ท็อปเชียงใหม่พาชมศิลปะแบบปูนปั้นและไม้แกะสลักที่ วัดช่างฆ้อง ศิลปะแบบล้านนาผสมกับพม่าแต่คนที่เป็นหน้าวัดจะเห็นวิหารพระประธานก่อสร้างกลับเป็นคนจีนที่อยู่ในประเทศไทยได้สร้างไว้
วัดช่างฆ้องสร้างเมื่อ พ.ศ. 1900 โดยชาวบ้านช่างฆ้องที่อพยพมาจากเชียงแสน สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ภายในวัดมีหอไตรซึ่งเป็นตึกสองชั้นตกแต่งด้วยลายปูนปั้นและไม้ฉลุเป็นศิลปะผสมระหว่างจีนและพม่า ด้านนอกอาคารมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระเจ้าสิบชาติฝีมือช่างพื้นบ้าน ซึ่งยังคงสมบูรณ์อยู่
วัดช่างฆ้องเป็นวัดที่มีพื้นที่เล็กๆ มีหอไตรเป็นจุดเด่นดังที่กล่าวไว้ข้างต้น นอกจากจะเป็นศิลปะแบบปูนปั้นและไม้แกะสลัดที่วัดช่างฆ้อง ศิลปะแบบล้านนาผสมกับพม่า บนหอไตรยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่เกี่ยวกับเรื่องชาดกอีกด้วย ด้วยหน้าวัดจะเห็นวิหารและข้างวิหารจะเป็นกุฎิสงฆ์ และที่หน้าจะเป็นอีกหนึ่งที่ที่นักเที่ยวและคนไทยเข้าไปชมและนมัสการแล้วก็น่าจะเป็นเจดีย์ที่อยู่ด้านหลังวัดช่างฆ้อง เจดีย์ในวัดช่างฆ้องเป็นเจดีย์ที่องค์ไม่ใหญ่มาแต่ที่น่าจะเป็นจุดดึงดูดก็เป็นการที่เอาพระพุทธรูปมาวางรอบๆ เจดีย์ดุสวยงามแปลงตาไปอีกแบบ
สถานที่และสิ่งสำคัญภายใน วัดช่างฆ้อง
1.หอไตรวัดช่างฆ้อง
หอไตร วัดช่างฆ้อง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446 ปรากฎหลักฐานตรามจารึก อายุ 104 ปี หอไตรหลังนี้ เป็นอาคารสองชั้นก่ออิฐฉาบปูน เป็นอาคารที่มีโครงสร้าง แบบอิทธิพลจีน ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น และไม้แกะสลักฉลุลาย ฝีมือช่างพื้นมืองศิลปสถาปัตยกรรมแบบล้านนาผสมพม่า มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง บริเวณระเบียงชั้นสองของอาคาร เขียนเรื่องปัญญาสชาดก ตอนเจ้าสุวัตรกับบางบัวคำ สอดคล้องชื่อภริยาของผู้สร้าง
2.วิหารทรงพื้นเมือง
วิหารทรงพื้นเมือง หลังคาซ้อนชั้นหลายชั้น หน้าบันทำลวดลายเป็นรูปช้างสามเศียรตรงกลางมีลวดลายเทวดาและลายพรรณพฤกษาประกอบ จากการซ่อมแซมบูรณะบริเวณป้านลมส่วนบนจะทำขอบด้วยปูนทับบริเวณกรอบของป้านลม ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝีมือช่างพื้นบ้านเขียนเรื่องพระเจ้าสิบชาติหรือเรียกว่าทศชาติ
3.เจดีย์องค์ที่อยู่ภายในบริเวณวัด
เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมือง ฐานสี่เหลี่ยมเก็จองค์ระฆังกลม ที่ฐานมีปูนปั้นรูปสิงห์อยู่ทั้งสี่ทิศ
ที่ตั้งของ วัดช่างฆ้อง
44/6 ถนน ลอยเคราะห์ ตำบล ช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50100
การเดินทางไปวัดช่างฆ้อง ใช้เส้นทางเดียวกับวัดลอยเคราะห์ บนถนนลอยเคราะห์มุ่งหน้าสู่ตลาดไนบาร์ซ่า เลยวัดลอยเคราะห์มานิดหน่อยจะพบสี่แยกให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 80 เมตร วัดช่างฆ้องจะอยู่ซ้ายมือ
แผนที่วัดช่างฆ้อง https://goo.gl/maps/susYsR2E6Z1HJpXf8
ขอบคุณข้อมูล เชียงใหม่นิวส์ และ BlogGang