หน้าแรกที่เที่ยววัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) สุดยอดสถานกล่อมเกลาจิตใจ

วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) สุดยอดสถานกล่อมเกลาจิตใจ

วัดร่ำเปิง6

หากคุณมาเยือนมืองเชียงใหม่แล้วอยากหาเวลาปฏิบัติธรรม  เพื่อกล่อมเกลาจิตใจ  ภายใต้บรรยากาศที่เงียบสงบ  และมีครูบาอาจารย์ทางธรรมคอยสอนผ่านหลักปฏิบัติต่างๆ  เป็นอย่างดีสามารถมปฏิบัติธรมที่วัดแห่งนี้ได้

วัดแห่งนี้ สร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ายอดเขียงรายปัจจุบันได้มีการพัฒนาและให้ความรู้ทางธรรมทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ  ได้รับการขนานนามว่า  เป็นวัดวิปัสสนากัมมัฏฐานแนวสติปัฏฐาน 4 ที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้เข้าร่วมได้จริง  และน้ำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้เป็นอย่างดี

วัดร่ำเปิง7
วัดร่ำเปิง14 วัดร่ำเปิง17 วัดร่ำเปิง9

วัดร่ำเปิง เป็น 1ใน 8 วัดซ้อนทักษาเมืองเดิมเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย

ด้วยความมีชื่อเสียง จึงเป็นวัดที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้ารับการอบรมปฏิบัติธรรมกันต่อเนื่องทั้งปี

วัดร่ำเปิง12 วัดร่ำเปิง13 วัดร่ำเปิง15 วัดร่ำเปิง10 วัดร่ำเปิง11

ประวัติโดยย่อวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)

วัดร่ำเปิง2พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์วงศ์มังรายครองเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 9 จ.ศ. 804 (พ.ศ.1985 – 2030) มีพระราชโอรสอันประสูติจากพระมเหสี เพียงพระองค์เดียว คือ ท้าว
ศรีบุญเรือง เมื่อท้าวศรีบุญเรืองพระชนมายุได้ 20 พรรษา มีคนเพ็ดทูลพระเจ้าติโลกราช ว่าท้าวศรีบุญเรืองเตรียมการจะคิดกบฏ ทำให้ทรงคลางแคลงพระทัย จึงทรงโปรดให้ไป ครองเมืองเชียงแสนและเชียงราย ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านในขณะนั้น ณ เมืองเชียงรายนี้ เอง ได้เป็นที่ประสูติของพระเจ้ายอดเชียงราย และโดยเหตุที่ประสูติบนยอดเขาสูงใน เชียงราย (ยอดดอกบัว) ท้าวศรีบุญเรืองจึงประทานนามพระโอรส ว่ายอดเชียงรายต่อมา พระเจ้าติโลกราชถูกเพ็ดทูลจากนางหอมุขพระสนมเอกว่า ท้าวศรีบุญเรืองเตรียมการก่อกบฏ อกีจึงมีพระกระแสรับสั่งให้ปลงพระชนม์พระราชโอรสเสีย และหลังจากนั้นทรงโปรด ให้ราชนัดดา คือพระเจ้ายอดเชียงราย ครองเมืองเชียงรายสืบต่อมาครั้นถึง พ.ศ. 2030 พระเจ้าติโลกราชเสด็จสวรรคต ราษฎรได้พร้อมใจกันอันเชิญพระเจ้ายอดเชียงรายขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ หลงั จากทจี่ ดั การบ้านเมอื งเปน็ เ รียบร้อย ทรงดำเนินการสอบสวนหาผู้ที่เป็นต้นเหตุยุแหย่ให้ท้าวศรีบุญเรืองพระบิดาต้องสิ้นพระชนม์

วัดร่ำเปิง3

จนทำให้พระมารดาของพระองค์ตรอมพระทัยถึงกับสติวิปลาส พระองค์ทรงกำหนดโทษ ให้ประหารชีวิตแก่ผู้ที่เป็นต้นเหตุ แตโ่ ดยทพี่ ระองคท์ รงเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ภายหลังที่ได้สั่งให้สำเร็จโทษผู้กระทำผิดไปแล้ว ทรงเกรงจะเป็นเวรกรรม จึงทรงดำริที่จะหาทางผ่อนคลายมิให้เป็นบาปกันต่อกันสืบต่อไปครั้งนั้นมีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาจากต่างเมืองได้ปักกลดอยู่ที่เชิงดอยสุเทพที่ตั้งวัดร่ำเปิงเวลานี้ ได้ทูลพระเจ้ายอดเชียงรายว่า ณ ต้นมะเดื่อไม่ห่างจากที่ท่านปักกลดอยู่เท่าใดนัก ได้มีรัศมีพวยพุ่งขึ้นในยามราตรี สันนิษฐานว่าจะมีพระธาตุประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง พระเจ้ายอดเชียงรายจึงทรงช้างพระที่นั่งอธิษฐานเสี่ยงทายว่า ถ้ามีพระบรมธาตุ
ประดิษฐานอยู่จริง และพระองค์จะได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อไป แล้วก็ขอให้ช้างพระที่นั่งไปหยุด ณ ที่แห่งนั้น ทรงอธิษฐานแล้วก็ทรงช้างเสด็จไป ช้างนั้นก็ได้พาพระองค์มาหยุดอยู่ใต้ต้นมะเดื่อ พระองค์จึงได้ขุดรอบๆ ต้นมะเดื่อนั้น ก็ทรงพบพระบรมธาตุเขี้ยวแก้วบรรจุอยู่ในผอบดินแบบเชียงแสน พระองค์จึงทรงทำ พิธีสมโภช และอธิษฐานขอเห็นอภินิหารของพระบรมธาตุนั้น จากนั้นจึงบรรจุลงในผอบทอง แล้วนำไป บรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่บริเวณนั้น

วัดร่ำเปิงเปิดทุกวัน เปิดตั้งแต่เช้าตรู่

ในส่วนของสำนักงาน เปิดเวลา 07.00-17.00 น.

สอบถามข้อมูลเพื่อเข้าปฏิบัติธรรม  (เพศชาย) โทร.0-5327-9620

(เพศหญิง) โทร.0-5327-8620  สอบถามข้อมูลโทร. 0-5381-0197

www.watrampoeng.com


ติดต่อเช่ารถพร้อมคนขับ/ซื้อสินค้า/โฆษณาข่าวสาร
Add friend ที่ @topcm
เพิ่มเพื่อน
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisment -