ศาลปู่แสะย่าแสะ อยู่ตรงทางเลี้ยวขึ้นวัดพระธาตุดอยคำ ผ่านไปผ่านมาก็ไม่เคยเข้าไปสักที วันนี้ท็อปเชียงใหม่จึงขอหยิบยกเรื่องราว เกี่ยวกับตำนานปู่แสะย่าแสะ ของคุณไกรศรี นิมมานเหมินท์ มาให้ทราบกันครับ
ปู่แสะย่าแสะ เป็นชื่อของยักษ์สองผัวเมียซึ่งเชื่อกันว่าเป็นต้นเค้าบรรพบุรุษของชาวลัวะที่ได้ กลายมาเป็นผู้พิทักษ์รักษาเมืองเชียงใหม่ เรื่องราวปู่แสะย่าแสะมีเค้าโครงหลักที่สอดคล้องกับตำนาน พระเจ้าเลียบโลกซึ่งแพร่หลายในภูมิภาคล้านนา ว่าด้วยการเผชิญหน้าระหว่างพระพุทธเจ้ากับปู่แสะ ย่าแสะและลูกซึ่งเป็นยักษ์ดุร้าย ตามตำนานกล่าวว่าปู่แสะย่าแสะเป็น ฝ่ายพ่ายแพ้ต่อพระพุทธเจ้าและ หันมารับศีลห้าเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อย่างไรก็ตาม การที่ปู่แสะย่าแสะเคยเป็นยักษ์มาก่อนจึงขออนุญาต ต่อพระพุทธเจ้าที่จะกินสัตว์ตามสัญชาติญาณยักษ์ความเชื่อดังกล่าวนำมาสู่การฆ่าควายเพื่อเซ่น สังเวยปู่แสะย่าแสะ ของชาวบ้านตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เลี้ยงดง” เป็นประจำทุกปีในวัน ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 เหนือ2 โดยในพิธีกรรมจะมีการลงทรงของม้าขี่ (คนทรง) ปู่แสะย่าแสะ ซึ่งจะทำการกินเนื้อควายสด ในพิธีกรรมยังมีการแขวนผ้าพระบฏเป็น สัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าสอดคล้องกับเรื่องราวในตำนาน
ติดกับศาลปู่แสะย่าแสะ เป็นตลาดขายพวงมาลัยแก้บนพระเจ้าทันใจ วัดดอยคำ
เหตุผลสำคัญที่การเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะที่ดอยคำของชาวแม่เหียะ ยังคงดำรงอยู่ได้ก็เพราะ ในอดีต แม่เหียะนับเป็นชนบทที่อยู่ห่างตัวเมืองเชียงใหม่ (แม่เหียอยู่ห่างจากตัวเมืองราว 10 กิโลเมตร) หลังการสิ้นสุดอำนาจเจ้าเมือง อำนาจส่วนกลางก็มิได้เข้ามาก้าวก่ายหรือมีผลมากนักต่อท้องถิ่นที่อยู่ นอกเขตเมือง ปู่แสะย่าแสะยังคงได้รับการบูชาเซ่นสรวงโดยลูกหลานของแสนวิเศษและคนแม่เหียะ ก็เพราะด้วยในสายตาชาวบ้าน ปู่แสะย่าแสะมิได้เป็นเพียงผีเมืองหรือเจนบ้านเจนเมืองเชียงใหม่ ที่ประจำอยู่ ณ จุดหรือตำแหน่งต่างๆ (ดอยคำซึ่งอยู่นอกเมือง) หากแต่ยังเป็นผีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำ ท้องถิ่นแถบชุมชนแม่เหียะที่คอยอำนวยฝนฟ้าเป็นทั้งผีป่าผีขุนน้ำ (ห้วยแม่เหียะ) และคุ้มครองภัยแก่ ชาวบ้าน ดงย่าแสะสถานที่ประกอบพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ (เลี้ยงดง) อยู่ระหว่างเชิงดอยคำ (ซ้าย) และ ดอยเหล็ก (ขวา) ตามความเชื่อชาวบ้านย่าแสะยืนคร่อมภูเขาสองลูกนี้อยู่ในอิริยาบถยืนคอยจับสิ่ง มีชีวิตที่จะผ่านช่องเขานี้กิน (ก่อนที่จะพบพระพุทธเจ้า)และเมื่อย่าแสะสะบัดกระพือปลายผ้าซิ่นจะ พัดพาเป็นลมฝนสร้างความอุดมสมบูรณ์แก่ชาวบ้าน
อย่างไรก็ตาม พิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ (เลี้ยงดง) ในปัจจุบันได้ เปลี่ยนไปจากเดิมมาก กล่าวคือ จากเดิมที่การเลี้ยงของชาวบ้านคือการย้ำเตือนของมนุษย์ต่ออำนาจ เหนือธรรมชาติว่า เมื่อทำการเลี้ยงแล้ว ผี/สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะยังผลให้น้ำท่า ฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็น สารัตถะของการเลี้ยงผีทว่า ทุกวันนี้ช่วงที่สำคัญที่สุดของพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะคือเวลาที่ม้าขี่ยักษ์ ลงทรงทำการกินเนื้อควายสดและกลิ้งเกลือกไปบนซากควายที่เป็นเครื่องสังเวย ก่อนที่จะลุกขึ้นมา ไหว้พระบฏสิ่งที่เห็นเสมือนการดำเนินเรื่องตามฉากที่ปรากฏในตำนานขณะที่ชาวบ้านสูงอายุใน ชุมชน กล่าวว่าการกินเนื้อควายดิบ ๆ ของม้าขี่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายสิบกว่าปีนี้ที่ ผ่านมา (สัมภาษณ์นางบัวเรียว ใจใหญ่ นายบุญมา จินาราช, 22 พฤษภาคม 2551) ทว่า อากัปกริยา ดังกล่าวของม้าขี่ก็ทำให้พิธีกรรมมีความคึกคักขึ้นอย่างมากมากบทบาทของม้าขี่ยักษ์อาจแสดงให้เห็น ได้ว่าคนในยุคปัจจุบันไม่พอใจอยู่กับแค่มโนภาพจากตำนานแต่ยังต้องการมองภาพการแสดงด้วย
ข้อมูลจากงานศึกษาของ ไกรศรี นิมมานเหมินท์