ตำบลน้ำบ่อหลวง วัดน้ำบ่อหลวง ตำบลน้ำบ่อหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอสันป่าตอง อยู่ห่างจากอำเภอสันป่าตองประมาณ 8 กิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลสันกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
วัดน้ำบ่อหลวง
วัดแห่งนี้ได้นามว่า “วัดน้ำบ่อหลวง” เพราะถือเอาบ่อน้ำใหญ่เป็นนิมิต ได้นามว่า “วนาราม” เพราะตั้งอยู่ในป่า เป็นไปตามพุทธบัญญัติเป็นวัดมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สร้างเมื่อสมัย “โยนะกะบุรี” ปี พ.ศ. ๑๓๒๓ หรือจุลศักราช ๑๔๒ โดย “สุพรรณะรังสี ปโคตเศรษฐี” พร้อมพุทธศาสนิกชน ทั้งกลายร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อถวายไว้ในพุทธศาสนา และมีประเพณีทำบุญตามเทศกาล มาแต่โบราณ มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ตำนานกล่าวไว้ว่ามีถึงพันรูป มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้างเพราะสภาพบ้านเมืองที่เกิดจากภัยสงคราม จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ท่านครูบาเจ้าอินทจักรรักษา (พระสุธรรมยานเถร) ที่พำนักเดิมท่านอยู่ที่วัดป่าเหียงกองงาม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ได้เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมในเขตป่าที่ตั้งวัดน้ำบ่อหลวงนี้ พร้อมด้วยพระภิกษุที่เป็นศิษย์จำนวน ๑๐ รูป ในครั้งนั้นศรัทธาประชาชนในเขตตำบลสันกลาง (ต่อมาแยกออกเป็นตำบลน้ำบ่อหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งมีพ่อขุนอนุพลนคร ())((ก.นิมานันท์) เป็นประธาน และนายปัญญา ภิญโญฤทธิ์ พร้อมด้วยประชาชนในตำบลใกล้เคียงมาร่วมทำบุญ ตักบาตร แล้วนิมนต์ท่าจำพรรษา ณ วัดน้ำบ่อหลวง (วนาราม) แห่งนี้
วัดน้ำบ่อหลวงซึ่งเดิมเป็นวัดร้างมานานได้กับมาเจริญรุ่งเรืองเหมือนในอดีต ก็โดยอาศัยบุญญาบารมีของท่านพระครูบาเจ้าอินทจักรรักษา (พระสุธรรมยานเถร) ได้อบรมศีลธรรมแก่ประชาชนทั่วไปจนมีความรู้ความเข้าใจในศีลธรรม กรรมฐาน นำศรัทธาประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสในหลักธรรมด้วยการนำปฏิบัติ โดยศรัทธาประชาชนได้สามัคคีบริจาคทรัพย์บำรุง บูรณะก่อสร้างวัดนี้ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น แต่มิได้สร้างสิ่งปลูกสร้างให้ใหญ่โตหรือสูงมากนัก โดยมีความตั้งใจจะให้เป็นวัดที่รักษาสภาพป่าไว้ เพื่อลูกหลานจนปรากฏเป็นรมณีสถานอันน่ารื่นรมย์ในปัจจุบันปัจจุบันวัดน้ำบ่อหลวงมีความเจริญในทุกด้าน มีความมุ่งมั่นที่จะรักษาปณิธานของท่านครูบาเจ้าอินทจักรรักษา (พระสุธรรมยานเถร) คือ การพัฒนาจิตใจศรัทธาประชาชนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในศีลธรรม กรรมฐาน ปฏิบัติตามคำสอนที่เป็นสัมมาปฏิบัติอนุรักษ์ไว้ซึ่งผืนป่าให้คงสภาพเดิมมากที่สุด และการอำนวยให้เกิดเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ประเทศชาติ ซึ่งมีลูกศิษย์ที่เคยอยู่รับใช้ใกล้ชิดผู้สืบสานเจตนารมณ์ของท่าครูบาเจ้าอินทจักรรักษา คือ พระครูธรรมาภิรม (อินถา วรธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดน้ำบ่อหลวงรูปปัจจุบัน
เนื้อที่
ตำบลน้ำบ่อหลวง มีพื้นที่ประมาณ 17,116 ไร่ หรือประมาณ 27.3 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไปของตำบลน้ำบ่อหลวง เป็นที่ราบเชิงเขา มีพื้นที่เป็นภูเขา (เขตป่าสงวน) ประมาณ ร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตร
จำนวนหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านโรงวัว
หมู่ที่ 2 บ้านน้ำบ่อหลวง
หมู่ที่ 3 บ้านแพะสันใหม่
หมู่ที่ 4 บ้านจอมแจ้ง
หมู่ที่ 5 บ้านหนองห้า
หมู่ที่ 6 บ้านหนองไหว
หมู่ที่ 7 บ้านหัวฝาย
หมู่ที่ 8 บ้านห้วยโท้ง
หมู่ที่ 9 บ้านต้นแก้ว
หมู่ที่ 10 บ้านสันเหนือ
หมู่ที่ 11 บ้านหนองหวาย
อาชีพ
ประชาชนในตำบลน้ำบ่อหลวง มีอาชีพหลักด้านการเกษตรและรับจ้าง แต่ในปัจจุบันแนวโน้มจะเปลี่ยนไปเป็นอาชีพด้านการเกษตรเพิ่มขึ้นทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดการเลิกจ้างงานเพิ่มขึ้น ทำให้อาชีพรับจ้างต้องเลิกไป และหันมาประกอบอาชีพการเกษตรหรือหันไปรับจ้างควบคู่กันไปซึ่งคิดเฉลี่ยต่อครัวเรือนทั้งหมด ดังนี้
- อาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง เฉลี่ยร้อยละ 68
- อาชีพรับจ้างอย่างเดียว เฉลี่ยร้อยละ 30
- อาชีพค้าขายอย่างเดียวและอื่นๆ เฉลี่ยร้อยละ 2
จำนวนประชากรใน ตำบลน้ำบ่อหลวง
จำนวนหลังคาเรือน : | 1,469 | หลังคาเรือน | ||||
จำนวนประชากร : | 4,821 | คน | จำนวนผู้สูงอายุ : | 800 | คน | |
จำนวนเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี : | 270 | คน | จำนวนผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง : | 344 | คน | |
จำนวนสตรีตั้งครรภ์ : | 30 | คน | จำนวนผู้สูงอายุ ที่ช่วยตนเองไม่ได้ : | 6 | คน | |
จำนวนสตรีอายุ 35 ปี ขึ้นไป : | 1,194 | คน | จำนวนผู้พิการ : | 76 | คน |
รหัสไปรษณีย์ ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50120
หมู่บ้าน | หมู่ที่ | ตำบล | อำเภอ | จังหวัด |
โรงวัว | 1 | น้ำบ่อหลวง | สันป่าตอง | เชียงใหม่ |
น้ำบ่อหลวง | 2 | น้ำบ่อหลวง | สันป่าตอง | เชียงใหม่ |
แพะสันใหม่ | 3 | น้ำบ่อหลวง | สันป่าตอง | เชียงใหม่ |
จอมแจ้ง | 4 | น้ำบ่อหลวง | สันป่าตอง | เชียงใหม่ |
หนองห้า | 5 | น้ำบ่อหลวง | สันป่าตอง | เชียงใหม่ |
หนองไหว | 6 | น้ำบ่อหลวง | สันป่าตอง | เชียงใหม่ |
หัวฝาย | 7 | น้ำบ่อหลวง | สันป่าตอง | เชียงใหม่ |
ห้วยโท้ง | 8 | น้ำบ่อหลวง | สันป่าตอง | เชียงใหม่ |
ต้นแก้ว | 9 | น้ำบ่อหลวง | สันป่าตอง | เชียงใหม่ |
สันเหนือ | 10 | น้ำบ่อหลวง | สันป่าตอง | เชียงใหม่ |
หนองหวาย | 11 | น้ำบ่อหลวง | สันป่าตอง | เชียงใหม่ |
ขอบคุณข้อมูลตำบลน้ำบ่อหลวง