อำเภอพร้าว

คำขวัญอำเภอพร้าว เมืองเก่าวังหิน ถิ่นประเพณีล้ำค่า บูชาพระเจ้าล้านทอง เรืองรองเกษตรกรรม แดนธรรมหลวงปู่แหวน

ดอยม่อนล้าน อำเภอพร้าว อีกสถานที่หนึ่งที่จะพบแม่คะนิ้งได้ในหน้าหนาว ชมทะเลหมอกดอยหลวงเชียงดาว เพราะอำเภอพร้าว เชื่อมต่อกับ 3 อำเภอ โดยอำเภอพร้าวนี้ตั้งอยู่ในหุบเขา ล้อมรอบด้วยภูเขารอบด้าน  ซึ่งอาจทำให้มีผู้คนมาเที่ยวไม่ค่อยมากนัก

เมื่อใครได้มาสัมผัสกับเมืองพร้าว ทำให้รู้ว่าที่นี้เป็นเมืองสงบ วัฒนธรรม การเป็นอยู่ ยังคงดูไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเมืองมากนัก บ้านเรือน ร้านค้าแทบทั้งหมด เป็นบ้านไม้ มาแล้วอยากย้ายบ้านมาอยู่ที่พร้าวเลยครับ  ที่อำเภอพร้าว มีตลาดโต้รุ่ง ที่เดียว ร้านอาหารมีไม่มาก มีเซเว่น และโลตัสเอ็กเพลสด้วยครับ

ส่วนที่เที่ยว หากมาจากเมืองเชียงใหม่แวะ น้ำตกบัวตอง-น้ำพุเจ็ดสี ที่มีชื่อเสียงกันก่อน ส่วนที่เที่ยวอื่นๆ อย่างเช่น ถ้ำหลาก ผาตั้งและวังชมภู น้ำตกผาลาด น้ำตกคะนึงนาง อ่างเก็บน้ำแม่วะ น้ำตกตาดเหมย ชื่อนี้คงได้ยินกันมาบ้างเพราะมีชื่อเสียง ททท. เคยโปรโมทอยู่พักหนึ่งครับ

อำเภอพร้าว (5) อำเภอพร้าว (6)
น้ำตกบัวตอง

พร้าว ดินแดนธรรมะ  หลวงปู่แหวน ท่านเคยอยู่ และสร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอพร้าวเป็นอย่างมาก มีผู้ศัรทธาเลื่อมใสท่านอย่างมากมาย ตามรอยหลวงปู่แหวนที่วัดดอยแม่ปั๋ง  นอกจากนั้นยังมีวัดถ้ำดอกคำ วัดพระเจ้าล้านทองพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุกลางใจเมือง(วัดสะดือเมือง) โบราณสถานพระธาตุม่วงเนิ้งวัดศรีดอนไชยทรายมูล (สถานที่ประดิษฐ์พระฝนแสนห่า) วัดพระเจ้าตนหลวง (พระเจ้านั่งช้าง) มีประเพณีในการสรงน้ำพระธาตุทำบุญทุก ๆ เดือน 8 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ และพระธาตุดอยกาหลง วัดพระธาตุนาง

อำเภอพร้าว (3) อำเภอพร้าว (2) อำเภอพร้าว (1) อำเภอพร้าว (4)

อำเภอพร้าว มีชื่อเรียกตามภาษาพื้นบ้านว่า เมืองป้าว เป็นเมืองโบราณที่มีชื่อเสียงในสมัยโบราณว่า เวียงพร้าววังหิน หรือ เวียงแจ้สัก ปัจจุบันเรียกว่า เมืองพร้าว มีประวัติความเป็นมาปรากฏตามตำนานโยนก ดังนี้

ประวัติอำเภอพร้าว

พุทธศักราช 1780 พระเจ้าราวเม็ง ผู้ครองนครหิราญนครเงินยาง จังหวัดเชียงราย มีมเหสีทรงพระนามว่า พระนางเทพคำข่าย มีโอรสชื่อ เม็งราย พ.ศ. 1801 พระเจ้าราวเม็งทิวงคต พระเจ้าเม็งรายพระราชโอรสได้ขึ้นครองราชสืบต่อมา ในขณะนั้นทรงมีพระชนมมายุ 20 พรรษา มีพระโอรส 3 พระองค์ คือ 1 ขุนเครื่อง 2 ขุนคราม 3. ขุนเครือ

พุทธศักราช 1816 พระเจ้าเม็งรายทราบข่าวว่าทางหริภุญชัยนคร อุดมสมบูรณ์พูนสุข จึงส่งอ้ายฟ้าจาระบุรุษ ไปกระทำวิเทโสบายกลศึกทางเมืองลำพูนนานถึง 7 ปี อ้ายฟ้าได้กระทำการสำเร็จ จึงทูลพระเจ้าเม็งรายเพื่อเกณฑ์ไพร่พลยกทัพไปตีเมืองลำพูน

พุทธศักราช 1823 พระเจ้าเม็งรายทรงให้ขุนคราม โอรสองค์ที่สอง ครองเมืองเชียงราย และพระองค์ได้ยกทัพไพร่พลมุ่งสู่เมืองลำพูน การเดินทัพถึงที่แห่งหนึ่ง พระองค์เห็นว่าท้องที่แห่งนี้เป็นชัยภูมิที่เหมาะสมตามตำราพิชัยสงคราม มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ จึงหยุดทัพเพื่อสะสมไพร่พลและเสบียงอาหารเพื่อให้กองทัพมีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยตั้งค่ายคูประตูหอรบ อย่างมั่นคงแข็งแรงอยู่บนสันดอยแห่งหนึ่ง ชื่อ เวียงหวาย และขนานนามว่า นครป้าว บางตำนานว่า นครแจ้สัก หรือ เมืองป้าววังหิน คำว่า ป้าว มาจากคำว่า ป่าวร้องกะเกณฑ์ไพร่พล ภาษาท้องถิ่นหมายถึง มะพร้าว เมืองคงสร้างขึ้นด้วยพลโยธาของพระเจ้าเม็งรายและยังสร้างไม่เสร็จ พระองค์ได้ยกทัพสู่เมืองลำพูนต่อไป มุ่งทัพลงมาทางใต้เลียลฝั่งแม่น้ำปิงไปพบชัยภูมิอีกแห่งหนึ่ง แต่ภาระกิจยังไม่บรรลุเป้าหมาย จึงเคลื่อนทัพเข้าที่ราบผืนนี้ ทำการเกณฑ์ไพร่พลขึ้นใหม่ เพื่อสร้างเมือง และขนานนามว่า นครพิงค์

ในเวลาต่อมา พระเจ้าเม็งรายทรงเสด็จมาครองเม้อง นครพิงค์ที่สร้างขึ้นใหม่  และขนานนามเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ และทรงให้ขุนเครือง ราชโอรสองค์ที่สามไปครองเมืงอป้าว ขุนเครือได้บูรณะและสร้างต่อเติมเมืองป้าววังหิน จนได้ขนานนามว่า นครป้าว ขุนเครืองครองเมืองป้าววังหินนานเท่าไหน ไม่ปรากฏหลักฐาน จนถึงปีสุดท้าย ได้ถูกพระเจ้าเม็งรายลงทัณฑ์เกี่ยวักบการทำกาเมสุมิฉาตาลกับพี่สะใภ้  จึงถูกเนรเทศไปยังเมืองปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน  หลังจากนั้น นครป้าวจึงลดลงมาเป็นเมืองลูกหลวง  ในเวลาต่อมา กษัตริย์ผู้ครองนครล้านนาไทยไม่มีราชบุตร ก็ส่งขุนนางคนสนิทไปครองเมืองแทน จนกระทั่งสมัยพระเจ้าแกน พ.ศ.1954 – 1958 พระองค์ส่งลูกเจ้าราชบุตรองค์ที่ 6  หรือเจ้าติโลกราช หรือพระเจ้านิโลกราช ไปครองนครป้าว นับเป็นองค์สุดท้ายที่ครองนครป้าวนับแต่สร้างนครป้าวมา พ.ศ.1823 จนถึงปัจจุบัน มีอายุถึง 723 ปี

ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ  ที่ว่าการอำเภอพร้าว ถนนรอบเวียงด้านใต้ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
 รหัสไปรษณีย์  50190
 หมายเลขโทรศัพท์  0-5347-5301, 0-5347-5260
 หมายเลขโทรสาร  0-5347-5301
 เว็บไซต์อำเภอ  

ตำบลในอำเภอพร้าว

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในอำเภอพร้าว

  • ยอดดอยม่อนล้าน
    โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง
  • บ่อน้ำพุร้อนหนองครก
  • วัดพระเจ้าล้านทอง
  • วัดพระธาตุกลางใจเมือง
  • โบราณสถานพระธาตุม่วงเนิ้ง
  • วัดศรีดอนไชยทรายมูล
    (สถานที่ประดิษฐ์พระฝนแสนห่า)
  • วัดพระเจ้าตนหลวง (พระเจ้านั่งช้าง)
    และพระธาตุดอยกาหลง
  • วัดพระธาตุนางแล
  • ถ้ำหลากลาน
  • น้ำตกผาตั้งและวังชมภู
  • น้ำตกผาลาด
  • น้ำตกคะนึงนาง
  • อ่างเก็บน้ำแม่วะ
  • น้ำตกตาดเหมย
  • ประตูผาและน้ำตกตาดยาว

วัดในอำเภอพร้าว

ตำบลเขื่อนผาก

  • วัดเขื่อนผาก
  • วัดสหกรณ์แปลงสอง
  • วัดห้วยบง

ตำบลทุ่งหลวง

  • วัดทุ่งหลวง
  • วัดบ้านหม้อ
  • วัดป่าจี้

ตำบลน้ำแพร่

  • วัดน้ำแพร่
  • วัดป่างิ้ว
  • วัดพระเจ้าล้านทอง
  • วัดสันขวาง
  • วัดหนองปลามัน
ตำบลบ้านโป่ง

  • วัดทุ่งน้อย
  • วัดบ้านดง
  • วัดบ้านโป่ง
  • วัดป่าลัน
  • วัดป่าฮิ้น

ตำบลป่าตุ้ม

  • วัดต้นกอก
  • วัดต้นรุง
  • วัดทุ่งกู่
  • วัดทุ่งห้า
  • วัดป่าตุ้มดอน
  • วัดป่าตุ้มโห้ง
  • วัดสันคะมอก
  • วัดสันถนน
  • วัดห้วยกุ
ตำบลป่าไหน่

  • วัดบ้านโละ
  • วัดบ้านเหล่า
  • วัดป่าไหน่
  • วัดพระธาตุขุนโก๋น
  • วัดม่วงถ้อย
  • วัดสันกลาง
  • วัดสันปอธง
  • วัดสันยาว

ตำบลแม่แวน

  • วัดบ้านล้อง
  • วัดป่าแขม
  • วัดป่าแขม
  • วัดแม่แวน
  • วัดแม่เหียะ
ตำบลสันทราย

  • วัดท่ามะเกี๋ยง
  • วัดบ่อเต่า
  • วัดพระธาตุกลางใจเมือง
  • วัดสันทราย
  • วัดสันปง
  • วัดหนองครก
  • วัดหนองปิด
  • วัดห้วยส้าน

ตำบลโหล่งขอด

  • วัดดงมะไฟ
  • วัดทุ่งแดง
  • วัดบ้านหลวง
  • วัดประตูโขง
  • วัดป่าห้า
  • วัดศรีมหาโพธิ์
  • วัดสันนาเม็ง
ตำบลแม่ปั๋ง

  • วัดทุ่งบวกข้าว
  • วัดประดู่
  • วัดพระเจ้าตนหลวง
  • วัดม่อนหินไหล
  • วัดแม่ปั๋ง
  • วัดแม่แพง
  • วัดห้วยงู
  • วัดห้วยทราย

ตำบลเวียง

  • วัดกลางเวียง
  • วัดขามสุ่ม
  • วัดป่าเสี้ยว
  • วัดแม่กอย
  • วัดหนองอ้อ

โรงเรียนในอำเภอพร้าว

การเดินทางไปอำเภอพร้าว

มีทางเลือกให้มาได้ 2 เส้นทางดังนี้
1.เส้นแรกจากจังหวัดเชียงใหม่-พร้าว ทางหลวงหมายเลข 1001 ระยะทาง 94 กม. แล้วมาเลี้ยวแยกขวาพร้าว-เวียงป่าเป้าทางหลวงหมายเลข 1150 ระยะทาง 53 กม. มาแยกซ้าย ที่บ้านต้นคอก ระหว่าง กม.ที่ 32-33 ถึงหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สะลวม แล้วไปต่อจนถึงพื้นที่รับเสด็จ (ถนน ดิน) รวมระยะทางทั้งหมด 124.5 กม.

2. มาทางบ้านขุนแจ่ ผ่านโครงการหลวงแม่ปูนหลวงหน่วยจัดการต้นน้ำพร้าว บ้านแม่ปูนหลวง ไปจรดหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สะลวม ได้เหมือนกัน แต่ระยะทางรวมแล้วไกลกว่าเส้นแรก แต่ไม่ว่าจะมาเส้นไหน อย่างที่เกริ่นไว้ว่า อาจลำบากในบางช่วงที่ยังเป็นถนนดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามฝนพรำ ก็เละอย่างที่เห็น แต่ก็ไม่ผิดวิสัย หากใครจะดั้นด้นไปให้ถึง เพราะชาวบ้านก็ใช้เส้นทางนี้สัญจรกันเป็นประจำ เพราะ มาแล้วนอกจากได้เห็นความงามของธรรมชาติของอีกฤดูกาลแล้ว ยังได้ลิ้มรสผลิตภัณฑ์และผลิตผลทางการเกษตรกันแบบสดๆ ซึ่งเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชาวไทยภูเขา เพียงพอที่ทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สมดังพระ ราชดำริฯ ในการจัดตั้งโครงการสถานีพัฒนา การเกษตรที่สูงฯ


ติดต่อเช่ารถพร้อมคนขับ/ซื้อสินค้า/โฆษณาข่าวสาร
Add friend ที่ @topcm
เพิ่มเพื่อน
บทความก่อนหน้านี้
บทความถัดไป
บทความที่เกี่ยวข้อง
- Advertisment -