หน้าแรกประเพณีและวัฒนธรรมประเพณียี่เป็ง ล้านนา

ประเพณียี่เป็ง ล้านนา

ประเพณียี่เป็ง (5)

ทุกครั้งที่เทศกาลลอยกระทงมาถึง นักท่องเที่ยวทุกชาติในจังหวัดเชียงใหม่ จะถูกห้อมล้อมไปด้วยบรรยากาศสไตล์ล้านนาอย่างแท้จริง ทั้ง แสง สี เสียง ไม่เว้นแม้แต่กลิ่น กลิ่นในที่นี้ คือกลิ่นของควันพุ ดอกไม้ไฟ กลิ่นดอกไม้หอม ที่ทุกคนนำมาร่วมในงานยี่เป็งแบบนี้

อีกกิจกรรมที่พบเห็นได้โดยทั่วไป คือการลอยโคมนับพันๆ ใบขึ้นสู่ท้องฟ้าในคืนลอยกระทงของชาวล้านนาที่จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒  โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นภาพที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและจดจำประเพณียี่เป็งในแบบนั้น แท้จริงแล้วประเพณียี่เป็งนั้นมีรายละเอียด มีพิธีกรรมอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต การปฏิบัติของชาวล้านนา ทำให้ประเพณียี่เป็งยังคงเป็นประเพณีที่ชาวล้านนาถือปฏิบัติสืบต่อมาอย่างยาวนาน

ยี่เป็ง เป็นภาษาล้านนา แยกได้สองคำ คือคำว่า ยี่ ที่หมายถึง เดือนที่สองหรือเดือนยี่ตามที่คนล้านนาใช้เรียกเดือนพฤศจิกายนของทุกปี  และคำว่า เป็ง ที่หมายถึงพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ  โดยชาวล้านนาจะเริ่มประเพณียี่เป็งตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ ค่ำ จะเป็นวันเตรียมข้าวของสำหรับทำบุญที่วัดในวันขึ้น ๑๔  ค่ำ  และในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ก็จะนำกระทงไปลอยในแม่น้ำ

ประเพณียี่เป็ง (2) ประเพณียี่เป็ง (4)

ประเพณียี่เป็งของชาวล้านนานั้นอยู่บนรากฐานความเชื่อเดียวกับประเพณีลอยกระทงในภูมิภาคอื่น วัตถุประสงค์สำคัญคือ  ขอขมาแม่พระคงคา บูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวล้านนา การเฉลิมฉลองงานประเพณีลอยกระทงแบบล้านนานจะเป็นการประดับตกแต่งโคมตามบ้านเรือน จัดซุ้มประตูป่าหรือซุ้มประตูเข้าสู่ปรัมพิธีประกอบพิธีกรรมของหมู่บ้าน เข้าวัดทำบุญทำทาน ฟังเทศน์มหาชาติ ซึ่งจะต่างจากการฉลองของภูมิภาคอื่นที่เน้นกิจกรรมยามค่ำคืน เช่น การเผาเทียนเล่นไฟ การลอยประทีบ ลอยกระทง

ประเพณีปฏิบัติของชาวล้านนาในเทศกาลยี่เป็ง หลักๆ แล้ว จะพาเข้าวัดทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตนเองและครอบครัว  มีการตกแต่งสถานที่ด้วย ซุ้มประตูป่า ประดับไฟสีต่างๆ ตอนหัวค่ำจะพากันไปบูชาเทียนพระประธานในวิหารโบสถ์เพื่อสืบชะตา รับโชค และสะเดาะเคราะห์ โดยเทียนนี้จะใช้ไส้เทียนเท่าอายุของตัวเองหรืออาจจะเผื่อไว้เล็กน้อย กระดาษสาที่เขียนคาถา วันเดือนปีเกิดของคนๆ นั้น  เมื่อกลับมาบ้านก็จะจุดบูชาพระพุทธรูปที่บ้าน จุดประทีบหน้าบ้าน จุดดอกไม้ไฟ ปล่อยโคมลอย

[box type=”note” align=”” class=”” width=””]ประเพณียี่เป็ง หรือลอยโคมยี่เป็ง จุดที่มีการปล่อยโคมลอยมากที่สุดอยู่ที่ ธุดงคสถานล้านนา (งานบุญยี่เป็ง แม่โจ้) หรือติดต่อได้ที่ 155 หมู่ 8 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290
โทร. (053) 353 – 174 – 6, 089 – 700 – 8400
Fax. (053) 353 – 177  www.facebook.com/LANNADHUTANKA[/box]


RRกระทงที่ประดิษฐ์เองจากวัสดุธรรมชาติกิจกรรมที่ชาวล้านนาทำในคืนยี่เป็ง

การลอยสะเปาหรือภาชนะรูปร่างต่างๆ (ลอยกระทง) ทำจากหยวกกล้วยใส่เครื่องสักการะ ธูปเทียน พร้อมเครื่องอุปโภคแล้วนำไปลอยในแม่น้ำเพื่อเป็นการสักการะแม่พระคงคา  ประกอบกับความเชื่อที่ว่า การลอยสะเปาเป็นการทำบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นการสร้างบุญไว้สำหรับตนเองในภพชาติหน้า

การจิบอกไฟดอกหรือการจุดดอกไม้ไฟ ที่บรรจุอยู่ในกระบอกหรือกระปุกดินเผา  นิยมนำไปวางบนพื้นหรือฝังดินไว้ให้ปลายกระบอกโผล่พ้นดินขึ้นมาเล็กน้อย เวลาจุดชวน ดอกไม้ไฟจะลุกเป็นไฟพุ่งขึ้นจากพื้นดินแล้วกระจายตัวเป็นสะเก็ดไฟคล้ายพุ่มดอกไม้ ชาวล้านนาเชื่อกว่าการจิบอกไฟดอกนี้เป็นการน้อมสักการะบูชาพระรัตนตรัย และเป็นการละเล่นสนุกสนานอย่างหนึ่ง

ตำนานประเพณียี่เป็ง

ในคัมภีร์ใบลานที่ใช้เทศนาธัมม์ตามวัดต่างๆในล้านนา เช่น คัมภีร์อานิสงส์ประทีส คัมภีร์อานิสงส์ผางประทีส และคัมภีร์อานิสงส์ยี่เป็ง ลอยประทีสโคมไฟ เป็นคัมภีร์ที่มักใช้เทศนาธัมม์ในช่วงประเพณียี่เป็ง ในคัมภีร์เหล่านี้ ได้กล่าวถึงตำนานหรือมูลเหตุแห่งการบูชาและอานิสงส์ที่เกิดจากการบูชาผางประทีส ไว้ดังนี้

ธัมม์หรือคัมภีร์ชื่อ อานิสงส์ประทีส กล่าวไว้ว่า หลังจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมแล้วได้ประทับอยู่เมืองสาวัตถี และเสด็จไปโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเสด็จกลับลงมาโปรดพระพุทธบิดา เมื่อถึงเดือน ยี่เป็ง มีเทวบุตรตนหนึ่ง ชื่อ สยามาเทวบุตร พร้อมด้วยบริวารต้องการสักการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยประทีส จึงแปลงกายเป็นนก ใช้ปากและเท้าถือผางประทีสบินไปพร้อมนกแปลง ซึ่งเป็นบริวาร ประทักษิณรอบพระพุทธเจ้า ๓ รอบ ได้เกิดอัศจรรย์แสงประทีสสว่างไสวไปทั่วชมพูทวีป คนทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงได้พากันมาทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงเทศนา ประเพณียี่เป็ง

ยี่เป็ง (2) ยี่เป็ง (1)RRบรรยากาศภายในงาน00

ธรรมถึงอานิสงส์การจุดประทีสเป็นพุทธบูชาว่า การสักการบูชาประทีสในเดือนยี่เป็ง ถือเป็นการบูชาพระรัตนตรัย นอกจากนั้น อานิสงส์การบูชาประทีสยังส่งผลทำให้ผู้ถวายทานมีรูปร่างและผิวพรรณงดงามไปทุกๆ ชาติ เป็นที่รักแก่คนและเทวดาทั้งหลาย (อุดม รุ่งเรืองศรี, ๒๕๔๒, หน้า ๗๘๘๖)

ประเพณียี่เป็ง ธัมม์หรือคัมภีร์ชื่อ อานิสงส์ผางประทีส กล่าวไว้ว่า พระเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) พระศรีอริยะเมตไตร ที่ทั้งห้าพระองค์ได้กำเนิดจากแม่กาเผือกเป็นไข่ห้าฟอง และวันหนึ่งขณะที่แม่กาออกไปหาอาหารได้เกิดพายุ ทำให้ไข่ทั้งไข่ฟองพัดตกจากรังไหลไปตามแม่น้ำ และมีแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์เก็บไปเลี้ยง เมื่อไข่ทั้งห้าฟองฟักออกมาเป็นมนุษย์เพศชาย และได้บวชเป็นฤๅษีทั้งห้า
เมื่อฤๅษีทั้งห้าได้พบกัน จึงไตร่ถามถึงมารดาของแต่ละองค์ แต่ละองค์ก็ตอบว่า แม่ไก่เก็บมาเลี้ยง แม่นาคเก็บมาเลี้ยง แม่เต่าเก็บมาเลี้ยง แม่โคเก็บมาเลี้ยง และแม่ราชสีห์เก็บมาเลี้ยง ฤๅษีทั้งห้าจึงสงสัยว่าแม่ที่แท้จริงของตนเป็นใคร จึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ ด้วยคำอธิษฐานจึงทำให้พกาพรหมผู้เป็นแม่ได้แปลงกายเป็นกาเผือกบินลงมาเล่าเรื่องในอดีตให้ฤๅษีทั้งห้าฟัง และได้บอกว่าหากคิดถึงแม่ ให้น้ำด้ายดิบมาฟั่นเป็นตีนกา แล้วจุดเป็นประทีสบูชาในเดือนยี่เป็ง (อุดม รุ่งเรืองศรี, ๒๕๔๒, หน้า ๗๘๙๐)

ขบวนแห่นางนพมาศประเพณียี่เป็ง ธัมม์หรือคัมภีร์ชื่อ อานิสงส์ยี่เป็ง ลอยประทีสโคมไฟ ปรากฏในหนังสือ ธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่อง อานิสงส์ยี่เป็ง ลอยประทีปโคมไฟ (๒๕๓๐) กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวนาราม พระองค์ได้เทศนาชาดกเรื่อง อานิสงส์ยี่เป็ง ลอยประทีสโคมไฟ ว่า ในยุคของพระพุทธเจ้าชื่อโกนาคมนะ ครั้งหนึ่งพระสาวกชื่อ อุตตระ ได้เข้านิโรธสมาบัติในถ้ำสุตคูหาในดอยสิริทัตกะ และเมื่อออกจากนิโรธสมาบัติได้เกิดนิมิตว่า หากผู้ใดได้ถวาย

ทานแก่พระองค์ในวันพรุ่งนี้จะได้อานิสงส์เป็นอย่างมาก และได้เล็งเห็นด้วยญาณว่า มีชายทุกข์ไร้เข็ญใจผู้หนึ่งจะรอถวายทานแก่พระองค์ รุ่งเช้าพระองค์จึงได้อุ้มบาตรไปโปรดยังบ้านชายผู้นั้น ชายผู้นั้นเกิดปิติศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ถวายข้าวกับแคบหมูแก่พระองค์ และอธิษฐานขอให้ได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระศรีอริยะเมตไตร ที่จะมาบังเกิดในภายภาคหน้า เมื่อพระอุตตระได้กล่าวอนุโมทนาแล้ว ก็เสด็จกลับนำเอาแคบหมูมาบีบเป็นน้ำมันลงในผางประทีส และจุดบูชาพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ ซึ่งวันนั้นเป็นวันเดือนยี่เป็งพอดี พอจุดประทีสบูชาแล้วนั้น แผ่นดินที่หนาได้สองแสนสี่หมื่นโยชน์ก็ไหวเป็นที่อัศจรรย์ พญาโสกราชาจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า ว่า เป็นเพราะเหตุใด พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า มีชายทุกข์ไร้เข็ญใจได้ถวายแคบหมูใส่บาตรแก่พระอุตตระเถรเจ้า และพระอุตตระเถรเจ้าได้นำมาใส่ผางประทีสจุดเป็นพุทธบูชา เมื่อจุดบูชาในวันเดือนยี่เป็งจะมีผลานิสงส์มากนัก

พระพุทธเจ้าได้เทศนาธัมม์อานิสงส์เดือนยี่เป็งลอยประทีสโคมไฟให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า หากได้บูชาประทีสโคมไฟในวันเดือนยี่เป็ง จะได้ผลานิสงส์ผิวพรรณงดงามเป็นที่รักแก่คนและเทวดา ไม่มีโรคภัยเบียดเบียนและได้ไปเกิดบนสรวงสวรรค์ และในตอนท้ายของธัมม์กล่าวต่อไปว่า ในเดือนยี่เป็งบุคคลใดที่ทำประทีปโคมไฟ ไปลอยในแม่น้ำน้อยใหญ่ หนองวัง และโบกขรณี เพื่อบูชารอยพระพุทธบาตรริมฝั่งแม่น้ำเมืองนาคราชบาดาลก็ดี เมื่อเกิดมาในชาตินี้ จะได้เป็นพญาใหญ่โต ในแผ่นดิน ผิวพรรณงดงามดั่งพระจันทร์วันเพ็ญ มีฤทธิ์ปราบได้ทวีปทั้งสี่ เป็นที่เกรงขาม มีปัญญาหลักแหลม มีทรัพย์สมบัติ ช้าง ม้า วัว ควาย ข้าคน และได้เกิดบนสรวงสวรรค์ชั้นฟ้า

ข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ติดต่อเช่ารถพร้อมคนขับ/ซื้อสินค้า/โฆษณาข่าวสาร
Add friend ที่ @topcm
เพิ่มเพื่อน
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisment -