ตอนนี้ระบบรถยนต์ที่มาแรงคงจะหนีไม่พ้น รถพลังงานไฟฟ้า หรือรถ EV แต่ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อรถพลังงานไฟฟ้า วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้ากันก่อนว่าเป็นอย่างไร รับพลังงานจากไหน และมีระบบขับเคลื่อนอย่างไรบ้าง จะได้เข้าใจและบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี
ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง
สำหรับระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้ามีองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
- แบตเตอรี่
สำหรับองค์ประกอบในระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญและถือว่าเป็นหัวใจเลยก็ว่าได้ก็คือ แบตเตอรี่รถยนต์ ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน แหล่งเก็บกักพลังงานในการขับเคลื่อนรถยนต์ ด้วยเหตุนี้ คุณภาพและความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ จึงต้องมีการทดสอบแบตเตอรี่กันอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะในสถานการณ์เลวร้ายที่สุด อย่างอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำกว่าปกติ
- ตัวแปลงไฟ
แบตเตอรี่ในรถยนต์เป็นกระแสไฟฟ้าตรง (DC) แต่ตัวแปลงไฟจะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนระบบไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ (AC) เพื่อใช้ในการหมุนมอเตอร์เครื่องยนต์ให้ทำงานนั่นเอง
- มอเตอร์ไฟฟ้า
เป็นอีกชิ้นส่วนที่สำคัญของระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า กล่าวคือ เป็นตัวที่ขับเคลื่อนเพลาของรถยนต์ให้สามารถเคลื่อนที่ไปได้
นอกจาก 3 ชิ้นส่วนของระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญนี้แล้ว ยังมีระบบการชาร์จไฟ และระบบเบรก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการขับเคลื่อนและความปลอดภัยอีกด้วย จะเห็นได้ว่าระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้ยุ่งยาก และมีชิ้นส่วนเพียงไม่กี่อย่าง ที่สำคัญคือ ลดการปล่อยมลพิษ เป็นพลังงานสะอาด ที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อน และภาวะการขาดแคลนพลังงานของโลกได้เป็นอย่างดี
เราจะรู้ได้อย่างไรว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่เราใช้ได้มาตรฐาน ใช้งานได้ปลอดภัย
ก่อนหน้าที่รถไฟฟ้าจะประกอบมาให้ผู้บริโภคอย่างเราใช้งาน จะต้องมีการทดสอบระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้าในทุกส่วน เพื่อให้มั่นใจว่าได้มาตรฐานการใช้งาน และมีความปลอดภัย เมื่อขับขี่ไปแล้วไม่เป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่และผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น
ปัจจุบันมีบริษัทที่รับทดสอบระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า และรับรองมาตรฐานการผลิตมากมาย ซึ่งนอกจากจะเป็นการการันตีคุณภาพแล้ว ยังช่วยให้ผู้ผลิตสามารถรู้อายุขัยของอุปกรณ์ ตลอดจนความปลอดภัยในการใช้งานเมื่อเจอกับสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย หรือไม่ได้อยู่ในการใช้งานปกติ
การหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย ย่อมจะดีกว่าการมาแก้ไขเมื่อเหตุการณ์ร้าย ๆ ได้ผ่านพ้นไปแล้วนั่นเอง
ดังนั้น ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าควรจะนำชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปทดสอบอย่างละเอียด เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน
ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า แม้ว่าจะไม่มีความซับซ้อนเท่ากับเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานฟอสซิลในปัจจุบัน แต่ทุกชิ้นส่วนก็ต้องดูแลทั้งในเรื่องของคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยเป็นสำคัญ