คำขวัญอำเภอกัลยาณิวัฒนา กัลยาณิวัฒนา ดินแดนในฝัน ป่าสนพันปี ประเพณี วัฒนธรรม บริสุทธิ์ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สมามัคคี สมานฉันท์
ป่าสนวัดจันทร์ แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม อยู่ใกล้เส้นทางไปอำเภอปาย แวะไปได้ครับ เป็นที่เที่ยวที่มีทิวทัศน์ ธรรมชาติ สวยงาม เป็นป่าสนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในช่วงฤดูหนาวดินแดนกลางหุบเขาแห่งนี้ จะถูกปกคลุมไปด้วยม่านหมอกและสายลมอันหนาวเย็น ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้มาเยือนสถานที่แห่งนี้ ก็ต้องชอบที่นี้อย่างแน่นอน ภาพสายหมอกลอยพริ้วปกคลุมทิวสนและอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งสีสันสดสวยของใบเมเปิ้ลที่พร้อมใจกันผลัด เปลี่ยนสีในช่วงฤดูหน้าวตั้งแต่เดือน ธ.ค. ก.พ. บวกกับธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ งดงามและไมตรีจิตของชาวพื้นถิ่น ทั้งหมดนี้จะยังคงตราตรึง อยู่ในความประทับใจ
วิวทิวทัศน์ของสองข้างทางที่เราผ่านนั้นสวยงาม ลัดเลาะไปตามสันเขา มีจุดชมวิวทะเลหมอกที่มี
อ.กัลยาณิวัฒนา มีสภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นป่าและภูเขาสูงชัน ณ ความสูงราว 1,000 – 1,500 เมตร มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปีอ.กัลยาณิวัฒนา ตั้งอยู่ใน จ.เชียงใหม่ เดิมเป็นกลุ่มตำบลใน อ.แม่แจ่ม ก่อนจะแยกตัวมาตั้งเป็น “อำเภอวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ” ใน ปี พ.ศ. 2551 และเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอกัลยาณิวัฒนา” ตามนามพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จากการขอพระราชทานโดยกระทรวงมหาดไทย
จุดเด่นสำคัญของ อ.กัลยาณิวัฒนา คือ ที่นี่มีป่าสนธรรมชาติอันกว้างใหญ่กว่าแสนไร่ ถือเป็นป่าสนผืนใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ป่าสนวัดจันทร์มีความผูกพันมาช้านานกับชาว “ปกาเกอะญอ” หรือที่เราคนไทยมักเรียกกันติดปากว่า “กะเหรี่ยง”(ภาษาไม่สุภาพ) กลุ่มชนผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมของดินแดนแห่งนี้
ชาวปกาเกอะญอเรียกป่าสนวัดจันทร์ว่า“มือเจะคี”(คนเมืองเรียกเพี้ยนไปเป็น “มูเส่คี”)อันหมายถึงต้นน้ำแม่แจ่ม เพราะป่าไม้ที่นี่เป็นต้นทางของลำห้วยเล็กๆสำคัญหลายสาย ก่อนไหลไปรวมเป็นต้นน้ำแม่แจ่ม และไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง ก่อนรวมปิง วัง ยม น่าน เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ออกอ่าวไทยไปในที่สุด
ทั้งป่าสนวัดจันทร์และ “ชุมชนบ้านจันทร์” หรือ “ชุมชนบ้านวัดจันทร์”(ที่มีประชากรดั้งเดิมเป็นชาวปกาเกอะญอก่อนที่จะมีคนเมืองมาอาศัยอยู่ร่วมกันในเวลาต่อมา) ต่างถือเป็นเสน่ห์ดึงดูดชั้นดีให้ผู้ที่รักในธรรมชาติและวิถีอันสงบงาม เดินทางไปยังเมืองแห่งนี้ ที่ถูกหลายภาคส่วนคาดหวังให้เป็น “อำเภอในฝัน”
ศูนย์กลางของ อ.กัลยาณิวัฒนา อยู่ที่ชุมชนบ้านจันทร์ ซึ่งมี “วัดจันทร์” เป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธา
วัดจันทร์ เป็นวัดเก่าแก่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาได้กว่า 300 ปีแล้ว ซึ่งชื่อของวัดจันทร์ บ้านจันทร์นั้น ตามตำนานเชื่อว่ามาจากชื่อของ “นายจันทร์” (ตำนานหนึ่งว่าเป็นคนจากล้านนา อีกตำนานหนึ่งว่าเป็นคนพื้นที่ที่นี่)
วัดจันทร์เป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุวัดจันทร์สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน ขณะที่วิหารของที่นี่นับว่าดูแปลกจากวิหารทั่วๆไป หลายคนเรียกวิหารหลังนี้ว่า “วิหารแว่นตาดำ” หรือ “วิหารเรย์แบน” เพราะเมืองมองจากด้านหน้าแล้วดูคล้ายมีแว่นตาขนาดใหญ่ สวมอยู่
สำหรับ อ.กัลยาณิวัฒนา ในหนังสือ “ป่าสนวัดจันทร์ : เรื่องราว ผืนดิน ป่าสนของปกาเกอะญอมือเจะคี” ได้เขียนบอกไว้ว่านี่คืออำเภอที่ถูกคาดหวังให้เป็น “อำเภอในฝัน” จากหลายๆฝ่าย
พวกเขาฝันให้นี่เป็นอำเภอที่ไม่ต้องการให้เป็นเมืองท่องเที่ยวอย่าง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ที่อยู่ติดกัน
นอกจากนี้ทางราชการยังวางคอนเซปต์ให้ อ.กัลยาณิวัฒนา เป็นดังบ้านเล็กในป่าใหญ่ โดยให้ป่าเป็นตัวตั้ง สัตว์ป่าเป็นตัวรอง และคนเป็นลำดับที่สาม โดยจะคุมไม่ให้คนเข้ามาทำการเปลี่ยนแปลงที่นี่ และเน้นเรื่องของป่าที่ต้องเพิ่มพื้นที่ป่าตลอด
ขอขอบคุณ www.manager.co.th
ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ | บ้านใหม่พัฒนา หมู่ 2 ตำบลแจ่มหลวง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ |
รหัสไปรษณีย์ | 58130 |
หมายเลขโทรศัพท์ | 0-5331-7613, 0-5331-7613 |
หมายเลขโทรสาร | – |
เว็บไซต์อำเภอ | – |
แนะนำเฟสบุก | www.facebook.com/people/อำเภอกัลยาณิวัฒนา-จังหวัดเชียงใหม่/100001774516159 |
สภ.กัลยาณิวัฒนา | – |
โรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ์ | 053-317-462 |
ตำบลในอำเภอกัลยาณิวัฒนา
สถานที่สำคัญในอำเภอกัลยาณิวัฒนา
- โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์
- สวนป่าหลวงวัดจันทร์
- น้ำตกโป่งสะแยง
- สถานีพัฒนาเกษตรที่สูง
ตามพระราชดำริบ้านเสาแดง
- อ่างอนุรักษ์พันธุ์ปลาห้วยฮ่าง
- หมู่บ้านแม่ตะละม้ง
ต.แม่แดด (กลุ่มหัตถกรรมตีมีด) - ดอยโป่งกา
วัดในอำเภอกัลยาณิวัฒนา
ตำบลบ้านจันทร์
- วัดจันทร์
โรงเรียนในอำเภอกัลยาณิวัฒนา
- โรงเรียนสหมิตรวิทยา
- โรงเรียนสามัคคีสันม่วง
- โรงเรียนบ้านขุนแม่รวม
- โรงเรียนบ้านห้วยปู
- สาขาบ้านดงสามหมื่น
- โรงเรียนบ้านจันทร์สาขาแจ่มน้อย
- โรงเรียนบ้านห้วยปู
การเดินทางไปอำเภอกัลยาณิวัฒนา
จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) ถึงสามแยกบ้านแม่มาลัยเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 1095 (แม่มาลัย-ปาย) ถึงสามแยกบ้านท่าปายเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 1265 จนถึงบ้านวัดจันทร์ รวมระยะทางประมาณ 165 กิโลเมตร หรือเข้าทาง อำเภอแม่ริม ไปตามทางหลวงหมายเลข 1096 ผ่านอำเภอสะเมิง ผ่านบ้านบ่อแก้วไปยังศูนย์ฯ วันจัดจันทร์ ระยะทางประมาณ 147 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง ทั้ง 2 เส้นทาง ถ้าไปช่วงหน้าฝนควรใช้รถโพร์วีลล์