สถานกงสุล ทำหน้าที่ ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้านพาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตนในเชียงใหม่ พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ จะเห็นได้ว่าเชียงใหม่มีสถานกงศุลทั้งหมด 17 ประเทศถือว่าเยอะมาก เพราะเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของโลกได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างประเทศ เนื่องจากความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งทางด้านธรรมชาติอันงดงาม ด้านศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของชาวเชียงใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์น่าประทับใจ และความพรั่งพร้อมในเรื่องสถานที่พักและบริการด้านการท่องเที่ยวต่างๆ ที่หลากหลาย เป็นที่ดึงดูดคนมาท่องเที่ยวนับล้านคนในแต่ละปี ทำให้หลายประเทศ ได้ทำการจัดตั้งสถานกงสุลในเชียงใหม่เพิ่มมากขึ้น เพื่อดูแลและให้ความช่วยเหลือคนชาติของกงสุลที่พำนักอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ รวมไปถึงการอำนวยความสะดวก เกี่ยวกับเอกสารต่างๆ ด้วย
สาธารณรัฐประชาชนจีน
สถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่
111 ถ.ช่างหล่อ ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100;
โทร. 0 5327 6125, 0 5327 6457, 0 5320 0424; แฟ็กซ์. 0 5327 4614
โทร. 0 5327 4614; เวลาเปิดทำการ: 09.00 – 11.00 น.
ประเทศฟินแลนด์
สถานกงสุลฟินแลนด์ ประจำจังหวัดเชียงใหม่
ถ.ท่าแพ, ต.ช้างม่อย, อ.เมืองเชียงใหม่, จ.เชียงใหม่ 50300;
โทร. 0 5323 4777, 0 5323 4812, 0 5323 3532; แฟ็กซ์. 0 5325 1512
ประเทศฝรั่งเศส
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศส ประจำจังหวัดเชียงใหม่
1138 ถ.เจริญประเทศ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100;
โทร. 0 5327 5277, 0 5328 1466; แฟ็กซ์. 0 5382 1039 เวลาเปิดทำการ: 10.00 – 12.00 น.
ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ประจำจังหวัดเชียงใหม่
199/163 หมู่ 3 บ้านในฝัน 2 ถ.คันคลองชลประทาน ต.แม่เหียะ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50100;
โทร. 0 5383 8735; แฟ็กซ์. 0 5383 8735
สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ)
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐเฮลเลนิก ประจำจังหวัดเชียงใหม่ (กรีซ)
199/145 หมู่บ้านในฝัน 2 ซ.10 ถ.คันคลองชลประทาน ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100;
โทร. 0 5383 8620; แฟ็กซ์. 0 5383 8620
ประเทศอินเดีย
สถานกงสุลอินเดีย ประจำจังหวัดเชียงใหม่
33/1 ถ.ทุ่งโฮเต็ล ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000;
โทร. 0 5324 3066; แฟ็กซ์. 0 5324 7879
เวลาเปิดทำการ: 09.00 – 12.00 น.
สาธารณรัฐออสเตรีย
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์แห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ประจำจังหวัดเชียงใหม่
15 หมู่ 1 ถ.ห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300;
โทร. 0 5340 0231,0 5322 1020, 0 5321 3473; แฟ็กซ์. 0 5340 0232
ประเทศญี่ปุ่น
สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่
ห้อง 104-107 แอร์พอร์ต บิซิเนส พาร์ค 90 ถ.มหิดล ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100;
โทร. 0 5320 3367; แฟ็กซ์. 0 5320 3373
เวลาเปิดทำการ: 08.30 – 12.00 น.
สหรัฐอเมริกา
สถานกงสุลใหญ่แห่งสหรัฐอเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่
387 ถ.วิชยานนท์ ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300;
โทร. 0 5310 7700; แฟ็กซ์. 0 5325 2633
เวลาเปิดทำการ: วันจันทร์, พุธ เวลา 08.30 – 12.00 น
สหราชอาณาจักร
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์สหราชอาณาจักร ประจำจังหวัดเชียงใหม่
198 ถ.บำรุงราษฎร์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000;
โทร. 0 5326 3015; แฟ็กซ์. 0 5326 3016
ประเทศบังกลาเทศ
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์บังกลาเทศ ประจำจังหวัดเชียงใหม่
95 ถ.ห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200;
โทร. 0 5321 2373-4; แฟ็กซ์. 0 5322 3524
เวลาเปิดทำการ: 08.30 – 16.00 น.
ประเทศแคนาดา
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์แคนาดา ประจำจังหวัดเชียงใหม่
121 ถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์ ต.ท่าศาลา จ.เชียงใหม่ 50000;
โทร. 0 5385 0147, 0 5324 2292; แฟ็กซ์. 0 5385 0147
โทร. 0 5324 2292 ต่อ 116
ประเทศอิตาลี
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์อิตาลี ประจำจังหวัดเชียงใหม่
101/136 ถ.อินทวโรรส อ.เมือง จ.เชียงใหม่;
โทร. 0 5321 2925; แฟ็กซ์. 0 5322 4832
ประเทศเกาหลีใต้
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐเกาหลี ประจำจังหวัดเชียงใหม่
อาคาร V-Group Building ชั้น 3 เลขที่ 50 ถ.ห้วยแก้ว ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300;
โทร. 0 5322 3119-23 ต่อ 204; แฟ็กซ์. 0 5322 5661
ประเทศเปรู
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์เปรู ประจำจังหวัดเชียงใหม่
362/30 หมู่บ้านอุษาฟ้าฮ่าม ถ.เจริญราษฎร์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000;
โทร. 0 5330 6358; แฟ็กซ์. 0 5330 6357
ประเทศออสเตรเลีย
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ออสเตรเลีย ประจำจังหวัดเชียงใหม่
236 ถ.เชียงใหม่-ดอยสะเก็ด อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50210;
โทร. 0 5349 2480; แฟ็กซ์. 0 5349 2426
เวลาเปิดทำการ: 09.00 – 13.00 น.
ประเทศสวีเดน
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์สวีเดน ประจำจังหวัดเชียงใหม่
186/48 ม.5 หมู่บ้านเชียงใหม่กรีนวัลเลย์ ถ.โชตนา ต.แม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180;
โทร. 0 5329 8632; แฟ็กซ์. 0 5329 8634
Passport/Visa Application ขั้นตอนการขอวีซ่า/พาสปอร์ต
หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นเอกสารสำคัญที่จะแสดงรายละเอียดของบุคคล ที่จะเดินทางไปต่างประเทศโดยจะระบุ ชื่อผู้เดินทาง ลายมือชื่อ รูปถ่าย อายุ สัญชาติ ศาสนา อาชีพ เลขที่หนังสือเดินทาง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง ไปต่างประเทศ และเป็นเอกสารสำคัญที่จะใช้เป็นหลักฐานที่จะขอหนังสือตรวจลงตรา (Visa) เข้าประเทศต่าง ๆโดยกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นผู้มีอำนาจในการออกหนังสือเดินทางดังกล่าวโดยแบ่งประเภทของหนังสือเดินทางออกเป็น4 ประเภท ดังนี้
ประเภทของหนังสือเดินทาง
1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic) เล่ม D
2. หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) เล่ม F
3. หนังสือเดินทางยกเว้นค่าธรรมเนียม (Gratis) เล่ม G
4. หนังสือเดินทาง (Passport) เล่ม Y
1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic) เล่มสีแดงสด
หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic) ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
– พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
– พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
– พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
– ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
– นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
– ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
– ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
– ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
– อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
– ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
– ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
– ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
– คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
– บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย
2. หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) เล่มสีน้ำเงิน
หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ
3. หนังสือเดินทาง (Passport) เล่มสีเลือดหมู
หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป หรือข้าราชการ / พนักงานของรัฐ สามารถใช้ในกรณีที่เดินทางไปต่างประเทศด้วยกิจธุระส่วนตัว หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี
4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)
นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ
1. หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
2. หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น
ขั้นตอนในการขอหนังสือเดินทางราชการ
1. ได้รับหนังสือตอบรับ / หนังสือเชิญเพื่อไปปฏิบัติราชการ ณ ต่างประเทศ จากหน่วยงานหรือสถาบันต่างประเทศ ที่ผู้เดินทางกำหนดเยือน
2. เสนอเรื่องขออนุมัติการเดินทางไปราชการต่างประเทศ (โดยแจ้งผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หากเป็นกรณีศึกษาต่อให้แจ้งแหล่งทุนที่ได้รับ) ผ่านหน่วยงานต้นสังกัดไปยังอธิการบดี ดังนี้
- กรณีเดินทางไปศึกษาต่อ / ฝึกอบรม / ทำวิจัยให้ผ่านเรื่องจากต้นสังกัดไปยังงาน การกองบริหารงานบุคคล กองคลัง อธิการบดี /ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
- กรณีเดินทางไปประชุม / สัมมนา / ศึกษาดูงาน ให้ผ่านเรื่องจากต้นสังกัดไปยัง การกองบริหารงานบุคคล กองคลัง อธิการบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
ขั้นตอนและเอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางใหม่
1. สำเนาหนังสืออนุมัติการเดินทางไปราชการต่างประเทศ
สำเนาหนังสืออนุมัติการเดินทางไปราชการต่างประเทศจากหน่วยงานต้นสังกัดโดยต้องระบุรายละเอียดของผู้ที่จะเดินทางคือ ชื่อ นามสกุล ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) ระดับ ตำแหน่งทางบริหาร (ถ้ามี) และสังกัด รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการเดินทาง วันเดินทาง ไป-กลับ ประเทศ สถานที่ที่จะเดินทางไปเยือน และระบุแหล่งทุนที่ได้รับ
2. สำเนาบัตรข้าราชการ / พนักงานมหาวิทยาลัย / ลูกจ้างชั่วคราว
สำเนาบัตรข้าราชการ / พนักงาน ต้องเป็นสำเนาบัตรที่ยังไม่หมดอายุ หากบัตรหมดอายุต้องทำบัตรใหม่ ยกเว้นกรณีเร่งด่วนอนุญาตให้ใช้หนังสือรับรองการปฏิบัติงานแทนได้ (หรือถ้ามีสำเนาบัตรเก่าให้แนบสำเนาบัตรเก่าด้วย) หากเป็นข้าราชการผู้เกษียณอายุต้องใช้บัตรผู้บริหารหรือบัตรผู้เกษียณอายุราชการ พร้อมแนบสำเนาคำสั่งแต่งตั้ง หากเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างชั่วคราวต้องใช้สำเนาสัญญาจ้าง พร้อมแนบหนังสือรับรองการทำงานด้วย
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
สำเนาทะเบียนบ้านให้สำเนาหน้าที่มีรายการเกี่ยวกับบ้าน และหน้าที่มีชื่อผู้เดินทาง ซึ่งมีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก (ไม่อนุญาตให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านแบบเก่าเนื่องจากไม่มีเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน)
4. สำเนาทะเบียนสมรส / ใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล
สำเนาทะเบียนสมรส / ใบเปลี่ยนชื่อ – สกุลใช้ในการต่ออายุหนังสือเดินทางราชการในกรณีที่เคยมีหนังสือเดินทางเล่มแรกที่ชื่อ-สกุล ไม่ตรง หรือมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ
กรณีหนังสือเดินทางราชการสูญหาย
1. แจ้งความ ณ สถานีตำรวจ
2. นำใบแจ้งความแนบพร้อมกับเอกสารการขอหนังสือเดินทางราชการใหม่
หนังสือเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจลงตรา
หนังสือเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราเป็นเอกสารสำคัญที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศ ยื่นขอการตรวจลงตรา (Visa) ณ สถานทูตประเทศที่ประสงค์จะเดินทาง โดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้มีอำนาจในการออกหนังสือดังกล่าว ทั้งนี้ งานวิเทศสัมพันธ์ จะเป็นผู้ออกหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศให้ดังนี้
1. กรณีที่หนังสือเดินทางราชการยังไม่หมดอายุ หรือมีอายุเกิน 6 เดือน นับถึงวันที่จะเดินทางไปราชการต่างประเทศ
2. กรณีที่หนังสือเดินทางราชการหมดอายุ จะดำเนินการพร้อมกับการต่ออายุหนังสือเดินทางราชการ
3. กรณีที่ยังไม่มีหนังสือเดินทางราชการ จะดำเนินการพร้อมกับการขอหนังสือเดินทางราชการใหม่
เอกสารประกอบการขอหนังสือเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราไปยังกระทรวงการต่างประเทศ
1. สำเนาหนังสือขออนุมัติการไปราชการต่างประเทศ
2. หนังสือเชิญ / หนังสือตอบรับ
3. สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและหน้าที่บอกวันหมดอายุ พร้อมสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่หนังสือเดินทางราชการมีอายุเกิน 6 เดือน)
การดำเนินการขอวีซ่า ณ สถานทูต
นำหนังสืออำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราจากกระทรวงการต่างประเทศ ไปยังสถานทูตนั้นๆ พร้อมเอกสาร ดังนี้
1. หนังสือเดินทางเล่มจริง
2. แบบฟอร์มวีซ่า
3. หนังสือตอบรับ / หนังสือเชิญ
4. รูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 1-2 รูป ขึ้นอยู่กับสถานทูตนั้นๆ
5. ค่าธรรมเนียมวีซ่า
[fbcomments]