คำขวัญอำเภอเชียงดาว เชียงดาวชายแดน ถ้ำสวยดอยสูง พระสถูปเมืองงาย กำเนิดสายแม่ปิง
อำเภอเชียงดาวแหล่งกำเนิดน้ำปิง แม่น้ำสายสำคัญในภาคเหนือ พื้นทีส่วนใหญ่เป็นป่าเขา จึงทำให้มีที่เที่ยวแนวๆ นี้มาก อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25 องศา มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 10-19 องศา ส่วนอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ประมาณ 39 องศา เมื่อถึงฤดูหนาวเมื่อไรก็ต้องไปที่นี้กันก็คือ เทือกเขาดอยหลวงเชียงดาว เพราะสามารถดูพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า รับลมหนาวที่หนาวถึงใจไม่แพ้ที่อื่นๆ ชมม่านหมอกบนเทือกเขาหลวงเชียงดาวสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้เสมอ เขาหลวงเชียงดาวนั้นสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทยครับ
แล้วอย่าลืมแวะถ้ำเชียงดาวด้วยนะครับ ถ้ำเชียงดาวตั้งอยู่เชิงดอยหลวงเชียงดาว มีประวัติอยู่คู่เมืองมาช้านาน ภายในถ้ำต้องถือตะเกียงเดิน ชม บางจุดมีไฟส่องสว่าง เป็นถ้ำที่ลึกพอสมควร ลองไปชมด้วยตนเองครับ
ประวัติอำเภอเชียงดาว
ประวัติของอำเภอเชียงดาว หรือเมืองเชียงดาว ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนในประวัติศาสตร์ว่าสร้างมาในยุคใด สมัยใด มีเพียงตามที่ได้กล่าวพาดพิงไว้ในพงศาวดารโยนก ว่าเป็นเมืองที่พระเจ้าเม็งรายมหาวีรกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาไทย ซึ่งเสวยราชสมบัติในนครเชียงใหม่ ได้ยกเมืองเชียงดาวให้เป็นบำเหน็จความชอบในราชการสงครามแก่เจ้าไชยสงคราม ราชโอรสองค์ที่ 2 เมื่อประมาณ 600 ปีเศษมาแล้วว่า พระเจ้าเม็งรายทราบข่าวจากคนสอดแนมที่สอดแนมเมืองหริภุญชัยว่า พญาเบิกยกทัพจากเขลางค์นครเพื่อตีเมืองหริภุญชัย และเมืองกุมกาม พระเจ้าเม็งรายจึงรับสั่งให้มีการสมโภชพระราชโอรส 7 วัน และสถาปนาเป็นเจ้าไชยสงคราม พระราชทานเครื่องอุปโภค บริโภค อย่างมหาอุปราชให้ไปครองเมืองเชียงราย และยกเมืองเชียงดาวให้เป็นบำเหน็จอีกเมืองหนึ่ง และ “ เจ้าไชยสงครามกับขุนเมืองทั้งหลายต่างทูลเจ้าพระยาเม็งรายกลับคืนไปรักษาเมืองแห่งตน ครั้นเจ้าไชยสงครามกลับไปถึงเมืองเชียงรายแล้ว จึงแต่งขุนช่างทั้งหลายมาแผ้วถางเมืองเชียงดาว สร้างคุ้มวังที่ประทับพร้อมด้วย โรงพล โรงช้าง โรงม้า ฉางข้าว ฉางเหลือบริบูรณ์ทุกอัน ครั้งรุ่งปีก็เสด็จมาประทับอยู่เมืองเชียงดาว ตั้งแต่เดือนห้าจนถึงเดือนแปด จึงกลับไปเมืองเชียงรายเสมอทุกปี ยามเองเจ้าไชยสงครามมาพักในเมืองเชียงดาวคราวใด ก็เสด็จไปเฝ้าพระราชบิดายังนครพิงค์เชียงใหม่ ปีละครั้งทุกปี ” ในระยะตั้งแต่เดือน 9 ถึงเดือน 4 เจ้าไชยสงครามไปพักอยู่เมืองเชียงราย ทางเมืองเชียงดาว ก็ได้มอบให้ภรรยาคนหนึ่งอยู่ควบคุมดูแลแทน ซึ่งในเวลาต่อมา ภรรยาผู้นี้ของพระเจ้าไชยสงครามได้มีเรื่องกับขุนเครื่องราชโอรสองค์ที่ 3 ของเจ้าพระยาเม็งราย เจ้าพระยา เม็งรายจึงเนรเทศไปไว้ที่แคว้นไทยใหญ่ ส่วนทางด้านพวกชาวไทยใหญ่ก็สร้างเมืองถวายประทับเรียกว่า “เมืองนาย”
พงศาวดารกล่าวถึง เมืองเชียงดาวอีกว่า ในสมัยพระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่ายกกองทัพเข้ามาตั้งอยู่ใน เชียงดาว รอพบทูตจากพระเจ้ามกุฎกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ที่ส่งไปเจรจาความเมืองกัน ซึ่งผลสุดท้ายพม่าก็เข้าปกครองอาณาจักรล้านนาไทย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2109 และจากนั้นก็กล่าวถึงเมืองเชียงดาวอีกในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้กรีฑาทัพมาชุมนุมพลที่เมืองเชียงใหม่แล้วเดินทัพจากเมืองเชียงใหม่เข้าตีเมืองอังวะ ก่อนออกจากราชอาณาเขตได้ทรงยั้งทัพที่บ้านเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแบ่งทัพออกเป็น 2 ทัพ คือ ทัพหลวงทรงคุมพลด้วยองค์เอง ออกไปตั้งที่เมืองหางแล้วทรงเสด็จสวรรคตที่เมืองหาง อีกทัพทรงโปรดเกล้าให้สมเด็จพระเจ้าเอกาทศรถคุมทัพไปทางเมืองฝางเข้าสู่เขตไทยใหญ่
ในพงศาวดารกล่าวถึงเมืองเชียงดาวเป็นครั้งราวแต่ระยะเวลาห่างกันมาก ในช่วงระยะเวลาที่ห่างกันมาก ๆ นี้ทำให้เราไม่สามารถทราบได้ว่ามีใครมาเป็นเจ้าเมืองเชียงดาวบ้างต่อจากเจ้าไชยสงคราม แต่ในตำนานถ้ำหลวงเชียงดาวกล่าวว่า ผู้ครองเมืองเชียงดาวมีนามว่า อนันทราชา เป็นผู้มีความเคารพเลื่อมใสถ้ำหลวงอันศักดิ์สิทธิ์เป็นคนแรก แต่ไม่ได้ก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์ใด ๆ ไว้จึงทำให้ไม่มีหลักฐานว่า อนันทราชาผู้นี้ครองเมืองเชียงดาว ในปี พ.ศ. ใด
จากเรื่องราวที่พอจะสืบค้นได้นี้เราพอสรุปได้ว่า เมืองเชียงดาวเป็นเมืองเก่าแก่โบราณเมืองหนึ่ง มีอายุอย่างน้อยที่สุด ประมาณ 706 ปี นับถึง พ.ศ. 2546 นี้ และในช่วงเวลาดังกล่าวนับร้อย ๆ ปีนี้ เมืองเชียงดาวก็คงประสบภัยสงคราม ทำให้เป็นเมืองร้างไปหลายครั้งและอาจก่อตั้งขึ้นมาอีกเป็นหลายครั้ง เหมือนกับเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองอื่น ๆ จนกระทั่งประมาณ 100 ปี มานี้เอง ซึ่งตรงกับราชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในสมัยนั้นเป็นสมัยปฏิรูปการปกครองหัวเมืองทั้งฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ โดยทรงจัดให้มีการปกครองในหัวเมืองรอบนอกแบบมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งประมาณ พ.ศ. 2442 – 2476 ส่วนกลางมีแบบการปกครองตามอย่างอารยะประเทศ คือตั้งเป็นกระทรวงกลาโหม โดยเลิกล้มสมุหนายก สมุหกลาโหมเสีย หัวเมืองรอบนอกหลายๆ เมืองจัดตั้งเป็นมณฑล เมืองเชียงใหม่อยู่ในมณฑลพายัพ แต่ตำแหน่งเข้าเมืองโดยสืบตระกูลกันมา แต่เจ้าผู้ครองนครแต่เดิมนั้นยังมีอยู่ แต่ถูกลดอำนาจบทบาทการปกครองไป โดยทางรัฐบาลกลางส่งข้าหลวงประจำเมืองมาดูแลปกครอง มีข้าราชการตำแหน่งต่าง ๆ มาเป็นผู้ช่วยข้าหลวง ซึ่งเรียกว่า คณะกรรมการการเมืองและได้รับพระราชทานเงินเดือนจากป่าไม้ การค้าขายก็งดไป แต่มีการเก็บภาษีส่งกระทรวงที่กรุงเทพฯ และรัฐบาลก็จัดให้มีเงินเดือน เช่น ข้าราชการแทน “ ครั้นต่อมาจนสมัยรัชกาลที่ 7 ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 เป็นต้นมาตำแหน่งเจ้าเมืองใดว่างลงก็ไม่ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งอีกเจ้าเมืองใดยังมีชีวิตอยู่ก็โปรดพระราชทานเงินเดือนเลี้ยงชีพต่อไป ”
ครั้นหลัง ปี พ.ศ. 2475 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครอง หัวเมืองขึ้นโดยมีเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย การจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลก็เลิกไป แต่จัดให้มีการบริหารราชการส่วนภูมิภาคแบ่งเป็น จังหวัด อำเภอ ตำแหน่งผู้ปกครองอำเภอแต่เดิมเป็นตำแหน่งนายแขวง ก็เปลี่ยนมาเป็นตำแหน่งนายอำเภอ เมืองเชียงดาวอยู่ในมณฑลพายัพนายแขวงของอำเภอเชียงดาวซึ่งเป็นนายอำเภอคนแรกในปี พ.ศ. 2452 ก็คือ เจ้าราชบุตร ณ เชียงใหม่ (คือบุตรคนโตของเจ้าเมืองเชียงดาวคนก่อน ไม่ใช่เจ้าราชบุตรเมืองเชียงใหม่)ในสมัยที่เมืองต่าง ๆ มีเจ้าเมืองปกครอง บุตรชายคนโตมักได้ตำแหน่งเจ้าราชบุตร นอกนั้นจะมีตำแหน่งเจ้าราชวงศ์ , เจ้าราชสัมพันธ์ , เจ้าภาคิไนย ถ้าเป็นเมืองใหญ่ อันเป็นราชธานีของอาณาจักร ซึ่งพระยามหากษัตริย์ปกครองนั้น ผู้จะสืบต่อราชสมบัติมักจะได้เป็นเจ้าอุปราช
เมืองเชียงดาวตั้งอยู่ที่ใด ยังไม่มีใครกล้ายืนยันได้ว่า บริเวณเมืองเก่าเชียงดาวตั้งอยู่ที่ใด เพราะไม่มีใครสนใจศึกษาค้นคว้ามาก่อนทั้งนี้เพราะเมืองเชียงดาวเป็นหัวเมืองเล็กขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่ ไม่ใช่เป็นเมืองราชธานีแห่งแคว้นอย่างไรก็ตาม มีซากเมืองเก่าอยู่แห่งหนึ่งในท้องที่ตำบลเชียงดาวปัจจุบัน นั่นคือ บริเวณที่เรียกว่า คือสองชั้น (คูสองชั้น) อยู่ทางทิศตะวันตกของถนนโชตนา สายฝาง-เชียงใหม่ ติดกับหมู่บ้านดงเทวีปัจจุบันนี้ พื้นที่ซากเวียงเก่านี้ ชาวบ้านก่อน ๆ เรียกกันว่า เวียงฮ่อ ความจริงแล้วในอาณาจักรคนไทยย่อมไม่มีชนชาติอื่นใดมาตั้งบ้านเมืองเป็นอิสระเอกเทศได้ และอีกประการหนึ่ง เวียงเก่าที่ เรียกว่า เวียงฮ่อ มีอยู่หลายที่เช่นที่อำเภอแม่อาย และในท้องที่จังหวัดเชียงราย และถ้าชื่อเวียงฮ่อ นี้เป็นชื่อที่ถูกต้อง ก็ต้องเป็นชื่อเรียกตามเหตุการณ์เกิดสงคราม เช่นเดียวกับคำว่า เวียงสุทโธ ในท้องที่อำเภอฝาง คือ ค่ายพักทหารพม่า คราวพระเจ้าสุทโธธรรมราชา กษัตริย์พม่ายกทัพมาตีเมืองฝาง และเมืองเชียงใหม่ประมาณปี พ.ศ. 2175 เนินที่ตั้งหน่วยงานทัพพม่านั้นผู้คนเลยเรียก เวียงสุทโธ มาจนทุกวันนี้ ความจริงแล้วไม่มีลักษณะเป็นซากเวียงเก่าเลย ไม่มีคูเหมือนกับซากเวียงเก่า หมู่บ้านดงเทวีเลย ตรงกันข้ามซากเวียงเก่าหมู่บ้านดงเทวีนี้ เป็นลักษณะของตัวเวียงหรือเมืองเก่าจริง ๆ เพราะมีคูเมืองแบบเมืองเชียงใหม่ ดังนั้น ตรงบริเวณนี้น่าจะเป็นเมืองเชียงดาวเก่ามากกว่า
ที่หมู่บ้านดงเทวี มีวัดร้างที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ที่ชื่อ “ วัดใจ(ดงเทวี) ” เป็นวัดเก่าแก่โบราณก้อนอิฐที่ใช้ก่อกำแพงวัดโต และหนามากแข็งแกร่งกว่าอิฐดินเผาในปัจจุบัน ซากเจดีย์มีลักษณะเป็นพูนดินทรงกลม โดยเฉพาะปล้องไฉนยอดเจดีย์ที่หักลงมามีลวดลายปูนปั้นพอเห็นได้เป็นกลีบบัว มีลักษณะคล้ายเจดีย์ร้างหลายแห่งที่มีอายุประมาณ 600 – 700 ปี แต่วัดร้างนี้อยู่นอกคูเมืองออกมา
เหตุใดผู้บูรณปฏิสังขรจึงให้ชื่อ “ วัดใจ (ดงเทวี) ” เข้าใจว่าท่านผู้นี้ต้องมีความรู้ในเรื่องเมืองเชียงดาวเก่าพอสมควร ถ้าหากว่าเป็นการตั้งชื่อโดยอาศัยชื่อพระยาไชยสงครามผู้มาปกครองเมืองเชียงดาว ดังกล่าวแล้ว ก็น่าจะเขียน “ วัดไชย ” ไม่ใช่ “ วัดใจ ” จึงจะถูกต้องและเป็นการถวายพระเกียรติแก่พระยาไชยสงคราม หรือมิฉะนั้นอาจด้วยเหตุผลอันที่ถูกต้องกว่าการสันนิษฐานนี้
ลักษณะเวียงสองชั้น(คูน้ำสองชั้น) แห่งนี้มีลักษณะพื้นที่ราบกว้างขวางประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร ถ้าเรายืนอยู่ในเวียงเก่านี้จะมองเห็นดอยหลวงสูงเด่นตระหง่านชัดเจน ด้านหลังเวียงถ้ามองด้านตะวันออกจะเห็นพื้นที่ลาดเอียงลงไปกว้างขวาง และวัดเก่าที่เรียวกว่าวัดใจ(ดงเทวี) ที่ตั้งอยู่นอกเมือง มีกำแพงเมืองลักษณะคันดินพูนขึ้นสูงเป็นสองชั้นรอบตัวเมือง โดยคันดินที่เป็นกำแพงชั้นในสูงกว่าชั้นนอก คูระหว่างกำแพงลึกกว่าคูที่ตั้งอยู่หน้ากำแพง มูลดินชั้นนอก แต่เท่าที่ได้ไปเดินดูโดยไม่ละเอียดนักเป็นกำแพงมูลดินสูงขึ้น ไม่มีซากอิฐผสม จึงเป็นลักษณะตัวเมืองเก่าแก่โบราณที่เป็นเมืองเล็กไม่ใช่เมืองใหญ่ตัวเมืองลักษณะสี่เหลี่ยม แต่แปลกที่ไม่มีประตูเมืองทางคนเดิน เข้าออกตัวเมืองเก่า ในปัจจุบันนี้เป็นทางที่ชาวบ้านเข้าไปบุกเบิกทำไร่ ทำสวน โดยขุดเจาะกำแพงดินเข้าไปเองในไม่กี่ปีนี้ อย่างไรก็ตามกำแพงดินสองชั้นนี้ มีที่เจ้าออกตรงมุมเมือง และมีลักษณะเป็นกำแพงดินยื่นทำเป็นปีกกาขยายออกมา
จากการได้พบเศษวัตถุโบราณ เช่น พระเครื่องดินเผา มีลักษณะเนื้อดินหยาบแกร่ง ไม่ละเอียดเหมือนสกุลลำพูน แต่ลักษณะหยาบแกร่งคล้ายพระกรุวัดดอยคำเชียงใหม่ จากการพบเห็นแจกันและคนโทดินเผาเนื้อดินเคลือบหยาบ พออนุมานได้ว่าเป็นยุคเชียงใหม่ โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่พบที่บ้านโป่งอาง เป็นศิลปเชียงใหม่ ศิลปสุโขทัย จึงทำให้มั่นใจว่าอย่างน้อยที่สุดเมืองเก่าต่าง ๆ ในอำเภอเชียงดาวต้องเป็นเมืองสร้างขึ้นในสมัย 600 – 700 ปี เพราะสมัยนั้นพระเจ้าเม็งรายตีหัวเมืองต่าง ๆ ในพม่า และไทยใหญ่ มาเป็นเมืองขึ้นมากมายหลายเมือง เข้าใจว่าพระองค์คงจะสร้างเมืองต่าง ๆ ตามชายแดนแคว้นลานนาไว้เพื่อป้องกันข้าศึกต่างชาติมากกว่า และอีกประการหนึ่งเป็นการสร้างแปงเมืองให้ผู้คนขยับขยายกันเข้าอยู่อาศัยให้เป็นอาณาจักรใหญ่ขึ้น ซึ่งพงศาวดารกล่าวถึงเมืองคองและเมืองเชียงดาวไว้ในสมัยพระเจ้าแสนภู พระราชโอรสเจ้าพระยาไชยสงครามว่า เมืองคองขึ่นกับแคว้นเมือง เชียงแสน ซึ่งในขณะนั้นเมืองเล็กเมืองน้อยขึ้นกับเมืองเชียงแสนถึง 65 หัวเมือง รวมทั้งเมืองเชียงดาวด้วย
ที่ตั้งของเวียงเก่าที่ชาวบ้านเรียกกันว่า คูสองชั้น เป็นตัวเวียงตั้งบนที่ราบ และสูงกว่าพื้นที่โดยรอบ ๆ เมื่อยืนอยู่ในตัวเวียงเก่านี้ สามารถมองเห็นที่ราบลุ่มโดยรอบได้ถนัด เป็นชัยภูมิที่ดีมากในการตั้งเมืองทางด้านหน้าห่างจากกำแพงเมืองภายในออกไปประมาณ 1 กม. จะมีวัดเก่าสร้างไว้กว้างขวางมาก ได้ไปเดินดูแนวกำแพงวัดยาวเหยียด บริเวณวัดกินเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ สอบถามชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นได้ความว่าเป็นวัดร้างเก่าแก่ และกว้างขวางมาก ก่อน ๆ มาไม่มีใครกล้าทำอะไร เช่น ทำไร่ ทำสวน แต่เดี๋ยวนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่เป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนา กัมมัฎฐานฝ่ายธรรมยุตินิกาย บริเวณในตัวเวียงเก่า มีผู้คนจับจองทำไร่ทำสวนกันหมดแล้ว กำแพงถูกเจาะขุดเอาดินไปขายหลายแห่ง อย่างไรก็ตาม น่าจะรักษาแนวกำแพงไว้ให้ดีเพื่อเป็นหลักฐาน ที่จะศึกษาค้นคว้าและเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ต่อไป
– ที่มา เบิกฟ้าเชียงดาว โดยสภาวัฒนธรรมอำเภอเชียงดาว. 2544
ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ | 399 ม.6 ถนนโชตนา ต.เชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัด เชียงใหม่ |
รหัสไปรษณีย์ | 50170 |
หมายเลขโทรศัพท์ | 0-5345-5176 |
หมายเลขโทรสาร | 0-5345-5176 |
เว็บไซต์อำเภอ | www.amphoechiangdao.com |
ตำบลในอำเภอเชียงดาว
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในอำเภอเชียงดาว
- อุทยานแห่งชาติเชียงดาว
- ดอยหลวงเชียงดาว
- ถ้ำเชียงดาว
- ปางช้างเชียงดาว
- พระสถูปเจดีย์พระนเรศวรเมืองงาย
- โครงการหลวงห้วยลึก
- ดอยเชียงดาว (สูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ)
- น้ำตกศรีสังวาลย์
- น้ำตกแม่แมะ
- บ่อน้ำร้อนโป่งอาง
- โครงการหลวงห้วยลึก
- ศูนย์ฝึกช้างเชียงดาว หรือ ปางช้างเชียงดาว
- ดาราดาเล บ้านดิน ฟาร์ม
- บ้านดิน บ้านก้อนฟา
วัดในอำเภอเชียงดาว
ตำบลเชียงดาว
- วัดเจริญราษฎร์
- วัดดอนศรีสะอาด
- วัดดับภัย
- วัดถ้ำเชียงดาว
- วัดแม่อีด
- วัดศรีทรายมูล
- วัดอัมพวัน
- วัดอินทาราม
- วัดอุตตาราม
ตำบลทุ่งข้าวพวง
- วัดนันติยาราม
- วัดสว่างมงคล
- วัดห้วยตีนตั่ง
- วัดห้วยเป้า
ตำบลเมืองนะ
- วัดนาหวาย
- วัดโละป่าหาญ
- วัดเวฬุวัน
- วัดห้วยไส้
ตำบลปิงโค้ง
- วัดปางเฟือง
ตำบลเมืองงาย
- วัดชัยมงคล
- วัดเชียงมั่น
- วัดเชียงยืน
- วัดศรีบุญเรือง
- วัดสะอาดชัยศรี
- วัดอัมพาราม
ตำบลแม่นะ
- วัดจอมคีรี
- วัดปางมะโอ
- วัดราษฎร์ประดิษฐ์
- วัดศรีดอนชัย
- วัดศรีอุ่นเมือง
- วัดศิริมงคล
- วัดสว่างอารมณ์
โรงเรียนในอำเภอเชียงดาว
- โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม
- โรงเรียนอรุโณทัยวิทยาคม
- โรงเรียนบ้านห้วยเป้า
- โรงเรียนบ้านแม่กอนใน
- โรงเรียนบ้านทุ่งข้าวพวง
- โรงเรียนพัฒนาต้นน้ำขุนคอง
- โรงเรียนบ้านแม่จา
- โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว
- โรงเรียนบ้านปางมะเยา
- โรงเรียนบ้านปางเฟือง
- โรงเรียนบ้านออน
- โรงเรียนบ้านแม่ป๋าม
- โรงเรียนบ้านห้วยจะค่าน ตชด.อนุสรณ์
- โรงเรียนมิตรมวลชนเชียงใหม่
- โรงเรียนบ้านทุ่งหลุก สาขาปางแดง
- โรงเรียนบ้านม่วงฆ้อง
- โรงเรียนบ้านทุ่งหลุก
- โรงเรียนบ้านถ้ำ
- โรงเรียนอนุบาลเฉลิมพล
- โรงเรียนบ้านเชียงดาว
- โรงเรียนบ้านแม่เตาะ
- โรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม
- โรงเรียนบ้านดอน
- โรงเรียนบ้านทุ่งละคร
- โรงเรียนอนุบาลปัญญา
- โรงเรียนศิลรวี
- โรงเรียนดอยสามหมื่น
- โรงเรียนบ้านเมืองคอง
- โรงเรียนบ้านวังมะริว
- โรงเรียนบ้านหนองบัว
- โรงเรียนชุมชนบ้านเมืองงาย
- โรงเรียนบ้านใหม่
- โรงเรียนบ้านแม่ข้อน
- โรงเรียนบ้านโละป่าหาญ
- โรงเรียนแกน้อยศึกษา
- โรงเรียนบ้านรินหลวง
- โรงเรียนบ้านอรุโณทัย
- โรงเรียนเบญจม 2 บ้านน้ำรู
- โรงเรียนโครงการหลวงแกน้อย
- โรงเรียนบ้านเมืองนะ
- โรงเรียนบ้านโป่งอาง
- โรงเรียนบ้านนาหวาย
- โรงเรียนบ้านหนองเขียว
- โรงเรียนบ้านสันป่าเกี๊ยะ
- โรงเรียนบ้านสบคาบ
- โรงเรียนวัดปางมะโอ
- โรงเรียนอนุบาลเรวดี
- โรงเรียนบ้านแม่แมะ
- โรงเรียนบ้านแม่นะ
- โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์
- โรงเรียนบ้านสบคาบ สาขาแก่งปันเต๊า
- โรงเรียนบ้านแม่อ้อใน
- โรงเรียนบ้านป่าบง
- โรงเรียนบ้านแม่แมะ สาขาป่าโหล
- โรงเรียนวัดจอมคีรี
- โรงเรียนบ้านสบอ้อ
การเดินทางไปอำเภอเชียงดาว
ใช้เส้นทางหมายเลข 107 เชียงใหม่ – ฝาง โดยจะผ่าน อ.แม่ริม อ.แม่แตง แล้วก็จะถึง อ.เชียงดาว ระยะทางรวมประมาณ 84 กิโลเมตร