรงเรียนในอำเภอเวียงแหง
- โรงเรียนบ้านห้วยไคร้
- โรงเรียนบ้านจอง
- โรงเรียนบ้านแม่หาด
การเดินทางไปอำเภอเวียงแหง
การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 และแยกซ้ายที่เมืองงายเข้าทางหลวง 1322 ระยะทาง 72 กิโลเมตร