ดอยอินทนนท์ คือที่สุดของความสูงและความหนาวเป็นความภูมิใจของชาวไทยเพราะนี่คือ หลังคาสยาม
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เป็นอีกหนึ่งอุทยานฯ ยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยว ที่มีผู้มาเยือนกันตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวมีผู้คนจำนวนมากต่างต้องการมาสัมผัสความหนาวอยางสุดขั้ว และได้ขึ้นชือว่าครั้งหนึ่งในชีวิตได้มายืนอยู่บนจุดที่สูงที่สุดของประทศไทยบนยอดดอยอินทนนท์ เทือกเขาซึ่งเป็นปลายสุดของเทือกเขาหิมาลัยที่วางตัวทอดยาวมาจากประเทศเนปาล สูงจากระดับน้ำทะเล 2565 เมตร
นอกจากจุดสูงสุดแดนสยามแล้วอุทยานฯ แห่งนี้ยังมีน้ำตกให้เที่ยวชมฉ่ำเย็นอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะน้ำแม่ยะที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของเชียงใหม่ ช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม มีดอกกุหลาบพันปีสีแดงสดรอนักท่องเที่ยวนิยมไพรอยู่บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปานอีกด้วย
ที่ตั้งและการเดินทาง |
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 119 หมู่ที่ 7 ต.บ้านหลวง อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ 50160 โทรศัพท์ : 0 5328 6730, 0 5328 6728 โทรสาร : 0 5328 6728 ผู้บริหาร : เกรียงศักดิ์ ถนอมพันธ์ ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ |
รถยนต์ |
จาก ตัวเมืองเชียงใหม่ เดินทางโดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ผ่านอำเภอหางดงและอำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 (จอมทอง-ดอยอินทนนท์) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 48 กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 31 |
บ้านพัก และค่ายพักแรม |
สอบถามได้ที่ 053-286-730 (ฝ่ายบ้านพักและบริการข้อมูล) หรือดูรายละเอียดได้ที่ Mobile : 086-919-3589 (เก่ง ดอยอินฯ) |
โซน | ชื่อที่พัก-บริหาร | ห้องนอน | ห้องน้ำ | คน/หลัง | ราคา/คืน | สิ่งอำนวยความสะดวก |
---|---|---|---|---|---|---|
โซนที่ 1 | 1. อินทนนท์ 101 (ข้าวตอกฤาษี) | 8 | 8 | 23 | 6,500 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 1 | 2. อินทนนท์ 102 (กุหลาบแดง) | 2 | 2 | 8 | 3,000 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 1 | 3. อินทนนท์ 103 (ทานตะวัน) | 3 | 2 | 6 | 2,500 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 1 | 4. อินทนนท์ 104 (อินทนิล) | 3 | 3 | 7 | 3,000 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 1 | 5. อินทนนท์ 105 (ราชพฤกษ์) | 4 | 3 | 10 | 3,500 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 1 | 6. อินทนนท์ 106 (กุหลาบขาว) | 2 | 2 | 8 | 3,000 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 1 | 7. อินทนนท์ 107 (ดาวเรือง) | 1 | 1 | 3 | 1,000 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 1 | 8. อินทนนท์ 108 (บุษบง) | 1 | 1 | 3 | 1,000 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 1 | 9. อินทนนท์ 109 (นนทรี) | 1 | 1 | 3 | 1,000 | เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว |
โซนที่ 3 | 10. อินทนนท์ 931 (ค่ายเยาวชน) | 1 | 0 | 15 | 1,500 | เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม |
โซนที่ 3 | 11. อินทนนท์ 932 (ค่ายเยาวชน) | 1 | 0 | 15 | 1,500 | เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม |
โซนที่ 3 | 12. อินทนนท์ 933 (ค่ายเยาวชน) | 1 | 0 | 15 | 1,500 | เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม |
โซนที่ 3 | 13. อินทนนท์ 934 (ค่ายเยาวชน) | 1 | 0 | 15 | 1,500 | เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม |
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้ |
โซน | โซนที่พัก-บริการ | คำอธิบาย |
---|---|---|
โซนที่ 1 | อินทนนท์ 101-104 | บ้านพักเดี่ยว โซนดงสน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 1 กิโลเมตร |
โซนที่ 1 | อินทนนท์ 105-107 | บ้านพักเดี่ยว โซนดงสน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 1 กิโลเมตร |
โซนที่ 1 | อินทนนท์ 108-110 | บ้านพักเดี่ยว โซนดงสน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 1 กิโลเมตร |
โซนที่ 3 | อินทนนท์ 931-934 | ค่ายเยาวชน โซนน้ำตกแม่ปาน-ห้วยทรายเหลือง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 15 กิโลเมตร |
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่ จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต คลิกที่นี่ |
ห้องประชุม |
โซน | ชื่อห้องประชุม | รองรับ ได้ (คน) |
ราคา (บาท) | สิ่งอำนวยความสะดวก |
---|---|---|---|---|
โซนที่ 1 | 1. อินทนนท์ 011 – ห้องประชุม 1 – หอประชุมใหญ่ (09.00 – 12.00 น.) | 120 | 1,000 | ห้องพัดลม 100 คนขึ้นไป, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้ |
โซนที่ 1 | 2. อินทนนท์ 011 – ห้องประชุม 1 – หอประชุมใหญ่ (13.00 – 16.00 น.) | 120 | 1,000 | ห้องพัดลม 100 คนขึ้นไป, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้ |
โซนที่ 1 | 3. อินทนนท์ 011 – ห้องประชุม 1 – หอประชุมใหญ่ (18.00 – 21.00 น.) | 120 | 1,000 | ห้องพัดลม 100 คนขึ้นไป, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้ |
โซนที่ 1 | 4. อินทนนท์ 012 – ห้องประชุม 2 – อาคารกาญจนา (09.00 – 12.00 น.) | 40 | 400 | ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้ |
โซนที่ 1 | 5. อินทนนท์ 012 – ห้องประชุม 2 – อาคารกาญจนา (13.00 – 16.00 น.) | 40 | 400 | ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้ |
โซนที่ 1 | 6. อินทนนท์ 012 – ห้องประชุม 2 – อาคารกาญจนา (18.00 – 21.00 น.) | 40 | 400 | ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้ |
โซน | โซนห้องประชุม | คำอธิบาย |
---|---|---|
โซนที่ 1 | อินทนนท์ 011-012 – ห้องประชุม 1-2 | ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ |
แหล่งท่องเที่ยว |
ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยเป็นของทุก ๆ คน ขอเถิดครับ มาช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานสืบไป |
ด้านประวัติศาสตร์ |
พระมหาธาตุเจดีย์ พระ มหาธาตุเจดีย์มีด้วยกัน 2 องค์ ได้แก่ พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริและพระมหาธาตุนภเมทนีดล ซึ่งสร้างขึ้นโดยทหารอากาศเพื่อเฉลิมฉลองพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชครบรอบ 60 ปี บริเวณโดยรอบประดับด้วยดอกไม้เมืองเหนือสวยงาม มีร้านอาหารและห้องน้ำสะดวกสบาย ซึ่งทางทหารอากาศจะเก็บค่าผ่านเข้าชมเพื่อนำเงินไปบำรุงรักษาสถานที่และพรรณ ไม้ต่าง ๆ ภายในพระมหาธาตุเจดีย์ |
กิจกรรม : ชมพรรณไม้ ชมทิวทัศน์ ชมวัฒนธรรมและประเพณี |
ด้านธรรมชาติที่สวยงาม |
กลุ่มน้ำตกแม่ปาน ประกอบ ด้วยน้ำตก 7 แห่ง ได้แก่ น้ำตกแม่ปาน น้ำตกออบน้อย น้ำตกผาสำราญ น้ำตกสองพี่น้อง น้ำตกธารทอง น้ำตกแท่นพระสังข์ และน้ำตกห้วยทรายเหลือง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (กม.31) ไปตามถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ไปยังด่านตรวจที่ 2 (กม.38) แยกซ้ายไปทางอำเภอแม่แจ่มประมาณ 6 กิโลเมตร มีทางแยกขวาเข้าไปหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อน.2 (แม่แจ่ม) ประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาสำราญ (น้ำตกแม่ปาน-ห้วยทรายเหลือง) เป็นแส้นทางวงรอบ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,150 เมตร สามารถเริ่มเดินจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติไปตามเส้นทางเข้าน้ำตกแม่ปาน จะพบเห็นน้ำตกได้ทั้ง 7 แห่ง และกลับมายังจุดเริ่มต้นบริเวณหน่วยฯ ชมน้ำตกห้วยทรายเหลือง |
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ เที่ยวน้ำตก ชมพรรณไม้ ดูนก ดูผีเสื้อ |
จุดชมทิวทัศน์ กม. 41 จุด ชมทิวทัศน์อยู่ตรงกิโลเมตรที่ 41 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของขุนเขาสลับซับซ้อน โดยเฉพาะยามเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมเหนือหุบเขาน่าชมมาก จากจุดชมทิวทัศน์สามารถมองเห็นพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริสูงเด่นอยู่คู่กัน |
กิจกรรม : ชมทิวทัศน์ |
ถ้ำบริจินดา เป็น ถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีความลึกหลายกิโลเมตร เพดานมีหินงอกหินย้อยหรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “นมผา” และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน นอกจากนี้ยังมีธารหิน เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับดังกากเพชรงามยิ่งนัก ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุ แสงสว่างลอดเข้ามาได้ ทางเข้าอยู่ทางขวามือห่างจากด่านตรวจไปประมาณ 500 เมตร เข้าไปตามทางอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จนสุดทางที่ริมน้ำแม่หอย จากนั้นต้องเดินข้ามลำน้ำและผ่านป่าไผ่ไปอีก 1 กิโลเมตร จึงถึงถ้ำบริจินดา ปล. เป็นถ้ำตาย (ไม่สวยงาม) เส้นทางรก ไม่ค่อยมีคนเดิน ค่อนข้างอันตรายต่อนักท่องเที่ยว |
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา |
น้ำตกแม่กลาง เป็น น้ำตกขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี และมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ให้เล่นน้ำหลายแห่ง แต่ในช่วงฤดูฝนกระแสน้ำไหลแรงจนอาจเป็นอันตรายต่อการเล่นน้ำ น้ำตกแม่กลางอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ จากถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ประมาณ กม.ที่ 8 ก่อนถึงด่านตรวจของอุทยานแห่งชาติ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกแม่กลาง สามารถเดินลัดเลาะตามเส้นทางเดินไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากน้ำตกแม่กลางประมาณ 400 เมตร ผ่านเหมืองฝายและภาพเขียนสีผาคันนา |
กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์ เที่ยวน้ำตก ชมทิวทัศน์ |
น้ำตกแม่ยะ อยู่ ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เกิดจากลำห้วยแม่ยะ ไหลลดหลั่นลงมาถึง 30 ชั้น รวมความสูงประมาณ 260 เมตร จนกล่าวกันว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของประเทศ ในช่วงฤดูฝนสายน้ำตกจะแผ่กว้างถึง 100 เมตร ฤดูแล้งปริมาณน้ำอาจลดน้อยลง แต่สายน้ำตกจะใสสะอาดกว่า น้ำตกแม่ยะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เมื่อเข้าสู่ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ ได้ประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร |
กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก ชมพรรณไม้ แค้มป์ปิ้ง ดูนก ดูผีเสื้อ |
น้ำตกวชิรธาร มี อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า น้ำตกตาดฆ้องโยง เกิดจากลำห้วยแม่กลาง อยู่ประมาณหลักกม.ที่ 20 ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 70-80 เมตร สายน้ำไหลตกจากหน้าผาลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ในยามที่แสงอาทิตย์ส่องกระทบละอองน้ำจะปรากฏสายรุ้งงดงามขึ้นเหนือธารน้ำ ตรงข้ามมีหน้าผาสูงชัน เรียกว่า “ผามอแก้ว” หรือภายหลังเรียกว่า ผาแว่นแก้ว
|
กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก ชมทิวทัศน์ ดูนก |
น้ำตกวังควาย เป็น น้ำตกที่เหมาะในการลงเล่นน้ำในสายน้ำที่เย็นฉ่ำไหลเซาะลดเลี้ยวตามลานหินลด หลั่นเป็นชั้นๆ พื้นน้ำเป็นทรายเม็ดละเอียด อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่มาตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 58 ก่อนถึงตลาดจอมทองเลี้ยวขวาขึ้นไปตามถนนจอมทอง-ดอยอินทนนท์ระยะทางประมาณ 9.7 กิโลเมตร
|
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ เที่ยวน้ำตก ชมทิวทัศน์ ดูนก ดูผีเสื้อ |
น้ำตกสิริธาร ตั้ง อยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงใหม่ประมาณ 81 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ประมาณกิโลเมตร 58 เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ประมาณ 23 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปจุดชมทิวทัศน์น้ำตกสิริธาร ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 100 เมตร คดเคี้ยวไปตามความลาดชันของภูเขา
|
กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก ชมทิวทัศน์ ดูนก |
น้ำตกสิริภูมิ เดิม ชื่อ น้ำตกเลาลี ตามชื่อของชาวเขา ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านที่อยู่ใกล้น้ำตกนี้ ต่อมา ม.ร.ว.จักรทอง ทองใหญ่ เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขนานนามว่า “สิริภูมิ” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง -เจ้าพระบรมราชินีนาถ น้ำตกนี้อยู่ที่บ้านขุนกลาง ใกล้ กม.ที่ 31 ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตก 2 สาย ที่ไหลคู่กันลงมาจากหน้าผาสูงซึ่งสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล
|
กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก ชมพรรณไม้ ชมทิวทัศน์ ดูนก ดูผีเสื้อ |
ผาแง่มน้อย ผา แง่มน้อย “แง่ม” เป็นภาษาประจำถิ่นของภาคเหนือ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ง่าม” ในภาษาไทย เป็นคำนามใช้เรียกลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น 2 หรือ 3 ผาแง่มน้อยเป็นหิน 2 แท่ง ตั้งอยู่คู่กันริมเส้นทางเดินชมธรรมชาติกิ่วแม่ปาน หินที่ประกอบขึ้นเป็นผาแง่มน้อยได้แก่หินแกรนิตเนื้อปานกลางยุคไทรแอสซิก มีอายุประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว หินแกรนิตในบริเวณนี้เกิดจากหินหลอมเหลวที่ดันตัวตัดผ่านหินไนส์ ที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 530 ล้านปี ยุคพรีแคมเบรียน เมื่อหินหลอมเหลวที่ยังอยู่ใต้ผิวโลกเย็นตัวลง มวลของหินแกรนิตมีการหดตัวและปรากฏรอยแตกบริเวณขอบของมวลหิน เมื่อเวลาผ่านไปเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ปรากฏการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นคือ กระบวนการก่อเทือกเขา ทำให้ผิวโลกมีการยกตัวขึ้นเป็นภูเขา ปรากฏการณ์ที่สำคัญต่อมาหลังจากที่หินปรากฏบนผิวโลกคือการผุพังอยู่กับที่ และการกัดกร่อน หินแกรนิตเกิดจากแร่ประกอบหินหลายชนิด เช่น ควอรตซ์ เฟลด์สปาร์ ไบโอไทต์ และมัสโคไวท์ แร่ประกอบหินแต่ละชนิดมีอัตราการผุพังที่ต่างกัน เช่น แร่เฟลด์สปาร์ จะผุพังง่าย และเร็วกว่าแร่ควอรตซ์ ผาแง่มน้อยเป็นหินแกรนิตเช่นเดียวกับหินที่อยู่ข้างเคียง แต่เนื้อหินของผาแง่มน้อยมีปริมาณแร่ควอรตซ์มากกว่าหินที่อยู่ข้างเคียง และหินข้างเคียงก็มีปริมาณแร่เฟลด์สปาร์ที่มากกว่าหินส่วนที่เป็นหน้าผา ผาแง่มน้อยจึงเป็นผลลัพธ์ของความต่างของอัตราเร็วในการผุพัง โดยส่วนที่เป็นผาแง่มน้อยมีความทนทานต่อการผุพังมากกว่าหินที่อยู่ข้างเคียง นอกจากนี้อาจเกี่ยวข้องกับความถี่ของรอยแตกที่หินข้างเคียงมีมากกว่าหินส่วน ที่เป็นผาแง่มนี้ด้วย |
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา ชมทิวทัศน์ ดูนก |
ยอดดอยอินทนนท์ เป็น ยอดเขาสูงสุดของประเทศ อากาศบนยอดดอยหนาวเย็นประดุจดังอยู่ในเมืองหนาว ยามฤดูหนาวหนาวจัด มีเมฆหมอกครึ้ม บรรยากาศดังกล่าวไม่อาจหาได้ในส่วนอื่นของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณ อ่างกาหลวง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นจุดที่สามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันชวนหลงไหลของป่าดิบเขาได้ง่ายที่สุด ภายในจัดทำเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ 300 เมตร โดยใช้สะพานไม้ทั้งหมด เพื่อป้องกันมิให้เหยียบย่ำธรรมชาติอันเปราะบางเสียหาย เส้นทางจะวนกลับมา ณ จุดเริ่มต้น มีป้ายให้ความรู้เรื่องธรรมชาติตลอดเส้นทาง บรรยากาศในอ่างกาหลวงปกคลุมด้วยเมฆที่ลอยพัดผ่านเข้ามาตลอดเวลา อากาศจึงชื้นและเต็มไปด้วยละอองน้ำ ทำให้ต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบเขามีมอสและเฟินขึ้นหุ้มเต็มต้นจนแลดูราวกับป่าใน ยุคดึกดำบรรพ์ จุดเด่นของเส้นทางนี้ ได้แก่ ต้นกุหลาบพันปีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ กุหลาบพันปีจะบานอวดดอกสีแดงสดดึงดูดให้นกมากินน้ำหวานและช่วยผสมเกสร เช่น นกกินปลีหางยาวเขียว นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้าฯลฯ ส่วนตามโคนต้นกุหลาบพันปีมีข้าวตอกฤาษีขึ้นปกคลุมราวกับพรมธรรมชาติ ข้าวตอกฤาษีเป็นมอสชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่นมีสีเขียวสลับส้มกับสีน้ำตาล อ่อนๆ มอสชนิดนี้จะขึ้นได้เฉพาะที่สูง ความชื้นมาก และอากาศหนาวเย็นเท่านั้น นอกจากนี้ในอ่างกาหลวงยังมีพรุน้ำจืดที่อยู่สูงที่สุดของประเทศ ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์เฉพาะถิ่นหายากบางชนิด และเป็นถิ่นอาศัยของนกบนที่สูงจำนวนมากซึ่งสามารถพบเห็นได้ค่อนข้างง่าย เช่น นกศิวะหางสีตาล นกอีแพรดท้องเหลือง นกกะรางหัวแดง นกจับแมลงหน้าผากขาว ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวยังมีนกอพยพย้ายถิ่นนานาชนิดบินมาอาศัย ทำให้ดอยอินทนนท์เป็นแหล่งดูนกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ บริเวณจุดสูงสุดบนยอดดอยอินทนนท์นี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระสถูปของพระเจ้า อินทวิชยานนท์ ผู้เป็นที่มาของชื่อดอยอินทนนท์แห่งนี้อีกด้วย |
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมประวัติศาสตร์ ชมพรรณไม้ ชมทิวทัศน์ ดูนก |
เส้นทางดูนก กม.38 อยู่ ใกล้กับด่านตรวจอุทยานแห่งชาติ กม. ที่ 37.5 ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ นักดูนกมักเรียกเส้นทางนี้ว่า jeep track เนื่องจากเป็นทางเดินราบเรียบสะดวกสบายผ่านไปท่ามกลางป่าดิบเขาที่ระดับความ สูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากป่าดิบเขาบริเวณยอดดอยอินทนนท์ โดยมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ เช่น พญาไม้มณฑาดอย ฯลฯ สำหรับนกที่พบเห็นได้ง่าย เช่น นกมุ่นรกตาแดง นกขมิ้นแดง นกเปลือกไม้ นกปลีกล้วยลาย นกติ๊ดแก้มเหลือง ฯลฯ รวมทั้งมีนกหายากซึ่งมีรายงานการพบบนเส้นทางนี้ คือ นกปีกแพรสีม่วง และนกปีกแพรสีเขียว |
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมพรรณไม้ ดูนก |
ด้านวัฒนธรรมและประเพณี |
หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่แอบใน เป็น หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง หรือ ปกาเกอะญอ ชมการดำนินชีวิตที่เรียบง่าย เช่น การทอผ้า การตำข้าว การขับกล่อมบทกลอน “ทา” “ซอ” การเล่นเตหน่า รำดาบ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น การเลี้ยงผีฝาย ผีนา เป็นต้น ในหมู่บ้านมีการบริการที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Home Stay |
กิจกรรม : ชมวัฒนธรรมและประเพณี |
หมู่บ้านม้งขุนยะน้อยและม้งบ้านขุนกลาง (ตลาดม้ง) เป็น หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรมม้ง บ้านขุนยะน้อย เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง จำนวนประมาณ 70 หลังคาเรือน อยู่ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 เมตร มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์จากพื้นที่สูงได้ไกล บริเวณโดยรอบหมู่บ้านมีสภาพป่าดิบเขาที่ยังคงความสมบูรณ์ และการอนุรักษ์ป่า “ดงเซ้ง” และต้นไม้ขนาดใหญ่ 7-8 คนโอบ การดำเนินชีวิตของชาวเขาเผ่าม้งนี้ยังคงใช้วิถีชีวิตวัฒนธรรมเดิมๆ อยู่มาก เช่น การแต่งกาย การตีมีดแบบดั้งเดิม การโม่ข้าวหรือข้าวโพดด้วยโม่หิน การทำเหล้าข้าวโพด การสร้างบ้าน การทอผ้า และการจัดประเพณีต่างๆ เป็นต้น ในหมู่บ้านมีการบริการที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Home Stay |
กิจกรรม : ชมวัฒนธรรมและประเพณี ยังไม่เปิดท่องเที่ยว |
ด้านศึกษาธรรมชาติ |
โครงการเพาะพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ โครงการ นี้เกิดขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ พระบรมราชินีนาถ ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ที่กำลังจะหมดไปจากป่าธรรมชาติ สภาพแวดล้อมเป็นสวนหินที่สวยงาม และทางโครงการฯ ได้จัดทำสวนกล้วยไม้ และสวนดอกไม้เมืองเหนือไว้อย่างสวยงาม |
กิจกรรม : ชมพรรณไม้ ชมทิวทัศน์ ดูนก |
โครงการหลวงอินทนนท์ โครงการ หลวงอินทนนท์ จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาเปลี่ยนอาชีพจากการปลูกฝิ่นมาเป็น เกษตรกรรม ภายในโครงการหลวงนั้นมีพรรณไม้ให้ชมหลากหลาย เช่น สวนเฟิน สวนกระบองเพชร และไม้ดอกไม้ประดับเมืองเหนือ อีกทั้งยังมีร้านอาหารไว้ให้บริการอีกด้วย |
กิจกรรม : ชมพรรณไม้ ชมทิวทัศน์ |
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ กิ่วแม่ปาน อยู่ ตรง กม.ที่ 42 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ ใกล้กับพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ เส้นทางนี้จะผ่านสภาพธรรมชาติที่แตกต่างกัน 2 ลักษณะ คือ ป่าดิบเขากับทุ่งหญ้าบนสันเขา ทางช่วงแรกผ่านเข้าไปในป่าดิบเขาซึ่งมีบรรยากาศร่มครึ้ม มีแสงแดดส่องลงมาเพียงรำไรตามพื้นป่าเต็มไปด้วยเฟินหลากหลายชนิด มีมอสสีเขียวขึ้นคลุมตามโคนต้นไม้และบริเวณริมห้วยที่ชุมชื้น ทางจะเดินขึ้นเขาจนทะลุออกยังทุ่งหญ้าโล่งกว้างของสันกิ่วแม่ปานซึ่งมีแสง แดดจ้าและสายลมแรง ทำให้บรรยากาศเปลี่ยนไปจากสภาพที่ผ่านมาทันที ทุ่งหญ้าบริเวณนี้เคยเป็นป่าดิบเขามาก่อน แต่ได้ถูกบุกรุกทำลายไปจนมีสภาพดังเช่นปัจจุบัน จากนี้ทางเดินจะเลียบไปตามสันเขาที่มีดงต้นกุหลาบพันปี รวมทั้งไม้พุ่มขนาดเล็กอย่างช้ามะยมดอยและต่างไก่ป่า ซึ่งเป็นตัวอย่างของสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ให้ศึกษา ทางช่วงสุดท้ายจะเข้าสู่ป่าดิบเขาอีกครั้งและไปสิ้นสุดที่จุดเริ่มต้นของ เส้นทาง รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง เส้นทางนี้อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ผู้สนใจต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินเที่ยวชมคือ เดือนธันวาคม-มกราคม ส่วนในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม เส้นทางนี้ปิดให้บริการเพื่อให้เวลาธรรมชาติฟื้นตัว |
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมทิวทัศน์ ดูนก |
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ถ้ำบริจินดา เส้น ทางสายถ้ำบริจินดา เป็นทางระยะสั้น เริ่มต้นที่กิโลเมตรที่ 8.5 ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องกำเนิดถ้ำ สิ่งมีชีวิตในถ้ำ การเกิดหินงอกหินย้อย สภาพป่าเบญจพรรณผสมกับป่าเต็งรัง |
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา ดูนก ยังไม่เปิดท่องเที่ยว |
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ กม.38–น้ำตกสิริภูมิ เริ่ม ต้นริมถนนกิโลเมตรที่ 38 ตรงข้างทางแยกไปอำเภอแม่แจ่ม เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกลประมาณ 5.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการดูนกที่อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาระดับ 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล |
กิจกรรม : ชมพรรณไม้ ชมทิวทัศน์ เดินป่าระยะไกล ดูนก ยังไม่เปิดท่องเที่ยว |
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ปางสมเด็จ-ผาหมอน เป็น ทางเดินป่าระยะไกล ประมาณ 6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 4 ชั่วโมง เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบการเดินป่าโดยเฉพาะ และต้องการศึกษาเส้นทางเดินป่าสมัยที่ยังไม่มีถนนตัดขึ้นดอยอินทนนท์ |
กิจกรรม : ชมพรรณไม้ ชมทิวทัศน์ เดินป่าระยะไกล ดูนก ยังไม่เปิดท่องเที่ยว |
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ผาแว่นแก้ว-น้ำตกวชิรธาร-บ้านสบหาด ระยะ ทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องของสังคมป่าผสมผลัดใบ โดยเฉพาะในเดือนมกราคม ผืนป่าจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ชมทิวทัศน์ของน้ำตกแม่กลาง น้ำตกวชิรธาร ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงบ้านสบหาด การทำการเกษตร และที่ผาแว่นแก้ว ซึ่งมีภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์อายุ 2,000-3,000 ปี |
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมประวัติศาสตร์ ชมพรรณไม้ ชมทิวทัศน์ ชมวัฒนธรรมและประเพณี ดูนก ยังไม่เปิดท่องเที่ยว |
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ยอดดอย-น้ำตกสิริภูมิ เป็น เส้นทางเดินป่าระยะไกลประมาณ 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 5 ชั่วโมง เหมาะสำหรับศึกษาความแตกต่างของพรรณไม้ในระดับความสูงที่ถูกทำลาย การฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมอาชีพชาวเขา และชมทิวทัศน์ของหุบเขาด้านล่าง |
กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก ชมพรรณไม้ ชมทิวทัศน์ เดินป่าระยะไกล ดูนก ยังไม่เปิดท่องเที่ยว |
เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกผาดอกเสี้ยว ระยะ ทางประมาณ 2,500 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องของสังคมป่าเต็งรังผสมป่าสน คุณประโยชน์ของป่า วิถีชีวิตชาวปกาเกอญอ นาขั้นบันได และชมน้ำตกผาดอกเสี้ยว
|
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ เที่ยวน้ำตก ชมพรรณไม้ ดูนก |
เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา อยู่ บนยอดดอยอินทนนท์ เส้นทางนี้สามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันชวนหลงใหลของป่าดิบเขาได้ง่ายที่สุด ภายในจัดทำเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ 300 เมตร โดยใช้สะพานไม้ทั้งหมด
|
กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมพรรณไม้ |
สิ่งอำนวยความสะดวก |
ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย บริเวณลานกางเต็นท์ และแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ มีห้องน้ำไว้ให้บริการ (แยกชาย – หญิง) โดยเฉพาะลานกางเต็นท์ มีห้องอาบน้ำไว้บริการด้วย |
ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ |
ที่พักแรม/บ้านพัก มีบ้านพัก ค่ายพักแรม ให้บริการ |
ลานกางเต็นท์ อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว บริเวณโซนดงสน สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 300 – 400 คน นอกจากนี้ยังมีสถานที่กางเต็นท์โซนผาตั้งและโซนห้วยทรายเหลืองเปิดให้บริการ ด้วย การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง |
ที่จอดรถ มีลานจอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว |
บริการอาหาร มีร้านอาหารไว้บริการ |
ร้านขายเครื่องดื่ม มีร้านขายเครื่องดื่ม กาแฟ ไว้บริการนักท่องเที่ยว |
ร้านขายของที่ระลึก มีของที่ระลึกต่าง ๆ พื้นเมืองสำหรับเป็นของฝากของที่ระลึก |
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้ บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 – 16.30 น. เช่นกัน |
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้ บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 – 16.30 น. |
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ศูนย์ บริการฯ ตั้งอยู่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ กม. 31 มีเจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางการติดต่อของอุทยานฯ เลยก็ว่าได้ อีกทั้งยังมีการให้บริการ Internet ฟรี อีกด้วย โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งประเทศไทยและองค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย |
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 119 หมู่ที่ 7 ต.บ้านหลวง อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ 50160 โทรศัพท์ 0 5328 6730, 0 5328 6728 โทรสาร 0 5328 6728 อีเมล inthanon_np@hotmail.com |
ข้อมูลจาก เว็บไซต์ของอุทยานแห่งชาติ