วัดท่าตอน วัดที่มีความสวยงาม ทั้งวิว และ พระเจดีย์ เป็นวัดประจำอำเภอ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าตอน ตำบลท่าตอน เป็นวัดที่มีทิวทัศน์งดงาม อยู่บนไหล่เขา หากเราขับรถขึ้นไปก็จะเรียงรายด้วยศาสนวัตถุสิ่งก่อสร้าง เริ่มจากชั้นที่1 ไปเรือยๆ ตามถนนทอดยาวขึ้นเขาเป็นชั้น ๆ รวม 9 ชั้น ดังนี้
แต่ละอย่างที่สร้างตั้งอยู่บนเทือกเขาที่ติดกัน แบ่งได้ 9ชั้นดังนี้
ชั้นที่ 1 พระธาตุจอมคีรีศรีปิงขอก พระแม่กวนอิม สำนักงานรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่, ศาลาสุนทร, โรงรียนพระปริยัติตั้งอยู่ล้อมรอบลานเอนกประสงค์ที่จอดรถขนาดใหญ่
ชั้นที่ 2 เป็นที่ตั้งพระอุโบสถ
ชั้นที่ 3 พระพุทธนิรันดรชัย (พระองค์ขาว) และพระสังกัจจาย
ชั้นที่ 4 พระนาคปรก
ชั้นที่ 5 มรรควิหารและกุฏกัมมัฏฐาน
ชั้นที่ 6 กุฏิรุ่งนิรันดร์เเละหอประชุมพระปริยัติวิธานโกศล
ชั้นที่ 7 กุฏิธรรมปัญญาบดี กุฏิพุทธสมุทร กุฏิมหัทธนัญชัย กุฏิประวิตรางกูร กุฏิชินวงศ์วรกุล และกุฏิสิงคโปร (บางกอกเดคค่อน)
ชั้นที่ 8 พระเจดีย์แก้ว, ศาลาใหญ่, มังกรทอง, มังกรเงิน, กุฏิ 8หลี่ยม
ชั้นที่ 9 กุฏิศรีเชียงตุง, พระอิ่มตลอดกาล, กุฏิสมด็จพระมหารัชมัง, สะพานรัชสมาน, เรือสำเภาทอง,
จากประตูวัดถึงชั้น 9 ระยะทาง 3 กม. หากจะรวมทางลงแม่น้ำกก ซึ่งคดเคี้ยวมากนับรวมได้ 5 กม. เป็นวัดที่มีอาณาเขตยาวเหยียดเลยทีเดียว ถ้าจะชมให้ทั่วต้องใช้เวลาเป็นวัน
กว่าจะมาเป็นวัดท่าตอนได้ในปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดท่าตอนอาจาร์ยสมาน กิตุติโสภโณ ต้องใช้ความมุ่งมั่น อดทนกับสิ่งต่างๆ ครั้งหนึ่งท่านเคยพูดว่า
โบสถ์ก็ไม่อยากได้ วิหารก็ไม่อยากได้ ศาลาก็ไม่อยากได้ แต่อยากไฟ เสียงพูดคำว่าได้ไฟ แม้เสียงจะต่ำและเบา แต่กลับเป็นการเน้นให้เห็นความมุ่งมั่นในการจะพัฒนาวัดของท่านจาอาวาสวัดท่าตอน และไฟนี้เหละที่เป็นความ บังเอิญแรก ที่การไฟฟ้าสวนภูมิภาค ที่ต้องการร่วมโมทนาบุญ ลากไฟแรงสูงจากอำภอฝางมายังท่าตอนด้วยเงินที่ได้จากกฐินกองแรก 46,000 บาท คิดตามระยะทางแล้วกิโลเมตรละ 2,000 บาท นี่คือ..จุดเริ่มต้นของการสร้างวัดท่าตอน
ไม่รู้ว่าเป็นความบังเอิญอย่างไร ที่ทำให้วัดท่าตอนแห่งนี้ อยู่ในชัยภูมิที่ดี บุคคลที่มีบุญวาสนาบารมีสูงมักจะได้ครอบครองชัยภูมิที่ดี และมีลูกน้องที่พรั้งพร้อมความสามารถมีกัลยาณมิตรมีผู้ใหญ่เมตตาส่งเสริมหลวงพ่อวัดท่าตอน สร้างปรากฏการณ์ที่คิดไม่ถึง ตั้งแต่เริ่มพัฒนา วัดท่าตอน ท่านไม่เคยทราบเลยว่าวัดท่าตอนจะมีชัยภูมิที่ดี รู้เพียงว่า วิวสวย อากาศดี
สะพานสายรุ้ง สีเงินลายเกล็ดมังกรสุดอลังการ เปรียมสเมือนสะพานเชื่อมจากแดนมนุษย์ (โลกิยภูมิ) ขึ้นสู่แดนสวรรค์ (โลกุตรภูมิ) ปูด้วยพรมแดง ขึ้นไปชมพระเจดีย์แก้ว บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
อัศจรรย์เจดีย์แก้ว
ปีพ.ศ. 2540 พระครูวิมลกิตติสาร ปัจจุบัน คือ พระราชปริยัติเมธี เจ้าอาวาสวัดท่าตอน พระอารามหลวง เริ่มสร้างพระเจดีย์แก้ว พระเจดีย์แก้ว หมายถึง เจดีย์ที่ประดับด้วยแก้วสีต่างๆ แก้วสะท้อนเงายอดพระเจดีย์แก้ว ทำด้วยสแตนเลส ซึ่งเป็นวัสดุที่คนทนต่อแรงลม น้ำฝน ฝุ่นละอองอีกทั้งยังคงคุณสมบัติความเป็นแก้วสะท้อนเงา(สแตนเลสมิเรอร์) ความเป็นแก้วสีโดยใช้วิธีการทาสี 9 สี คือ สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด สีแดง สีทองและสีเงินยวง ในส่วนแก้วใสใช้กระจกใสตามช่องประตูหน้าต่าง ความเป็นแก้ว 3 ประการจึงครบถ้วน
แก้ว 3 ประการที่เรารู้จัก
1.แก้วสี เจดีย์ที่เห็นป็นเหมือนเครื่องเบญจรงค์ เราสมมุติว่าเป็นหมือนปุถุชนที่มีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลงอยู่ ที่เจดีย์องค์นี้มีสีสันเยอะ เพราะเกิดจากศรัทธาของปุถุชนที่ร่วมสร้างมากที่สุด
2.แก้วสะท้อนเงา ใช้สแตนเลสแทนหากมองในระดับสายตาเทวดา (ท๊อปวิว) จะเห็นเป็นหมือนกระจกทั้งองค์จะไม่เห็นสีรุ้งเลย ถ้านกบินผ่านก็จะเห็นเงาตัวเอง ถ้าไม่เชื่อลองเขาไปดูในกูเกิลแม็พดู จะเห็นคนละอย่างกับหมองของปุถุชน สมมติเป็นนักปฏิบัติธรรมทังหลายท่านคิดอย่างไรท่านก็เป็นอย่างนั้น ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบกว่าปุถุชน แต่ส่วนหนึ่งท่านก็ติดกับความดีของท่านจึงยังไม่หลุดพ้น
3.แก้วใส มองทะลุหมือนช่องโล่งอยู่ตรงช่องประตูและหน้าต่างนี่คือทางหลุดพ้น บุคคลที่เปรียบเสมือนแก้วใส ไม่หลงติดกับอะไรแล้ว
นี่ไงครับ พระบรมสารีริกธาตุ ในเจดีย์แก้ว
ภายในอาคารเจดีย์ มีพระพุทธรูปต่างๆ และพระเกดิดังของไทยมากมาย
ประวัติความเป็นมาในอดีต
วัดท่าตอน เป็นวัดร้างมานานหลายร้อยปี มีพระเจดีย์เก่าชำรุดอยู่หนึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยป่าหนาทึบ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด ตามตำนานสุวรรณดำแดงกล่าวว่า กลุ่มคนไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ตอนกลางของเชียงใหม่ ประมาณหลังปี พ.ศ. 1700 นั้น เป็นผู้นับถือพุทธศาสนา นักประวัติศาสตร์หลายท่านได้มีความเห็นว่า บริเวณลุ่มน้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำกก เป็นที่ตั้งของชุมชน ที่มีวัฒนธรรมอยู่มาก่อน ก่อนที่จะสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 ห่างจากวัดท่าตอนไปทางทิศตะวันออกประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเมืองเก่า ชื่อ เวียงแข่ ยังคงมีคูเมืองปรากฏอยู่ เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยใดนั้น ไม่เป็นที่ปรากฏหลักฐาน
เมื่อมองจากพระเจดีย์ลงมาที่ลานจอดรถ
บริเวณรอบอาคารเจดีย์ มีสิ่งก่อสร้างสวยงามน่าสนหลายอย่าง ครับเช่นมังกรเงิน และมังกรทอง
จากการค้นคว้าคำจารึกในฐานพระพุทธรูปเก่าที่สุดที่พบในเขตอำเภอแม่อาย (วัดศรีบุญเรือง) จุลศักราช 221 (พ.ศ. 1403 ) พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์โบราณที่พบตามวัดร้างในท้องนาและริมแม่น้ำฝาง ซึ่งวัดต่างๆ ในท้องที่เก็บรักษาไว้ บางส่วนขนย้ายไปจังหวัดเชียงราย (วัดมุงเมือง) และส่วนกลาง ( พ.ศ. 2424 คาร์ล บ็อค มาสำรวจเมืองฝางขนไปบ้าง ) แสดงให้เห็นถึงร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองที่ผ่านมาหลายศตวรรษของถิ่นนี้ในอดีต แม้ในจุลศักราช 636 (พ.ศ. 1818) พระยามังรายเสด็จมาเสวยราชสมบัติในเมืองฝาง ก็มิได้ปรากฏว่าพระองค์สร้างเมืองขึ้นใหม่ ฝางและอำเภอใกล้เคียง (เวียงไชย เวียงแข่ เมืองงาม เป็นต้น) คงเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนแล้ว ในตำนานเมืองเหนือ กล่าวว่า ” อันเมืองฝางนั้น เป็นเมืองที่สร้างมาแต่โบราณกาลแล้ว หากจะพูดตามตำนาน ก็สร้างมาแต่สมัยพระเจ้าลวะจังกราชปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลาวจก และต่อมาในสมัยพระเจ้ามังราย บ้านเมืองเดิมก็คงชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา แต่ด้วยเป็นที่อุดมสมบูรณ์ พระเจ้ามังรายจึงได้บูรณะขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ” ฯ จากการสำรวจโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุของกรมศิลปากร พบว่า พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์โบราณ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัดท่าตอน (ศาลาพุทธบุตรประชาสรรค์) ปางมารวิชัยประทับนั่ง 5 องค์ ปางประทับยืน 3 องค์ เป็นศิลปล้านนา เป็นพุทธศิลป์ซึ่งทรงคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ มีอายุ 500-700 ปี มีคำจารึกที่ฐานพระพุทธรูป 2 องค์ ปางมารวิชัย ประทับนั่งองค์เล็กสุด (พระฝนแสนห่า) สร้างเมื่อจุลศักราช 910 (พ.ศ. 2092) ปางประทับยืนอุ้มบาตร บอกแต่เพียงชื่อผู้นำสร้าง และผู้ร่วมทำบุญ ไม่บอกศักราช ดังนั้น จึงสันนิษฐานว่า วัดท่าตอน ได้สร้างมาแล้วเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี อาจสร้างในสมัยเดียวกับที่พระเจ้าพรหมมหาราชทรงสร้างพระธาตุสบฝาง ( ประมาณหลัง พ.ศ. 1483 ) เพราะอยู่ไม่ห่างกัน (ประมาณ 5 กิโลเมตร) และตั้งอยู่บนยอดเขา ริมแม่น้ำกกเช่นเดียวกัน อีกทั้งจารึกในฐานพระพุทธรูปวัดศรีบุญเรือง ซึ่งนำมาจากวัดร้างในท้องนาบริเวณไม่ห่างจากท่าตอน ก็ใกล้เคียงสมัยพระเจ้าพรหมมหาราชมาก
ศาลเจ้าแม่กวนอิม ริมน้ำแม่กก ยืนประทานน้ำ ตอนขึ้นพระเจดีย์แก้วครับ มีลานชมวิว และที่ฐานล่างสองชั้นมีห้องให้พัก และให้นั่งชมบรรยากาศ ชั้นล่างสุดจัดทำเป็นบันไดลงไปสู่แม่น้ำกกมีรูปปั้นเทพเจ้าต่างๆ และศาลาที่พัก จุดชววิวบริเวณนี้สวยครับ สามารถมองเห็นสะพานข้ามแม่น้ำกกด้วย
การเดินทางไปวัดท่าตอน
จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทาง 107 แม่ริม-ฝาง ขับผ่านอำเภอต่างๆ ดังนี้ อำเภอแม่ริม อำเภอเชียงดาว อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย พอผ่านแม่อายมาได้สักครู่ประมาณ 5.5 กิโลเมตร ทางเข้าวัดท่าตอนจะเป็นซุ้มมีป้ายชัดเจน อยู่ด้านซ้ายมือ ติดถนนเส้นหลักนี้เลยครับ ขับขึ้นไปเรื่อยๆ แวะชมสิ่งต่างๆ ไปเรื่อยๆ จนถึงพระเจดีย์ด้านบนสุด รวมระยะทางจากปากทางเข้าวัด-พระเจดีย์แก้ว 5 กิโลเมตรครับ (ถ้าขับขึ้นสะพานแม่น้ำกกแสดงว่าเลยทางเข้าครับย้อนกลับมานิดนึง)