ภาษาเหนือ คำเมือง ท็อบเชียงใหม่ ได้รวบรวมคำพูดแบบภาษาเหนือ หรือคำเมือง ที่เป็นภาษาเอกลักษณ์เฉพาะของคนภาคเหนือ มีน้ำเสียงอ่อนหวาน ไพเราะ น่าฟัง ไว้ในการท่องเที่ยวซึ่งบางสถานการณ์อาจต้องได้ใช้งานจริง เราลองมาดูหลายๆ คำพร้อมความหมาย และตัวอย่างประโยคสนทนาครับ หากใครมีคำอื่นๆ ที่น่าสนใจ ก็เขียนคอมเม้นแนะนำไว้ด้านล่างเลยนะครับ
จำนวนนับภาษาเหนือ
- 1 = นึ่ง
- 2 = สอง
- 3 = สาม
- 4 = สี่
- 5 = ห้า
- 6 = ฮก
- 7 = เจ๋ด
- 8 = แปด
- 9 = เก้า
- 10 = ซิบ
- 11 = ซิบเอ๋ด
- 20 = ซาว
- 21 = ซาวเอ๋ด
- 22 = ซาวสอง
- 1000 = ปันบาท
ตัวอย่างสถาณการณ์
ลูกค้า = ผักนี้ราคาเท่าไหร่ครับ?
แม่ค้า = กิโลซาวบาท แปลว่า กิโลละ 20 บาท
คำศัพท์ภาษาเหนือ คำนาม สรรพนาม
- เธอ = ตั๋ว (สุภาพ) , คิง (ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับกลุ่มเพื่อนฝูง)
- ฉัน = เปิ้น (สุภาพ) , ฮา (ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนฝูง)
- พี่ชาย = อ้าย,ปี้
- พี่สาว = ปี้
- เขา (สรรพนามบุรุษที่ 3) = เปิ้น หรือ เปิ้ล
- ผู้ชาย = ป้อจาย
- ผู้หญิง = แม่ญิง
- พวกเขา = หมู่เขา
- พวกเรา = หมู่เฮา หรือ เฮา
- พวกเธอ = สูเขา (สุภาพ), คิงเขา (ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อน)
- พ่อ = ป้อ
- ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา = อุ้ย (ใช้ อุ้ย แทนคนชรา ทั้งหมด เช่น แม่อุ้ย ป้ออุ้ย)
- ปฏิทิน = ปั๊กกะตืน คำเมืองแท้ๆ จะแปลว่าปฏิทิน
- โรงเรียน = โฮงเฮียน
- เรือน = เฮือน
- คำเล่าลือ = กำสีเน
- อิฐ = บ่าดินกี่
ตัวอย่างสถาณการณ์
คนขับรถแดง = อ้ายมากั๋นกี่คนครับ? แปลว่า พี่มากันกี่คนครับ
แม่ค้า = ปี้จะฮื้อไปส่งตี๋ไหนเจ้า? แปลว่า พี่จะให้ไปส่งที่ไหนค่ะ
หัวหน้างาน = อ้ายแดง จ๋วยไปนับกำว่าหมู่เฮาในห้องนั้นมากั๋นกี่คน เป็นแม่ญิงตะได ป้อจ้ายตะได แล้วปี๊กมาบอกผมกำเน้อ แปลว่า พี่แดงช่วยไปนับพวกเราในห้องนั้น ว่ามากันกี่คน เป็นผู้หญิงและผู้ชายกี่คน แล้วกลับมาบอกผมที
เพื่อนคนเหนือ = วันนี้เฮาไปตางนี้บ่ได้เพราะว่า เปิ้ลปิดถนนมีงานศพป้ออุ้ย แปลว่า วันนี้เราไปทางนี้ไม่ได้เพราะว่า เขาปิดถนนมีงานศพคนชรา
คำกริยา คำศัพท์ คำด่า ทั่วไป ภาษาเหนือ
- โง่ = ง่าว
- กำปั้น หมัด = ลูกกุย
- เบื่อ = ก๊าย
- โกหก = วอก, ขี้จุ๊
- โกรธ = โขด
- อะไร = อะหยัง
- ด้วย = โตย
- ด้วยกัน = โตยกั๋น
- ขี้เหนียว = ขี้จิ๊
- ขโมย = ขี้ลัก
- อิจฉา = ขอย
- อารมณ์เสีย = ใจ๋ขึ้น
- พ่อ..เมิง..เหรอ = ป้อคิงหยั่ง
- แม่..เมิง…เหรอ = แม่คิงหยั่ง
- มองหน้าทำไม = ผ่อหน้าย่ะหยั่ง
- ทำไม = หยั่ง
- คิด = กึ๊ด
- เจ็บ = เจ๊บ
- จริง = แต๊(เช่น “แต๊ก๊ะ” = “จริงหรอ”)
- ใช้ = ใจ๊
- เด็ก = ละอ่อน
- ดู = ผ่อ
- ตกคันได = ตกบันได
- ทำ = ยะ(เช่น “ยะหยัง” = “ทำอะไร”)
- เที่ยว = แอ่ว
- นั่งขัดสมาธิ = นั่งขดตวาย
- นั่งพับเพียบ = นั่งป้อหละแหม้
- นั่งไขว่ห้าง = นั่งปกขาก่ายง้อน
- นั่งยอง ๆ = นั่งข่องเหยาะ,หย่องเหยาะ
- นั่งลงไปเต็มที่ตามสบาย(โดยไม่กลัวเปื้อน) = นั่งเป้อหละเหม้อ, นั่งเหม้อ
- นั่งวางเฉย นั่งหัวโด่ = นั่งคกงก(ก๊กงก)
- พูด = อู้
- บ่ = ไม่
- รู้ = ฮู้
- นินทา = เล่าขวัญ
- รัก = ฮัก
- อย่างนั้น = จะอั้น
- อย่ารีบ = จะไปพั่ง
- ลื่นล้ม = ผะเริด
- วิ่ง = ล่น
- สวยจังเลยนะ = งามหลายน้อ
- สะดุด = ข้อง
- สวมรองเท้า = ซุบเกิบ
- เหนื่อย = อิด หม้อย
- เหรอ = ก่า
- ให้ = หื้อ
- อยากอ้วก อยากอาเจียน = ใค่ฮาก
- อ้วกแตก = ฮากแตก
- อยาก = ไข เช่น ไขได้ แปลว่า อยากได้
- อย่าพูดมาก = จ๊ะไปปากนัก
- อร่อย = ลำ
- อร่อยมาก = จ๊าดลำ/ลำขนาด
- อย่าพูดเสียงดัง = จ๊ะไปอู้ดัง
- คิดไม่ออก = กึ๊ดหม่ะออก
- อย่าคิดมาก = จ๊ะไปกึ๊ดนัก
ตัวอย่างสถาณการณ์
นักเลง = คิงผ่อหน้าฮาป้อคิงหยั่ง แปลว่า มึงมองหน้ากูหาพ่อมึงเหรอ
เพื่อน = ฮาใจ๋ขึ้นแล้วเน้อ จดลูกกุยเดี่ยวกันบ่ แปลว่า กูอารมณ์ไม่ดีแล้วนะ ต่อยกันตัวๆ มั้ย
คนขับรถแดง = เด่วจะขึ้นดอยแล้วนะครับ ตางโก้งนัก ถ้าใค่ฮากก็เอิ้นบอกกำนะครับ แปลว่า เดี๋ยวจะขับรถขึ้นภูเขา ทางโค้งเยอะ ถ้าลูกค้าอยากอวกขอให้บอก/ตะโกนบอกคนขับ
พืช ผัก ผลไม้ ภาษาเหนือ
- พุทรา = หม่ะตัน
- ละมุด = หม่ะมุด
- ขนุน = หม่ะหนุน / บ่ะหนุน
- สัปปะรด = บะเขือหนัด
- มะพร้าว = บะป๊าว
- มะละกอ = บะก้วยเต๊ศ
- ฟักเขียว = บะฟักหม่น
- แตงล้าน = ม่ะแต๋งซั้ง ( ร้านที่ทำให้เครือแตงพันขึ้นไป ทางเหนือเรียกว่า ซั้ง )
- กล้วยน้ำว้า = ก้วยอ่อง / ก้วยนิอ่อง
- มะตูม = บะปีน
- ส้มเขียวหวาน = ส้ม / ส้มเกลี้ยง เขียวหวาน
- ฟักทอง = บะฟักแก้ว / บะน้ำแก้ว/น้ำแก้ว
- น้อยหน่า = ม่ะหน้อแหน้ / น้อยแหน้
- บวบงู = มะนอยงู
- แตงกวา = บะแต๋ง
- กล้วย = เชียงใหม่ เรียก ก้วยใต้ ลำปาง เรียก ก้วยลิอ่อง หรือ ก้วย โก๊ย
- กล้วยน้ำว้า = ก้วยใต้
- มะเขือเปราะ = บะเขือผ่อย
- มะเขือยาว = บะเขือยาว / ม่ะเขือหำม้า
- มะระขี้นก = บะห่อย
- ส้มโอ = บะโอ
- กระท้อน = บะตื๋น หมะต้อง
- มะปราง = บะผาง
- คึ่นช่าย = ผักกะพึน / กำพึน (กะปึน)
- ฝรั่ง = บะก้วยก๋า / บ่ะหมั้น / บะแก๋ว
- มะเขือเทศ = บะเขือส้ม
- กระท้อน = บะตึ๋น
- ตะไคร้ = จั๊กไค
- มะแว้ง = บะแขว้งขม
- มะเขือพวง = บะแขว้ง / บ่ะแขว้งกุลา
- ผักตำลึง = ผักแคบ
- ชะพลู = ผักแค / ใบปูนา / ปูลิง
- ลูกยอ = หม่ะต๋าเสือ
- ผักปัง = ผักปั๋ง
ผลไม้ที่ขึ้นต้นด้วย “มะ” ในภาษาเหนือจะเป็น หม่ะ หรือ บะ แทน
สัตว์ภาษาเหนือ
- กิ้งก่า = จั๊ก-ก่า
- จิ้งจก = จั๊ก-กิ้ม
- จิ้งเหลน = จั๊ก-กะ-เหล้อ
- ตุ๊กแก = ต๊กโต
- ลูกอ๊อด = อีฮวก
- ค้างคก = ค้างคาก กบตู่
- ปลาช่อน = ปลาหลิ่ม
- ปลาไหล = ปลาเอี่ยน ปลาเหยี่ยน
- จิ้งหรีด = จิ้กุ่ง,จิ้หีด
เครื่องใช้ภาษาเหนือ
- เข็มขัด = สายแอว สายฮั้ง
- รองเท้า = เกือก /เกิบ
- กรรไกร = มีดยับ มีดแซม
- ถุงเท้า = ถุงตี๋น
- กระดุม = บะต่อม
- ทับพี = ป้าก
- ช้อน = จ๊อน
- ยาสูบ = ขี้โย
- ผ้าเช็ดตัว = ผ้าตุ้ม
- ผ้าห่ม = ผ้าต๊วบ
- รองเท้าฟองน้ำ = แค็บ
คำวิเศษณ์ และอื่นๆ
- โง่ = ง่าว
- อย่าทำตัวโง่ = ขอจะไปง่าว
- ซื่อบื่อ = เซอะ
- มั้ย = ก่ เช่น ไปก่ แปลว่า ไปมั้ย
- ถึง = เถิง
- เป็น = เป๋น
- ไม่ = หมะ (เช่น หมะใจ๊ = ไม่ใช่)
- นะ = เน้อ (เช่น เน้อค่ะ = นะค่ะ)
- ร่ม = จ้อง หมายถึง (ร่มกันแดด-กันฝน)
- ร่ม หมายถึง ร่มเงา = ฮ่ม
- เหนียว = ตั๋ง
- ใหญ่ = หลวง (เช่น “หูหลวง” = “หูใหญ่”)
- แบบนั้น อย่างนั้น = จะอั้น
- แบบนี้ อย่างนี้ = จะอี้
- ทุกคน = กุ๊คน
รู้ภาษาเหนือไว้สักนิดเอาไว้คุยเล่นกับคนในพื้นที่ และเพื่อความสะดวกในการท่องเที่ยวนะครับ